ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ประสิทธิผลการใช้ชาข้าวเย็นใต้ในการกระตุ้นการมาของน้ำนมมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วันวิสาข์ บุญสินชัย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การแพทย์แผนไทยได้รับการผสมผสาน ให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงว่าด้วย “การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร และภูมิปัญญาไทย” ซึ่งในปัจจุบันประชาชนเริ่มมีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและศาสตร์ความรู้เดิมมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ซึ่งการแพทย์แผนไทยในอดีตมีวิธีการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นที่ยอมรับว่า “น้ำนมแม่” เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด และเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของทารกให้สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ (Sasitara, 2013) ภูมิปัญญาดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ นิยมนำยาหัว (ข้าวเย็นใต้) มาต้มหรือฝนรับประทาน เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม ในตำรายาแพทย์แผนไทยนิยมใช้หัวข้าวเย็นทั้ง 2 ชนิดใช้ร่วมกันคือ หัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเป็นสมุนไพรไทยที่เป็นส่วนผสมอยู่ในตารับยาไทยถึง 2,449 ตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนจากกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้รักษาโรคผิวหนัง โรคน้ำเหลือ กามโรค โรคเรื้อน โรคมะเร็งในระบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบต่างๆ เช่น โรคไขข้อ โรคติดเชื้อ แก้ปวดต่างๆ เป็นต้น (อรุณพร) และนอกจากนี้ยังพบว่าตามตำราการแพทย์แผนไทยนำหัวข้าวเย็นมาประกอบในตำรับยาต่างๆ เช่น ในคัมภีร์ปฐมจินดาเป็นส่วนประกอบในตำรับ “อินทจร” สรรพคุณแก้ตานซาง ในคัมภีร์มหาโชตรัตใช้เป็นส่วนประกอบตำรับ “ยาดองขับโลหิต” สรรพคุณช่วยขับโลหิตระดูสตรี สำหรับสตรีอยู่ไฟไม่ได้ (กรวิภาและคณะ, 2555) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยของประชาชนในท้องถิ่น ในการนำสมุนไพรข้าวเย็นใต้ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ข้าวเย็นใต้ในการกระตุ้นการมาของน้ำนมมารดาหลังคลอด ความพึงพอใจในการรับบริการการใช้ยาสมุนไพรในการกระตุ้นการมาของน้ำนมและเพื่อส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดาต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ชาข้าวเย็นใต้ในการกระตุ้นการมาของน้ำนมมารดาหลังคลอด 2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับบริการการใช้ยาสมุนไพรในการกระตุ้นการมาของน้ำนมมารดาหลังคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้มารับบริการคลอดในโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นมารดาหลังคลอดที่มาคลอดในโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 จำนวน 20 ราย  
เครื่องมือ : 1.เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ชาชงข้าวเย็นใต้ 2.เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล, แบบบันทึกการมาของน้ำนมมารดา และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการในการใช้ยาสมุนไพรกระตุ้นการมาของน้ำนมมารดาหลังคลอด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasiexperimental reseach) ชนิด 2 กลุ่มวัดผลการ ทอลอง (Two post test design) 1. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คัดเลือกกลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดที่มาคลอดในโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 20 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 10 ราย กลุ่มทดลอง 10 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1.คลอดบุตรทางช่องคลอด 2.สุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร 3.หัวนมและเต้านมปกติทั้ง 2 ข้าง 4.ทารกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการแต่กำเนิดที่เป็นอุปสรรคต่อการดูดนมแม่ 5. มีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตามปกติจนครบจำนวน จากนั้นจึงเริ่มเก็บข้อมูลในกลุ่มทดลอง เพื่อไม่ให้กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติกัน และควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรตามโดยการใช้วิธีการจับคู่ (Matching) โดยประเมินจากจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และน้ำหนักของมารดาหลังคลอด 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และประเมินการมาของน้ำนมหลังคลอด (นับจากเวลาคลอดจนถึงการมาของน้ำนมในครั้งแรกหลังจากคลอดบุตร) และเก็บข้อมูลทุก 6 ช่วงโมง โดยใช้แบบบันทึกการมาของน้ำนมมารดา 2. ผู้วิจัยให้สุขศึกษาในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรข้าวเย็นใต้ให้กับกลุ่มทดลอง และให้บริการชาชงสมุนไพรข้าวเย็นใต้แก่กลุ่มทดลอง 3. ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ให้มารดาหลังคลอดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการในการใช้ยาสมุนไพรกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดา 3. วิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง