|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : แนวทางการ ให้ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ศึกษาในหมู่บ้านต้นแบบ บ้านโคกประสิทธิ์ หมู่ที่ 12 ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2558 |
ผู้แต่ง : |
สุจิรา นาถมทอง |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ตำบลโคกสะอาดประกอบอาชีพค้าของเก่า ถึงร้อยละ 80 ของหลังคาเรือน ผู้ประกอบการมีการค้าของเก่าที่มีอันตรายต่อสุขภาพ เช่นสารตะกั่ว สารปรอท และพบว่ามีการเผาขยะพิษและการสัมผัสเชื้อโรคและสารพิษจากขยะหรือของเก่า เช่น แบตเตอรี่รถ,การเผาพลาสติกเพื่อเอาลวดทองแดง, ขยะอิเลคทรอนิกส์,ขยะจากตู้เย็น ปี พ.ศ.2551 มูลนิธิเอเชีย(ประเทศไทย) ได้เก็บตัวอย่างน้ำ และดินไปวิเคราะห์โดยเฉพาะโลหะหนักในบริเวณที่มีการทิ้งขยะ พบว่ามีระดับตะกั่วในดินเกินค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยดังนี้
ตารางที่1 แสดงปริมาณสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน
สารโลหะหนัก ปริมาณที่ตรวจพบ
(mg/Kg ) ค่าทาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้เพื่อ
การอยู่อาศัย (mg/Kg)
ปรอท(Hg) 0.70 23
ตะกั่ว(Pb) 79,520 400
แคดเมี่ยม (Cd) 1.46 37
นิกเกิล (Ni) 75.2 1,600
แมงกานีส(Mn) 1,519 1,800
ส่วนปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำ พบว่าอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน รายละเอียดดังแสดงใน
ตารางที่2 แสดงปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำ
โลหะหนัก ปริมาณที่ตรวจพบ (mg/l) ค่ามาตรฐานการระบาย
น้ำลงทางน้ำชลประทาน(mg/l)
ตัวอย่างที่1 ตัวอย่างที่2
ปรอท <0.001 <0.001 0.005
ตะกั่ว 0.02 0.01 0.1
แคดเมี่ยม 0.001 0.001 0.03
ทองแดง <0.1 <0.1 2.0
นิกเกิล 0.15 <0.1 0.2
แมงกานีส 0.16 0.17 0.5
สำหรับปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในดินนาข้าวพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานรายละเอียดดังแสดงในตารางที่3
ตารางที่3 แสดงปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในดินนาข้าว
โลหะหนัก ปริมาณที่ตรวจพบ (mg/l) มาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม (mg/Kg)
ดินนาข้าวใกล้หลุมขยะ ดินนาข้าวต.หนองตอกแป้น
ปรอท <0.1 <0.1 ไม่เกิน23
ตะกั่ว 2.48 3.70 ไม่เกิน400
แคดเมี่ยม <0.1 <0.1 ไม่เกิน37
ทองแดง <10.0 <10.0 ไม่ได้กำหนด
นิกเกิล <10.0 <10.0 ไม่เกิน1600
แมงกานีส <10.0 228 ไม่เกิน1800
สำหรับปริมาณปรอทในตัวอย่างเส้นผมพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดังแสดงในตารางที่4
ตารางที่4แสดง ปริมาณปรอทในตัวอย่างเส้นผม
ปริมาณปรอทในตัวอย่างเส้นผม(ไมโครกรัมต่อกรัม)
คนที่1 คนที่2 คนที่3 คนที่4 คนที่5 คนที่6 คนที่7 คนที่8
0.01 0.04 0.01 0.01 0.01 0.01 0.02 0.01
พบว่าเมื่อเก็บตัวอย่างดิน ในบริเวณบ้านเรือนของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพชำแหละและค้าของเก่าไปตรวจวิเคราะห์หาสารโลหะหนัก พบว่าปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในตัวอย่างดินตามบ้านที่มีการสะสมค้าของเก่า มี ปริมาณตะกั่ว สารหนู และแมงกานิส มีค่าเกินค่ามาตรฐานของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่25 (พ.ศ.2547)เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน
ตารางที่5 ปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในตัวอย่างดินตามบ้านที่มีการสะสมค้าของเก่า
สารโลหะหนัก ปริมาณท่าตรวจพบ(mg/Kg) ค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม
*(mg/Kg)
ปรอท( Hg) ไม่พบ 23
ตะกั่ว(Pb) 26,693.53 400
แคคเมี่ยม(Cd) 6.16 37
นิกเกิล(Ni) 618.82 1600
แมงกานีส(Mn) 3,339.31 1800
อาร์เซนิคX 151.08 3.9
*มาตรฐานของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดลิอมแห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ.2547)เรื่องกำหนดคุณภาพดิน
1.ผลการตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดเด็ก
ดำเนินการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2556 จำนวนเด็กที่เข้ารับการตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดจำนวน 122คน พบว่ามีเด็กที่มีระดับตะกั่วในเลือด สูงกว่า10 ไมโครมิลลิกรัม/เดซิลิตร มีจำนวน 1 คนคือด.ญ.วลัยพร จอมคำสิงห์ อายุ 1 ปี 6 เดือน มีระดับสารตะกั่วในเลือดเท่ากับ 13.2 ไมโครมิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อสอบถามการประกอบอาชีพของผู้ปกครอง พบว่าที่บ้านประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจระดับฝุ่นตะกั่วในสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของดญ.วลัยพร จอมคำสิงห์ โดยวิธี Wipe- Techniqueพบว่า ชิ้นส่วนของเก่า(สายไฟและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์)บริเวณที่นอนแบบพับ กระเป๋าของเด็กเล็กและ ฝาโอ่งน้ำที่บริโภค มีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด การวิเคราะห์ตัวอย่างฝุ่นตะกั่วจากมือและแขนผู้ปกครองและญาติ พบว่า 12.3และ5.5 ไมโครมิลลิกรัม/100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ โดยอาจเกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารตะกั่วจากการทำงานคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นยังได้มีการวิเคราะห์ฝุ่นตะกั่วในบริเวณห้องเรียนของศูนย์เลี้ยงเด็ก พบว่าทั้งสองแห่งมีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด
2.ผลการตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดของผู้ปกครอง(ผู้ใหญ่)
ดำเนินการเก็บตัวอย่างไปเมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 255556 จำนวนผู้ปกครองที่เข้ารับการตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดจำนวน102 คนพบว่าผู้ปกครองทั้งหมดมีระดับสารตะกั่วในเลือดไม่เกินค่ามาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น และเลือกเอาบ้านโคกประสิทธิ์ หมู่12 ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านทำการวิจัยฯ เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่เกินไป มีผู้ประกอบการค้าของเก่า 8 ร้าน มีโรงเรียนและวัดอยู่พื้นที่เดียวกัน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้ประกอบการค้าของเก่าและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เลือกกลุ่มที่จะศึกษาคือกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่ศึกษาและกลุ่มเยาวชนให้มีความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหาแนวร่วมคือกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มพิทักษ์ผลประโยชน์(ปชช.ที่อิสระทางความคิด) เพื่อศึกษาแนวทางในการดูแลสุขภาพสอดคล้องกับปริญญา อุปลา(2545) “ได้ให้ความความหมายว่าคือ การพยายามในการทำความเข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบริบทของงานที่ปฏิบัติด้วยมุมมองเพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา โดยใช้ยุทธศาสตร์การวางแผน การรวบรวมข้อมูล การประเมินผล เพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างเป็นระบบนำไปสู่ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน” และเพื่อเป็นแนวร่วมในการต่อรองทางสังคม และปรับเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติในการดูแลสุขภาพ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อศึกษาทำความเข้าใจของผู้บริหารฯและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
2.เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนมีความรู้ในเรื่องสุขภาพและป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพของเก่า
3.เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มประชาชนอิสระ มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและเกิดแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อให้สังคมพึ่งตนเองได้
4.เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเครือข่ายดูแลสุขภาพ และเกิดสังคมเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในบ้านโคกประสิทธิ์ หมู่ที่12 ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีร้านผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่า จำนวน 9 ร้าน อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 5 คน , ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 4 คน ประชาชน จำนวน 115 คน(จากม.12 มี 115 หลังคาเรือน ตัวอย่าง 1 คน/1 หลังคาเรือน และนักเรียน โรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา ชั้นประถมปีที่3-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)ในกลุ่มอสม.จำนวน 5 คน,ผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน,ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน และมีการอบรมอสม. และผู้นำชุมชนให้มีความรู้ในเรื่องภัยอันตรายจากการประกอบอาชึพของเก่า แนะนำแนวทางป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพของเก่าและให้อาสาสมัครสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการให้เป็นปัจจุบันทุก 6 เดือน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 1 วัน มีการอบรมนักเรียนด้านอาชีวอนามัย โรงเรียนเป้าหมายคือโรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา อบรม 1 วัน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 –ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จำนวน 74 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสอบถาม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ Rapid assessement process ศึกษาแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ประกอบการค้าของเก่าและกลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักในการดูแลสุขภาพ (กรณีศึกษาบ้านโคกประสิทธิ์ หมู่ที่12 ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ )กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในบ้านโคกประสิทธิ์ หมู่ที่12 ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีร้านผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่า จำนวน 9 ร้าน อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 5 คน , ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 4 คน ประชาชน จำนวน 115 คน(จากม.12 มี 115 หลังคาเรือน ตัวอย่าง 1 คน/1 หลังคาเรือน และนักเรียน โรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา ชั้นประถมปีที่3-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 74 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)ในกลุ่มอสม.จำนวน 5 คน,ผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน,ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน และมีการอบรมอสม. และผู้นำชุมชนให้มีความรู้ในเรื่องภัยอันตรายจากการประกอบอาชึพของเก่า แนะนำแนวทางป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพของเก่าและให้อาสาสมัครสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการให้เป็นปัจจุบันทุก 6 เดือน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 1 วัน มีการอบรมนักเรียนด้านอาชีวอนามัย โรงเรียนเป้าหมายคือโรงเรียนโคกประสิทธิ์วิทยา อบรม 1 วัน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 –ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จำนวน 74 คน มีการสอบถามและซักถามทำความเข้าใจกับนักเรียน แจกรางวัลนักเรียนคนที่ตอบถูกต่อจากนั้นมีการประเมินผลนักเรียนให้กรอกแบบสอบถามทุกคน จำนวน 74 ชุด ,ประเมินอสม. จำนวน 5ชุด,ประเมินผู้นำชุมชน จำนวน 3 ชุด,ผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชุด ,ประเมินเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 ชุดและประเมินชาวบ้าน หมู่ 12 จำนวน 115 ชุด |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|
|