ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาความพึงพอใจในการใช้ห้องแยกโรคในโรงพยาบาลนามน
ผู้แต่ง : จุฑามณี พละศิลา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ห้องแยกโรคความดันลบ เป็นห้องที่สร้างเพื่อควบคุม ไม่ให้เชื้อโรคในอากาศแพร่กระจายออกไปสู่สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล หรือ สถานที่เสี่ยงภัยต่อการติดเชื้อในอากาศ ใช้กับผู้ป่วยเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศและผู้ป่วยมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ วัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ ผู้ป่วยที่สงสัยไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 หรือโรคที่แพทย์พิจารณาให้อยู่ห้องแยกซึ่งพบว่า ผู้ป่วยใช้บริการห้องแยกโรคทั้งหมด 25 ราย เป็นวัณโรคเสมหะบวก มี 1 รายหนีกลับ ซึ่งทางผู้วิจัย มีความมุ่งหวังที่จะให้บริการของโรงพยาบาลดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจที่สุด ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ และมีประสิทธิภาพ ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความมั่นใจและปลอดภัยการปฏิบัติงานลักษณะเช่นนี้อาจมีข้อบกพร่องและเป็นการยากที่จะทำให้ประชาชนผู้มารับบริการเกิดความพึงพอใจได้ จึงทำให้คณะผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความคิดเห็น ความพึงพอใจของประชาชนที่มารับบริการของห้องแยกโรคโรงพยาบาลนามน  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการห้องแยกโรคของผู้รับบริการ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 3. เพื่อให้เกิดแนวทางการดูแลห้องแยกโรคที่ชัดเจน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในห้องแยกโรค  
เครื่องมือ : 1. แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องแยกโรค 2. แบบประเมินความพึงใจ และแบบประเมินความรู้ผู้ให้บริการห้องแยกโรค  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งออกเป็น 3ระยะ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะดำเนินการ 3. ระยะประเมินผลลัพธ์การดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ 1 มีนาคม 2560 - 31 มีนาคม 2560 ขั้นตอน และวิธีการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมการ( กุมภาพันธ์ 2560) ได้แก่ 1.1 วิเคราะห์สถานการณ์ห้องแยกในปัจจุบัน หาสาเหตุข้อบกพร่อง 1.2 ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง และออกแบบแนวทางการให้การบริการและการดูแลผู้ป่วย 2. ระยะดำเนินการ(กุมภาพันธ์ 2560 – เมษายน 2560 ) ประกอบด้วย 2.1 เก็บข้อมูลเก็บแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บริการห้องแยกโรค 2.2 เก็บข้อมูลเก็บแบบสอบถามแบบประเมินความพึงใจและความรู้ผู้ให้บริการห้องแยกโรค 2.3 ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการห้องแยกโรค 3. ระยะประเมินผลลัพธ์การดำเนินการ (มีนาคม 2560 – เมษายน 2560) 3.1 นำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำแนวทางในการปรับปรุงห้องแยกโรค และการให้บริการผู้ป่วยร่วมกัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง