|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้มารดาวัยรุ่นหลังคลอด ขณะอยู่โรงพยาบาล ตึกสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลยางตลาด |
ผู้แต่ง : |
กฤษณา รินทราช , พัชรินทร์ เลิศวีรพล |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือสตรีที่ตั้งครรภ์อายุระหว่าง 13-19 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากมีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่เพียงพอซึ่งส่งผลทำให้ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร และจากการสำรวจข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ ในปี 2552 พบว่าวัยรุ่นหญิงมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 12 ปี ส่วนวัยรุ่นชายมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี วัยรุ่นถือว่าการมีเพศสัมพันธุ์เป็นเรื่องปกติธรรมดา นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์และคลอดบุตร จะเกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากเป็นวัยกำลังศึกษาเล่าเรียน ทำให้ต้องหยุดหรือออกจากระบบการศึกษา เพราะการตั้งครรภ์และคลอดบุตรร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มารดาวัยรุ่นจะต้องปรับบทบาทของความเป็นมารดาและยังต้องรักษาบทบาทการเป็นภรรยาไว้ อีกทั้งยังต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองและดูแลบุตร มารดาหลังคลอดวัยรุ่นมักจะเกิดความยุ่งยาก และไม่มั่นใจ ทั้งยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการดูแลตนเองหลังคลอดและการดูแลบุตร ส่งผลให้มีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องในการดูแลตนเองและบุตร ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของมารดาและบุตร และอาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
ตึกสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลยางตลาด เป็นหน่วยงานผู้ป่วยในที่รับดูแลมารดาและทารกหลังคลอดทุกประเภททั้งการคลอดปกติและการใช้หัตถการในการช่วยคลอด จากสถิติมารดาหลังคลอดปีงบประมาณ 2559 ทั้งหมด1,108 คน พบว่าเป็นมารดาหลังคลอดวัยรุ่นอายุระหว่าง 14-19 ปี จำนวน 684คน คิดเป็นร้อยละ 61.73 ซึ่งนับได้ว่ามีอัตราจำนวนมารดาวัยรุ่นสูงเกินร้อยละ 50 ของมารดาหลังคลอดทั้งหมด และจากการประเมินความรู้จากการสอบถามมารดาในกลุ่มนี้พบว่า ยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการดูแลตนเองหลังคลอด และการดูแลบุตร เช่น มารดาบางคนบอกว่าขณะตั้งครรภ์ก็เรียนหนังสือ บางคนก็อายสังคม ไม่อยากมาฝากครรภ์ และยังพบปัญหาบางคนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่มีสามี ไม่อยากมีบุตร จึงไม่ได้สนใจดูแลสุขภาพ มารดาวัยรุ่นบางคนยังมีปัญหาด้านสรีระ เช่น หัวนมสั้นและเล็กมาก ทำให้ลูกไม่สามารถดูดนมได้ ทำให้เกิดความเครียดและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ทารกร้องกวนตลอดเวลา และมีภาวะตัวเหลือง ทำให้มารดาเกิดความเครียด หงุดหงิด และได้อยู่โรงพยาบาลนานขึ้น บางรายเกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายตามมา
จากความสำคัญและปัญหาดังกล่าว ที่ตึกสูติกรรมหลังคลอดได้มีการให้สุขศึกษาและให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดทุกรายในการดูแลตนเองและบุตร โดยให้ความรู้เป็นรายเดี่ยวขณะให้การพยาบาล ซึ่งใช้เวลาไม่มากเท่าที่ควร และไม่ได้ประเมินผลอย่างเป็นรูปแบบชัดเจนว่ามารดาวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและบุตรมากน้อยเพียงใด ตลอดจนยังไม่มีรูปแบบติดตามการดูแลมารดาวัยรุ่นว่า ถ้ากลับไปอยู่ที่บ้านผู้ดูแลจะเป็นใคร มีความรู้ที่จะสามารถช่วยดูแลมารดาและทารกให้ปลอดภัย ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เพราะโดยธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของวัยรุ่นจะยังไม่มีความพร้อม ไม่มีความใส่ใจดูแลบุตรเท่าที่ควร มารดาวัยรุ่นบางคนก็ต้องรีบกลับไปเรียนหนังสือต่อ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้มารดาวัยรุ่นหลังคลอด เพื่อให้เกิดรูปแบบการสอนที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตลอดจนมีการประเมินความรู้ของมารดาวัยรุ่น ทำให้พยาบาลมีความสะดวกในการทำงาน มีรูปแบบการให้ความรู้ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้มีคุณภาพต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.เพื่อให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีความรู้ในการดูแลตนเองและบุตร ตลอดจนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำก่อนเวลาที่เหมาะสม
3.เพื่อให้มีมาตรฐานการให้ความรู้แก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้คุณภาพและง่ายต่อการให้การพยาบาลของพยาบาลตึกสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลยางตลาด
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
มารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุ 13-19 ปี ณ ตึกสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลยางตลาด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2560 |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ศึกษาข้อมูลและปัญหาของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มารับบริการที่ตึกสูติกรรมหลังคลอดโรงพยาบาลยางตลาด
1.2 ประชุมชี้แจง และขออนุญาตบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.3 นำเสนอปัญหาและข้อมูลให้หัวหน้างานรับทราบ และจัดทำโปรแกรมการให้ความรู้แก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอด
2.ขั้นดำเนินการ
2.1 ให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดทำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น
2.2 ดำเนินการให้ความรู้แก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดทุกรายโดยใช้โปรแกรมให้ความรู้ที่จัดทำขึ้น ใช้ช่วงเวลา14.30-15.00น. โดยให้เสร็จกิจกรรมวัดสัญญาณชีพภาคบ่าย และถ้าเป็นมารดาหลังคลอดปกติให้ความรู้ในวันที่ 1หลังคลอด แต่ถ้ามารดาคลอดโดยการผ่าตัดคลอดให้ความรู้ในวันที่ 2 หลังคลอด
2.3 ประเมินความรู้ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดก่อนกลับบ้านโดยให้ตอบแบบประเมินความรู้ที่สร้างขึ้น
3.ขั้นสรุปผล
3.1 สรุปแบบประเมินความรู้ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด โดยเปรียบเทียบก่อนให้ความรู้และหลังให้ความรู้
3.2 รายงานผลให้บุคลากรทางการพยาบาลและหัวหน้างานรับทราบ เพื่อพัฒนาต่อไป
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|