|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การลดปวดหลังผ่าตัดในเด็ก |
ผู้แต่ง : |
งานห้องผ่าตัด |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นตื่นมาจะร้องไห้ ครวญคราง นอนปิดตัวไปมา บางรายเอามือลูบ กุมแผล ประเมินความปวดแผลอยู่ระดับปวดมาก ความปวดมีผลกระทบต่อระบบหายใจ (หายใจตื้น ปริมาตรในปอดลดลงเสี่ยง ปอดแฟบ ปอดอักเสบ)
ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานมากขึ้น เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเสี่ยงต่อการท้องอืดหลังผ่าตัดจากการไม่ ลุกเดิน ยาชาทำหน้าที่ปิดกั้นการส่งสัญญาณประสาททำให้กลไกกำเนิดสัญญาณประสาทเกิดขึ้นไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดแผล
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ศึกษาระดับของความปวดแผลหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น
2. ศึกษาพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกในห้องพักฟื้น
3. ศึกษาภาวะแทรกซ้อน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 8-14 ปี ทั้งเพศชาย เพศหญิงที่ได้ระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายชนิดใส่ท่อหายใจและได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่รอบแผลผ่าตัดก่อนตื่น ได้รับการดูแลหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น 1 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 1 พย. 59-31 มีค.60 จำนวน 35 ราย พูดและฟังภาษาไทยได้ดี ไม่มีปัญหาการได้ยิน ไม่เป็นโรคจิตหรือระบบประสาท
|
|
เครื่องมือ : |
แบบบันทึกข้อมูล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เพิ่มการฉีด ยาชาเฉพาะที่ (Xylocain 1 (5 ml) ขนาด 7 mg/kg รอบแผลผ่าตัดชั้นผิวหนังและใต้ผิวหนัง ก่อนผู้ป่วยตื่น
ให้การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น 1 ชั่วโมงก่อนย้ายกลับหอผู้ป่วย
ประเมินระดับความปวดแผลผ่าตัดทุก 15 นาที
สังเกตพร้อมบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วย
เฝ้าระวังอาการแพ้ยา และติดตามการติดเชื้อแผลผ่าตัดภายใน 30 วัน หลังผ่าตัด
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 45 เพศหญิง ร้อยละ 55 การศึกษา ระดับชั้นประถม ร้อยละ 60 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 40 อายุต่ำสุด 8 ปี สูงสุด 14 ปี ผู้ป่วยทุกคนไม่เคยมีประวัติการผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด ไส้ติ่งอักเสบ ร้อยละ 80 ผ่าตัด ใส่เหล็กกระดูกหัก ร้อยละ 10 อื่นๆ ร้อยละ 10 การประเมินพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัด ร้องไห้ ครวญคราง กระสับกระส่าย ร้อยละ 20 นอนสงบนิ่ง สีหน้าผ่อนคลาย 80 ระดับการปวดแผล ไม่ปวดถึงปวดเล็กน้อย ร้อยละ 35 ปวดปานกลาง ร้อยละ 65 ให้ยาแก้ปวด 1-2 ครั้ง ร้อยละ 75 ให้ยาแก้ปวด 3 ครั้ง ร้อยละ 25
สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นส่วนใหญ่สามารถนอนพักผ่อน สีหน้าผ่อนคลาย ร้อยละ 80 ระดับการปวดแผลอยู่ในระดับปานกลาง จำนวนครั้งที่ให้ยาแก้ปวด 1-2 ครั้ง ร้อยละ 72 ซึ่ง Lidocain มีกลไกลการออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นการส่งกระแสประสาทในบริเวณที่ได้รับยาทำให้ความรู้สึกต่างๆถูกจำกัดและมีอาการชาเกิดขึ้น(ภก.อภัย ราษฏรวิจิตร)และสอดคล้องกับการศึกษาของ ผกาพร ชมพูใบ,ประสงค์ จตุรศรีวิไล,เสกสรร แซ่แต้ ศึกษาประสิทธิภาพการระงับปวดของการฉีดยาชาแผลผ่าตัดคลอดซึ่งพบว่า การฉีดยาชาที่แผลผ่าตัดจะช่วยยืดระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดแผลผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยสุขสบาย นอนพักผ่อน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างนี้ และการจัดการความปวดที่ไม่ใช้ยา
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|