ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการ “นักเรียนตำบลบัวขาว ยิ้มสวยฟันดีปี ๒๕๖๐ ”
ผู้แต่ง : ณัฐณิชา แสบงบาล ,วิริญญา วณิชชานนท์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เพราะการมีสุขภาพดีจะส่งผลดีต่อร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา การดูแลสุขภาพเบื้องต้นนับเป็นสิ่งสำคัญที่คนในยุคปัจจุบันควรมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้เบื้องต้น ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบกับประชาชนทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนจากการตรวจสุขภาพช่องปากตามระบบเฝ้าระวังและพฤติกรรมทางทันตสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตตำบลบัวขาวปี ๒๕๕๗ -๒๕๕๙ จำนวน ๘ โรงเรียนพบปัญหาฟันแท้ผุ ดังนี้ กราฟแสดงร้อยละฟันแท้ผุ ปี ๒๕๕๗ –๒๕๕๙ จากตารางการตรวจฟัน พบว่าเด็กวัยเรียนยังมีปัญหาเหงือกอักเสบและโรคฟันผุที่ต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียน สุขภาพร่างกาย และการประกอบกิจกรรมต่างๆของนักเรียน ทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจึงจัดทำโครงการ “นักเรียนตำบลบัวขาว ยิ้มสวยฟันดี ปี๒๕๖๐” เพื่อดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน และรักษา สุขภาพช่องปากนักเรียน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพและได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่าถูกต้อง ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องไดรับความร่วมมือจากครู นักเรียน ผู้ปกครองและทันตบุคลากร เพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลทางทันตสุขภาพอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๖.๑. เพื่อให้นักเรียนในเขตตำบลบัวขาวระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ๑๐๐ ๖.๒. เพื่อให้นักเรียนในเขตตำบลบัวขาวระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖ ที่มีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากได้รับบริการทางทันตกรรมและได้แก้ไขปัญหาทุกคน ๖.๓. เพื่อให้นักเรียนในเขตตำบลบัวขาวระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖ มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง๖ในโรงเรียนประถมศึกษาเขตตำบลบัวขาว จำนวน ๘ โรงเรียน นักเรียน จำนวน ๑,๘๖๐ คน  
เครื่องมือ : ๘.๑.แบบตรวจเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ ๘.๒. แผ่นพับความรู้ทางทันตสุขศึกษา คู่มือผู้นำนักเรียน โมเดลฟัน ๘.๓. แบบบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๙.1.ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนทุกคนตามระบบเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ ๙.๒.ให้บริการทางทันตกรรม เช่นอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ในนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ๙.๓.อบรมผู้นำนักเรียน ๘ โรงเรียน จำนวน ๑๔๐ คน ประกอบด้วย ๙.๓.๑ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพผู้นำนักเรียน เรื่อง การแปรงฟันที่ถูกวิธีโรคเหงือกอับเสบ และโรคฟันผุ ๙.๓.๒ ฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธีโดยใช้โมเดลฟัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง