ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ข่าวและภัยสุขภาพที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ 6-7 (20 – 26 กุมภาพันธ์ 2560) โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อรรถวิทย์ เนินชัด,วานิช รุ่งราม,ทักษนัย พัศดุ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลข่าวสารในด้านสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะทำให้ประชาชนสามารถที่จะดูแลตนเองได้ และข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพยังทำให้ได้ทราบถึงการระบาดของโรคต่างๆ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องรีบดำเนินการป้องกันและแก้ไขโดยเร็ว อำเภอนามนเป็นชุมชนหนึ่งที่ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคบ่อยครั้ง และมีประชาชนจำนวนมากแต่ยังขาดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพและการระบาดของโรคซึ่งทำให้ล่าช้าในการที่จะดูแลและป้องกันตนเองจากโรคภัยต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทางโรงพยาบาลนามนได้เล็งเห็นจุดที่จะสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพได้จึงได้จะทำสรุปการตรวจสอบข่าวและภัยสุขภาพขึ้น โดยเป็นการรายงานข่าวที่เกิดขึ้นในรายสัปดาห์ แล้วนำข่าวที่ได้นี้คืนให้แก่ประชาชนในชุมชนทราบเพื่อที่จะได้ดูแลและป้องกันตนเองได้ทันท่วงที  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพและการระบาดของโรค 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพและสถานการณ์การระบาดของโรค  
กลุ่มเป้าหมาย : ข่าวและภัยสุขภาพที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์  
เครื่องมือ : 1. ระบบรายงาน 506 อำเภอนามน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. รวบรวมข้อมูลสถานการณ์การเกิดโรค หรือการระบาดของโรคต่างๆ รวมถึงข่าวสารทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข 2. สำรวจข้อมูล สถานการณ์ของโรคและภัยสุขภาพในระบบรายงาน 506 อำเภอนามน 3. ออกพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล 4. เขียนรายงานสถานการณ์การเกิดโรค การระบาดของโรค และภัยสุขภาพที่ได้รวบรวมมา  
     
ผลการศึกษา : สถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบการรายงานผู้ป่วยด้วยสูงสุด คือ โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 25.38 ต่อประขากรแสนคน รองลงมา คือ ไข้ไม่ทรายสาเหตุ (Pyrexia) 7 ราย อัตราป่วย เท่ากับ 88.8 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea Diseases) พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงมาเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลนามน จำนวน 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 25.38 ต่อประชากรแสนคน ไม่มรรายงานผู้เสียชีวิต พบเป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สัดส่วน 2.33 : 1 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 0-4 ปี จำนวน 6 ราย รองลงมา คือ 55-64 ปี พบผู้ป่วยในเดือนมกราคม 8 ราย และเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 12 ราย การสอบสวนกรณีปอดติดเชื้อ ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ทีม SRRT อำเภอนามน ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคปอดติดเชื้อในพื้นที่อำเภอนามน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 12 วัน ทีม SRRT อำเภอนามน จึงดำเนินการตรวจสอบข่าว โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอก พบว่า ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 1 ปี 6 เดือน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนามน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2560 มาด้วยอาการไข้สูง ไอ และหอบ จึง Admit ที่โรงพยาบาลนามน วันที่ 12 กุมภาพันธุ์ 2560 ญาติจึงขอส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และ Admit เป็นเวลา 10 วัน รับยาฆ่าเชื้อ (10 วัน) เนื่องจากผลการตรวจเลือดและเสมหะ พบว่า ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคปอดติดเชื้อรุนแรง เมื่อถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและไข้ลด แพทย์จึงให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน จากการสอบสวนเบื้องต้น ปู่และย่า (ผู้ดูแล) ให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยเป็นเด็กแข็งแรง ไม่ป่วย แต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา อากาศอำเภอนามนเปลี่ยนแปลงบ่อย อากาศหนาว ทำให้เด็กป่วย ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมา มีเด็กในชุมชนป่วยหลายคน แต่หายแล้ว และเด็กที่ป่วยไม่ได้ไปคลุกคลีกับเด็กที่ป่วยในชุมชนเลย มีเพียงพี่ชาย (อายุ 7 ปี) ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ที่ได้เรียนที่โรงเรียนในชุมชน มีโอกาสสัมผัสกับเด็กที่ป่วย แต่เด็กอายุ 7 ปี ไม่มีอาการป่วย สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 6 สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 มีผู้ป่วย 3,728 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 5.7 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน จำนวนผู้ป่วยตาย 6 ราย คิดเป็นอัตราตายเท่ากับ 0.01 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในพื้นที่อำเภอนามน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายแรก เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2560 อยู่ในพื้นที่ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยทีม SRRT อำเภอนามน ร่วมกับเทศบาลตำบลหลักเหลี่ยมได้ดำเนินการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านและรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย ซึ่งภายในบริเวณบ้านของผู้ป่วย ค่า CI = 0% จากการสอบสวยเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยเป็นเด็กนักเรียนที่เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนในอำเภออื่น ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านผู้ป่วยประมาณ 40 กิโลเมตร จากการแจ้งเตือนไปยังโรงเรียนดังกล่าว พบว่า ในโรงเรียนแห่งนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวนหลายราย โดยทีม SRRT นามนได้ลงพื้นที่ประชาคมและคืนข้อมูลให้กับชุมชนที่พบผู้ป่วยเพื่อหาแนวทางในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคในชุมชนต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : 1. ประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ 2. เจ้าหน้าที่มีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับการระบาดและภัยสุขภาพหลังจากการที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)