|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การลดอัตราการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis) ในสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ |
ผู้แต่ง : |
พรนภัส รอดภัย |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันการทดสอบทางห้องปฏิบัติการมีระบบประกันคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีต้องครอบคลุมทุกขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย ขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์ ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ และขั้นตอนหลังการตรวจวิเคราะห์ กระบวนการสำคัญในขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์คือการเก็บและเตรียมสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้องตามมาตรฐานซึ่งจะทำให้ผลตรวจวิเคราะห์มีความถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ ทางกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์จึงได้กำหนดเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจที่เป็นไปตามมาตรฐาน จากข้อมูลการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจประจำปีงบประมาณ 2559 พบว่ามีการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสม 5 อันดับแรกดังนี้
ลำดับ รายการปฏิเสธ จำนวนการเกิด (ครั้ง) ร้อยละ
1 สิ่งส่งตรวจ Hemolysis 137 32.0
2 จุดส่งตรวจไม่สั่งรายการตรวจทางระบบ HosXP 106 24.8
3 สิ่งส่งตรวจ Clot 40 9.35
4 เจาะเก็บสิ่งส่งตรวจเกินขีดปริมาตรที่กำหนด 27 6.30
5 สั่งรายการตรวจไม่ตรงกับใบนำส่ง 21 4.91
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลรายการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมสูงสุด 5 อันดับแรกประจำปีงบประมาณ 2559
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ Hemolysis มีสถิติในการปฏิเสธสูงสุดอันดับแรก กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ จึงต้องการที่จะวิเคราะห์หาสาเหตุ ของการเกิด Hemolysis ในสิ่งส่งตรวจ ตลอดจนหาแนวทางการป้องกันการเกิด Hemolysis ในสิ่งส่งตรวจก่อนที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งข้อมูลจุดที่มีจำนวนการเกิด Hemolysis สูงสุด 5 อันดับแรก มีดังต่อไปนี้
ลำดับ จุดบริการ จำนวนการเกิด Hemolysis (ครั้ง) ร้อยละ
1 กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ 57 13.32
2 ER 29 6.78
3 ตึกชาย 20 4.67
4 ตึกหญิง 12 2.80
5 ตึกหลังคลอด 8 1.87
ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลการเกิด Hemolysis สูงสุด 5 อันดับแรกประจำปีงบประมาณ 2559
ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 เพื่อเป็นการลดอัตราสิ่งส่งตรวจ Hemolysis ที่ส่งผลต่อคุณภาพห้องปฏิบัติการจึงได้ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์เป็นกลุ่มนำร่อง และจุดบริการอื่นๆที่มีอัตราการเกิด Hemolysis อันดับรองลงไป เพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจที่มีคุณภาพนำไปสู่การตรวจวิเคราะห์ที่มีคุณภาพต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในสิ่งส่งตรวจ (Hemolysis)
2. เพื่อคุณภาพของผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ
3. เพื่อให้ระยะเวลารอคอยผลอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
4. เพื่อความพึงพอใจในการรับบริการของผู้ป่วย
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. นักเทคนิคการแพทย์
2. เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
4. พยาบาล
5. ผู้ช่วยเหลือคนไข้
|
|
เครื่องมือ : |
1. แบบฟอร์มปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสม
2. แบบประเมินความรู้และทักษะการเจาะเลือดและเตรียมสิ่งส่งตรวจของกลุ่มเป้าหมาย
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนการดำเนินงาน
2. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของปีงบประมาณ 2559 เสนอในที่ประชุม MR ปีงบประมาณ 2559
3. ประเมินความรู้และทักษะการเจาะเก็บและการเตรียมสิ่งส่งตรวจของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
4. สรุปข้อมูลการประเมินความรู้และทักษะการเจาะเก็บและการเตรียมสิ่งส่งตรวจของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
5. วิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ ปัญหาและอุปสรรค และแจ้งในที่ประชุมฝ่าย
6.ลงจุดบริการที่พบปัญหาการเจาะเลือด Hemolysis เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ปัญหาและอุปสรรคในการเจาะเก็บสิ่งส่งตรวจที่ทำให้เกิด Hemolysis ในสิ่งส่งตรวจ
7. วิเคราะห์ข้อมูลการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจทุกๆ 3 เดือน ติดตามความก้าวหน้าของสถิติการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
8. สรุปผลการดำเนินการโครงการ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|