ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ
ผู้แต่ง : งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลกมลาไสย เป็นโรงพยาบาลขนาด รพ. 120 เตียง ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ 13 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที ห่างจากขอนแก่น 73 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง มีอายุรแพทย์ 1 คน มีหน่วยกู้ชีพ อปท. 15 หน่วย ผู้ป่วย STEMI ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลในปี 2557-2559 มีจำนวน 9, 9, และ 15 ตามลำดับ ให้ยา Streptokinase ปีงบประมาณ 2557-2559 มีจำนวน 1,4,8 รายตามลำดับ จากการทบทวนพบว่ามีปัญหาในการเข้าถึงบริการล่าช้า เนื่องจากไม่ทราบอาการบ่งชี้ที่ต้องรีบมาพบแพทย์ การวินิจฉัยล่าช้า การให้ยา Streptokinase (SK) ไม่ทันเวลาตามเป้าหมายเนื่องจากต้องรอการตอบกลับจากโรงพยาบาลแม่ข่าย มีภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาเช่น Hypotension,Minor Bleeding และการส่งต่อล่าช้าเนื่องจากต้องรอการตอบรับจากโรงพยาบาลปลายทาง  
วัตถุประสงค์ : 1. ผู้ป่วยเข้าถึงบริการภายในเวลา 12 ชั่วโมงตั้งแต่มีอาการ 2. ได้รับการวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว หลังรับไว้ในหน่วยงาน 3. ผู้ป่วยได้รับ SK หรือส่งต่อหลังวินิจฉัย STEMI ภายใน 30 นาที  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ  
เครื่องมือ : เกณฑ์มาตรฐานในการดูแล กระบวนการกลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดทำสื่อ (นามบัตร แผ่นพับ CD) และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งในโรงพยาบาลและรพ.สต. ได้ทราบถึงอาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล การดูแลตนเองเบื้องต้น ช่องทางด่วนเรียกใช้บริการเมื่อมีอาการวิกฤต 2.พัฒนาระบบ EMS และเครือข่ายในการดูแลโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งระดับปฐมภูมิและตติยภูมิ 3.พัฒนาศักยภาพพยาบาลและปรับปรุงแนวทางการคัดกรองและการแปลผล EKG เบื้องต้นโดยพยาบาลและ EMT 4.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษา (Bed side)ระหว่างอายุรแพทย์ แพทย์ทั่วไปและพยาบาล 5.ให้ SK ได้โดยแพทย์ทั่วไปหลังการส่งปรึกษาอายุรแพทย์ 6.ปรับระบบการส่งต่อที่ปลอดภัยโดยจัดให้มีพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยและมีแนวทางการเฝ้าระวังขณะส่งต่อ 7.ทบทวนอุบัติการณ์ และพัฒนาแนวทางปฏิบัติตาม CPG การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงาน 1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งในโรงพยาบาลและรพ.สต. 17 แห่งได้ทราบถึงอาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล และความสำคัญของการเข้ารับบริการอย่างรวดเร็ว 2. ติดสัญลักษณ์ที่ OPD card ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยที่มี CVD risk > 30% และส่งข้อมูลผู้ป่วยไปยัง EMS ของแต่ละพื้นที่17รพสตมีการประเมิน CVD risk.ในกลุ่มเสี่ยงทุกรายถ้าพบว่าเข้าเกณฑ์ให้ความรู้และเฝ้าระวังอาการในปี2560สามรถค้นหากลุ่มเสี่ยงCVD risk > 30% คิดเป็น 30% 3. การเข้าถึงและเข้ารับบริการร้อยละของ Door–to-EKG in 10 minutes ในคนไข้ ACS ปี 2557-2560(มีค.)หลังจากมาถึงหน่วยงาน66.67, 66.67, 73.33, 66.67 4. ในผู้ป่วยร้อยละ Door-to-refer time ในคนไข้ STEMIภายใน 90 นาทีในคนไข้ ACS ปี 2557-2560(มีค.)33.3,11.1,26.6,27.7 5. ผู้ป่วย NSTEMI ที่เสียชีวิตปี 2557-2560(มีค.) 1,2,1,0ราย 6. จำนวนผู้ป่วย STEMI เสียชีวิตในโรงพยาบาล 0 ราย  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : การประชุมนานาชาติ ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)