ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รักษ์ชนก หัสพิมพ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : มะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการเป็นมะเร็งสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา กล่าวคือในประเทศสหรัฐอเมริกาอัตราการเป็นมะเร็งในคนผิวขาว 432 ต่อประชากรแสนคนและคนผิวดำ 317.4 ต่อประชากรแสนคน ในประเทศแคนนาดา พบอัตราเป็นมะเร็ง 311.6 ต่อประชากรแสนคน และในประเทศญี่ปุ่น พบอัตราเป็นโรคมะเร็ง 205.4 ต่อประชากรแสนคน ในประเทศที่กำลังพัฒนา จะพบมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงตามไปด้วย องค์การอนามัยโลกได้ประมาณ อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก 20 ปี ข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน สถานการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่าง 45-50 ปี จากเหตุผลเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นงานหลักให้กับทุกสถานบริการ เร่งรัดการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30-60 ปี ในปีที่ผ่านมา กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองบัว โดยสถานีอนามัยหนองบัวนอก ได้ดำเนินงานตามโครงการและจากการดำเนินงานของสถานีอนามัยหนองบัวนอก พบปัญหาในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายยากมาก เพราะประชาชนยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค มีความอายในการมาตรวจ ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองบัวจึงมีความสนใจในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30-60 ปีในพื้นที่ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมาตรวจมะเร็งปากมดลูกของหญิง อายุ 30-60 ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 ปี ถึง 60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 876 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อการบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของหญิง อายุ 30-60 ปี  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ศึกษาในกลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 ปี ถึง 60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และไม่มารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ตัวแปร ตัวแปรตาม คือ การมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. มาตรวจ 2. ไม่ตรวจ เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างในการสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ข้อมูลการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และส่วนที่ 3 ความเชื่อและทัศนคติต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจคุณภาพเครื่องมือ ประเมินโดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ในการตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา (Content validity) หลังจากนั้นผู้วิจัยนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำไปทดลองใช้เครื่องมือกับในพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน และทดสอบหาความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (alpha-coefficient (Cronbach)) การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย เก็บข้อมูลในพื้นที่ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 31 เมษายน พ.ศ.2560 นำข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ที่ตรวจสอบความสมบูรณ์แล้วมาลงรหัส และบันทึกลงในโปรแกรมจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์ จากนั้นทำการตรวจสอบข้อมูลสูญหายและความผิดพลาดของข้อมูลอีกครั้ง ก่อนนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อรายงานผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดังนี้ 1. วิเคราะห์เพื่ออธิบายลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หากเป็นข้อมูลต่อเนื่อง เมื่อตรวจสอบแล้วว่าข้อมูลมีการแจกแจงปกติ นำเสนอค่าสถิติในรูปค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หากเป็นข้อมูลต่อเนื่องและมีการแจกแจงไม่เป็นปกติ นำเสนอด้วยค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนกรณีเป็นข้อมูลแจงนับนำเสนอในรูปตารางแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ 2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการมารับการมารับบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีทดสอบด้วยสถิติ Chi-square หรือ Fisher’s exact กรณีที่พบว่าร้อยละ 20 ของเซลล์ทั้งหมดมีค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง