|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ในการควบคุมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อการฟอกเลือดแต่ละครั้ง(Interdialytic weight gain )ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำเกินโดยใช้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน |
ผู้แต่ง : |
นภชนก อุ่นบุญเรือง |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากมีพยาธิสภาพของโรคทำให้เกิดความบกพร่องและสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ของเสียในร่างกายเกิดการคั่งและส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ นวัตกรรมและการรักษาปัจจุบันเป็นเพียงการประคับประคองและบรรเทาอาการจากภาวะแทรกซ้อน การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่ช่วยลดการคั่งของของเสียในร่างกาย ลดภาวะน้ำเกิน และการคั่งของเกลือแร่ในร่างกายในระยะเวลาค่อนข้างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีการฟอกเลือดด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการฟอกเลือดเป็นระยะๆ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งครั้งละ 4-5 ชั่วโมง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจึงสามารถทดแทนหน้าที่ของไตได้เพียงร้อยละ 6-7 ซึ่งไม่เพียงพอที่จะควบคุมของเสียหรือเกลือแร่ต่างๆ ให้อยู่ในระดับปกติได้อย่างสมบรูณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ผู้ป่วยไม่ได้ฟอกเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดการคั่งของของเสียหรือสารเกลือแร่ต่างๆได้ง่าย(เกรียง ตั้งสง่า ,2548 )การรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวจึงเป็นการรักษาเพียงเพื่อบรรเทาอาการหรือควบคุมอาการไม่ให้อาการของโรคเลวลงอย่างรวดเร็ว
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายออกมาทางปัสสาวะ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายจะไม่สามารถขับน้ำ และเกลือแร่ส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ทำให้เกิดภาวะน้ำคั่งอยู่ในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้นจะมีปริมาณปัสสาวะลดลงเรื่อยๆ จนไม่มีปัสสาวะเลย ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมีปริมาณน้ำคั่งในร่างกายจำนวนมากแต่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับน้ำออกจากร่างกายได้ตามปกติ การที่ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินนั้นสามารถวัดได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยมักเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด ภาวะซีด กระดูกหัก ติดเชื้อได้ง่าย ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด สับสนและหมดสติ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการบำบัดรักษาด้วยการฟอกไตผ่านเครื่องไตเทียมอีกด้วย (ทวี ศิริวงศ์ ,2550:3)
นอกจากภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกไตดังกล่าวมาแล้ว การฟอกไตในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกินยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้อีกด้วย เนื่องจากการบำบัดรักษาดังกล่าวเป็นการดึงน้ำออกจากร่างกายในปริมาณที่มากในเวลาอันจำกัด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) ตามมาได้ จากการศึกษาพบว่าสาเหตุการตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้นมาจากภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นอันดับหนึ่ง
จากสถานการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังข้างต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวและสร้างความตระหนักให้กับผู้ป่วยในการควบคุมปริมาณน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อการฟอกเลือดแต่ละครั้ง( Interdialytic weight gain ) ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดผู้วิจัยเห็นความสำคัญและอันตรายจากภาวะน้ำเกินจึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง(Interdialytic weight gain)ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้นวัตกรรมครอบครัวเสมือน สนับสนุนให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแล้ว แต่ยังพบปัญหาว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์อยู่เหมือนเดิมในคนเดิม จึงได้พัฒนารูปแบบการให้ความรู้
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเกี่ยวกับการ ป้องกันการเกิดภาวะน้ำเกิน
2.เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการทำกิจกรรมกลุ่มโดยใช้นวัตกรรมครอบครัวเสมือนในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 58ราย |
|
เครื่องมือ : |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และสร้างความตระหนักต่อการควบน้ำหนักตัวในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดด้วยเครื่องไตเทียม ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ความรู้และน้ำหนักตัวของผู้ป่วยไตวายที่ได้รับการบำบัดด้วยเครื่องไตเทียม ดังนั้น เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วย
1. แบบทดสอบความรู้เรื่องการควบคุมน้ำหนักตัวในผู้ป่วยฟอกเลือดจำนวน 10 ข้อ ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยและคณะ ประกอบด้วย พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 2 คน และ พยาบาลผู้มีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อและได้รับการบำบัดด้วยเครื่องฟอกไตเทียมจำนวน 8 คน เครื่องมือดังกล่าวได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ก่อนนำไปศึกษา
2. ตราชั่ง ใช้ชั่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อการฟอกเลือดแต่ละครั้ง (Interdialytic weight gain)ซึ่งหมายถึงส่วนต่างระหว่างน้ำหนักหลังฟอกไตครั้งล่าสุดและน้ำหนักตัวเมื่อมารับการฟอกไตครั้งปัจจุบัน เช่น น้ำหนักตัวหลังฟอกไตครั้งล่าสุดคือ 65 กิโลกรัม เมื่อผู้ป่วยมารับการบำบัดด้วยเครื่องไตเทียมครั้งนี้มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม ดังนั้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อการฟอกเลือดแต่ละครั้ง (Interdialytic weight gain) คือ 70-65 = 5 กิโลกรัม
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ในการศึกษาครั้งนี้จะนำแนวคิดนวัตกรรมครอบครัวเสมือนมาใช้ คือ จะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดออกเป็น 8 กลุ่มย่อย ตามวัน/เวลาที่มาฟอกฯ และ จะทำกิจกรรมเข้ากลุ่มครอบครัวเสมือน 1 ครั้ง/สัปดาห์/กลุ่ม ทำกิจกรรมกลุ่มเฉพาะวันจันทร์ อังคาร พุธ เวลาที่ใช้ประมาณ 10-15 นาที ก่อนเข้าเครื่องฟอกเลือดฯ สถานที่คือบริเวณหน้าห้องไตเทียม โดยจะแบ่งกิจกรรมทั้งหมดออกเป็น 10 สัปดาห์ ดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 - จัดทำการแบ่งกลุ่ม/ตั้งชื่อกลุ่ม/เลือกหัวหน้ากลุ่มและรองหัวหน้ากลุ่ม
- กำหนดบทบาทของแต่ละคน/แต่ละกลุ่ม
- กำหนดข้อตกลงระหว่างกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้หลักสุนทรียสนทนา คือ “หนึ่งคนพูด หลายคนฟัง และให้ยกมือขออนุญาตก่อนพูดทุกครั้ง”
สัปดาห์ที่ 2 - ให้ทำแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
สัปดาห์ที่ 3- ให้ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการควบคุมน้ำหนักตัวในผู้ป่วยฟอกเลือดฯก่อนทำกิจกรรม(Pre-test)กลุ่มครอบครัวเสมือน
สัปดาห์ที่ 4- ดำเนินกิจกรรมเข้ากลุ่มนวัตกรรมครอบครัวเสมือน โดย เปิดประเด็นเรื่อง น้ำหนักแห้ง/ความหมายของน้ำหนักแห้ง/ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำหนักแห้งของแต่ละคน/ค่าน้ำหนักแห้งของตนเอง
สัปดาห์ที่ 5 - แจ้งสถานการณ์น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง(Weight gain)ของแต่ละคนที่ผ่านมาในรอบ 1 เดือนที่แล้ว / ให้ทุกคนได้พูดคุยกันโดยใช้สุนทรียสนทนา
สัปดาห์ที่ 6 - ให้เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับอาการของภาวะน้ำเกินที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองให้สมาชิกได้รับฟัง/แลกเปลี่ยนประสบการณ์
สัปดาห์ที่ 7 - เปิดประเด็นให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักตัวของตนเองว่าทำอย่างไรบ้าง?/ประสบผลสำเร็จหรือไม่
สัปดาห์ที่ 8 - สรุปรวบยอดแนวทางการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกัน
สัปดาห์ที่ 9- ให้ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการควบคุมน้ำหนักตัวในผู้ป่วยฟอกเลือดฯหลังทำกิจกรรม(Post-test)กลุ่มครอบครัวเสมือน
สัปดาห์ที่ 10 - ประเมินผลโดยการแจ้งผลการควบคุมน้ำหนักตัวหลังจากการทำกิจกรรมกลุ่มฯ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|