ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of Change) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุพจน์ แสบงบาล ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : องค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมเบาหวานระหว่างประเทศ (IDF) คาดการณ์ว่าโรคเบาหวาน จะเพิ่มจาก 177 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 300 ล้านคน ในปี 2568 สำหรับประเทศไทย ความชุกของโรคเบาหวาน ในประชากรไทยตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป เพิ่มจาก 2.3% ในปี 2535 เป็น 9.6% ในปี 2543 และข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปี 2548 ประชากรไทยมีความชุกโรคเบาหวาน ร้อยละ 3.69 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีความชุกร้อยละ 3.19 นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 30-50 ของประชากรที่เป็นเบาหวาน ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีผู้ป่วย จำนวน ๔๓,๗๔๖ , ๔๖,๗๐๙, ๔๗,๗๒๑, ๔๙,๔๖๙, และ ๖๓,๖๐๘ คน ตามลำดับ มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร เป็น ๔๔๔๐.๘๔ , ๔๗๔๖.๗๐ , ๔๘๖๑.๒๘ ,๕๐๒๒.๗๑ และ๖๔๑๒.๕๔ ตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และอัตราตายจากโรคเบาหวานในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๘ ต่อแสนประชากร เป็น ๓๑.๓๗ , ๔๒.๙๔ , ๔๖.๐๕ และ ๔๑.๐๓ ตามลำดับ ส่วนในพื้นที่อำเภอนามน ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ มีผู้ป่วยเบาหวาน ๑,๕๑๙ และ ๑,๕๔๑ คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร เป็น ๔,๑๔๙.๗๐ และ ๔,๒๐๔.๖๓ ตามลำดับ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ ในปี ๒๕๕๙ จำนวน ๘๒ ราย ในปี ๒๕๖๐ จำนวน ๒๒ ราย จากข้อมูลข้างต้น การพัฒนาพฤติกรรมของผู้ป่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตให้อายุยืนยาว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งยังเป็นกลุ่มที่สามารถชี้นำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่าย จึงได้ศึกษาผลการประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (Stage of Change) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : ๑.ศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ เกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ใช้ยา ๒. เปรียบเทียบดัชนีมวลการ ก่อนและหลังการประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of Change) ๓.เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (Stage of Change)  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ ในพื้นที่อำเภอนามน ๑๐๔ คน  
เครื่องมือ : ๑.เครื่องมือทดลอง คือ การประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (Stage of Change) ๒. เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ ๒.๑ แบบทดสอบความรู้ ๒.๒ แบบวัดทัศนคติ ๒.๓ แบบสำรวจพฤติกรรม ๓. สายวัด เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดส่วนสูง ๔. เครื่องมือตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑.พัฒนาความรู้ความเข้าใจหลักสูตรการประยุกต์ใช้แพทย์วิถีธรรม และทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (Stage of Change) กับคณะทำงานและทีมวิทยากร ๒. เก็บข้อมูลดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูงก่อนดำเนินการ ๓. ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร ๓.๑ ขั้นก่อนมีความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Precontemplation) ๓ ชั่วโมง - การปลุกจิตสำนึก (consciousness raising) : ให้เห็นคุณค่าการมีสุขภาพดีใช้ธรรมละบาป - การเร้าอารมณ์และความรู้สึก (dramatic relief) : ใช้บุคคลต้นแบบสุขภาพดีแสดงความคิดเห็นอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ๓.๒ ขั้นมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม (contemplation) ๓ ชั่วโมง - การประเมินตนเอง (Self-reevaluation) : วัดความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ วัดดัชนีมวลกาย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด - การเปรียบ เทียบผลดีและผลเสียของพฤติกรรม (decision balance) : นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ ค่าดัชนีมวลกาย คนไม่ป่วย เปรียบเทียบกับคนป่วยด้วยโรคเบาหวาน พร้อมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๓.๓ ขั้นเตรียมการ (Preparation) ๑ วัน - การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ (Social liberation) : การเสนอวิดีทัศน์สภาพการบริโภค การอยู่อาศัย พฤติกรรมของบุคคลที่มีสุขภาพดี และการนำเสนอข้อมูลบุคคลที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ใช้ยา - การทำพันธะสัญญากับตนเอง (Self-liberation) : ทำบันทึกสัญญา กำหนดห้วงเวลา และข้อตกลงการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ๓.๔ ขั้นปฏิบัติการ (action) ระยะเวลา ๒ วัน - หาแรงสนับสนุนทางสังคม (helping relationships) : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑) แรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว ๒) แรงสนับสนุนจากเพื่อนบ้านที่มีสุขภาพดี (อสม.) ๓) แรงสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขที่เป็นต้นแบบสุขภาพ - การทดแทนด้วยสิ่งอื่น (Counter conditioning) ๑) อาหารสมดุลร้อนเย็น ๒) น้ำสมุนไพรปรับสมดุล ๓) ออกกำลัง SKT และโยคะ แกว่งแขน ๔) ธรรมละกิเลส ทำให้อารมณ์แจ่มใส ๖) นาฬิกาชีวิตรู้เพียรรู้พัก ๗) บุหรี่ สุรา ยาเสพติด เป็นภัยต่อชีวิต ๓.๕ ขั้นพฤติกรรมคงที่ (maintenance) ๑ วัน - เก็บข้อมูลดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูงก่อนดำเนินการ หลังการอบรม ๒ สัปดาห์ - การ ให้การเสริมแรง (Reinforcement management) : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - การส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของตัว เอง (self-efficacy) : จัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง