ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนามาตรฐานแนวทางการผูกยึดในหอผู้ป่วยวิกฤต
ผู้แต่ง : อรุณี คำรัศมี , ปทุมวดี ละอองศรี ,วริษา วิชัยผิน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : หอผู้ป่วยวิกฤตผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาวิกฤตทางด้านร่างกายที่คุกคามต่อชีวิต ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ไม่สุขสบาย มาจากการสอดใส่อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผลต่อความเครียด กลัว วิตกกังวล นอนไม่หลับ ซึ่งการผูกยึดผู้ป่วยที่มีการรับรู้ที่ลดลง และไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลสามารถป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อและสายสวนต่างๆและอุบัติการณ์สำคัญของหน่วยงานคือ การเอาท่อช่วยหายใจออกก่อนกำหนดโดยผู้ป่วยเป็นคนดึงเอง หรืออาจเกิดจากการไม่ได้ตั้งใจขณะทำกิจกรรมพยาบาล เช่น การอาบน้ำ การเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วย สำหรับข้อมูลของหอผู้ป่วยวิกฤต ช่วงปี2559 พบข้อมูลการดึงท่อช่วยหายใจ 5 ราย คิดเป็น 3.8% ต่อ 1,000 วันนอน อุบัติการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น กระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ หรือการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำอาจเกิดการติดเชื้อที่ปอดจากการสำลักสารคัดหลั่งเข้าปอด จากการทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องเกิดจากการผูกมัดไม่มีประสิทธิภาพ แนวปฏิบัติการผูกยึดยังไม่เป็นแนวทางเดียวกัน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผูกยึด  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนามาตรฐานแนวทางการผูกยึดในหอผู้ป่วยวิกฤต  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต เจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยวิกฤต ( พยาบาลและผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 14 คน )  
เครื่องมือ : 1.แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต 2. แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการผูกยึดในหอผู้ป่วยวิกฤต 3. ข้อมูลอุบัติการณ์หลังดำเนินงาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยวิกฤตประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 10 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คนให้ทราบถึงอุบัติการณ์ที่สำคัญในหน่วยงานและการวิเคราะห์KPIของหน่วยงานที่ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายพร้อมทั้งทบทวนหาสาเหตุแลกเปลี่ยนความคิดและหาแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าวและกำหนดหัวข้อการทำวิจัย 2. ทบทวนวรรณกรรมและจัดทำแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต 3. ประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้แนวทางการปฏิบัติที่ตรงกันและนำสู่การปฏิบัติในหน่วยงาน 4. เก็บข้อมูลการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตและอุบัติการณ์หลังดำเนินงาน 5. วิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปและอภิปรายผล 7. นำข้อเสนอแนะจากผู้ใช้แนวทางการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปรับปรุงแนวทางการพยาบาลสำหรับการผูกยึดผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดอุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง