ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กระบวนการแพทย์วิถีธรรม วิถีกาฬสินธุ์ บ้านหนองผือพัฒนา ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รวมพร ศรีรังษ์,สมบัติ วรรณรส,ศตพร จรัสแสง,ชัยยงค์ ชุมธีรรัตน์,ชัชชริน วรรณโนนาม,วิรัตร สุวรรณ์,นวิญญา บุญแสน,จีระวรรณ แสงใส ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ตามประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์ปีงบประมาณ 2560 การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ที่ดีของประชาชน ให้ชุมชนเป็นชุมชนที่มีความสุขมีวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืนประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทางหมู่บ้าน 3 ดี วิถีกาฬสินธุ์ โดยการมีส่วนร่วมและมาตรการทางสังคมที่เหมาะสม การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพขององค์กรภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพของชุมชน และกำหนดเป้าประสงค์คือ ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถบริหารจัดการชุมชนได้ จากแนวคิดในการจัดการสุขภาพชุมชนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำหนดเป็นวาระสุขภาพของจังหวัดกาฬสินธุ์ ว่าด้วย “การลดการป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดได้” และ “การสร้างสังคมกาฬสินธุ์ ให้มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสุขภาพที่มีความสุขพอเพียง เป็นองค์รวม” และแนวคิดที่เน้นการพึ่งตนเองของประชาชนและชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้มแข็ง คือ “ระบบสุขภาพภาคประชาชน” เป็นการรวบยอดงานสาธารณสุขมูลฐานให้เป็นระบบและขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสุขภาพอย่างมีขั้นตอน โดยเน้นการบูรณาการแนวคิด 3 ประการเข้าไว้ด้วยกัน อันได้แก่ 1) แนวคิดเรื่องคน 2) แนวคิดเรื่ององค์ความรู้ และ 3) แนวคิดเรื่องทุน ซึ่งแนวคิดทั้ง 3 ประการนี้ เป็น องค์ประกอบที่มีอยู่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพียงแต่จะทำอย่างไรให้หมู่บ้าน/ชุมชนนำองค์ประกอบที่มีอยู่ทั้ง 3 ประการนี้มาใช้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหมู่บ้านและชุมชนนั้น ๆ คำตอบก็คือ ต้องหากลไกที่เป็นหัวใจสำคัญมาเชื่อมโยง องค์ประกอบ 3 ประการให้เกิดการบูรณาการได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นก็คือ “การจัดการ” ในที่นี้หมายถึง “การจัดการด้านสุขภาพการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองด้านสุขภาพ” นั่นเองซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนำสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาพดีวิถีกาฬสินธุ์โดยใช้กระบวนการแพทย์วิถีธรรม โดยมุ่งหวังว่าองค์กรภาคีเครือข่ายที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และ ส่งเสริมสนับสนุน สามารถบริหารจัดการให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป้วยโรคเบาหวานให้เหมาะสม สมารถพึ่งตนเองได้ 2.เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป้วยโรคความดันโลหิตสูงให้เหมาะสม สมารถพึ่งตนเองได้ 3.เพื่อให้หมู่บ้านเป็นต้นแบบในการจัดการสุขภาพแพทย์วิถีธรรม วิถีกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : : แบบสำรวจ/แบบสอบถาม, การสัมภาษณ์, การสนทนากลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ร่วมกับคณะกรรมการบูรณาการระดับตำบล คณะกรรมการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีวิถีธรรมประจำตำบล จำนวน 2 หมู่บ้าน (รพ.สต.ละ 1 หมู่บ้าน) พร้อมระดมสมองกำหนดทิศทางด้านสุขภาพตามแนวทางหมอครอบครัว อาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) และการจัดการสุขภาพชุมชน การจัดการสุขภาพกลุ่มวัย มุ่งสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2. เสนอโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล และติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3. สำรวจ จัดทำทะเบียนประชาชนในตำบล และเน้นหนักหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการ ดำเนินงานการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย พร้อมจัดระบบการดำเนินงานอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) 4. คัดเลือก รับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มป่วยเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลักสูตรสุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล ระยะเวลา 3 วัน โดยจัดให้มีอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อยร้อยละ 50 ของหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบของสถานบริการ 5. ใช้สุขศาลาเป็นศูนย์กลางประสานงานของ รพ.สต. อสม. และอาสาสมัครสุขภาพประจำครอบครัว (อสค.)สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ ติดต่อเรื้อรังตามแนวทางสุขภาพดี วิถีธรรม โดยมีการประเมินพฤติกรรม และสุขภาวะ ตามเครื่องมือที่กำหนด 6. คณะกรรมการบูรณาการตำบล อำเภอ ติดตามประเมินหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม และการประเมินรับรองจากคณะกรรมการประเมินหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม ระดับจังหวัด 7. ร่วมมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมู่บ้านสุขภาพดี วิถีธรรม ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด 8. สรุปบทเรียนการดำเนินงาน และเขียนรายงาน  
     
ผลการศึกษา : ปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง จังหวัดกาฬสินธุ์มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 41,471 คน ความดันโลหิตสูงจำนวน 17,785 คน อำเภอเขาวงมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 1,806 คน ความดันโลหิตสูงจำนวน 2,053 คน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผือ มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 172 คน ความดันโลหิตสูงจำนวน 225 คน (ข้อมูลจาก HDC Kalasin Update 12/6/2560)จากข้อมูลดังกล่าวการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องอาศัยการปฏิบัติตัวของคนไข้เองและจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาพดีวิถีวิถีกาฬสินธุ์ บ้านหนองผือพัฒนา ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้กระบวนการแพทย์วิถีธรรม ซึ่งมุ่งหวังว่าองค์กรภาคีเครือข่ายที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และ ส่งเสริมสนับสนุน สามารถบริหารจัดการให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผือจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : -  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)