ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาระบบการคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ
ผู้แต่ง : ปริมาพร เทพารส, ณัฐวรินทร์ โพธิไสย ,พิกุล ชื่นวัฒนา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาสาธารณสุข และเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและการตายในหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรค ความชุกของผู้ป่วยวัณโรคมีประมาณ 14 ล้านคน ในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8.8 ล้านคน และเสียชีวิตประมาณปีละ 1.7 ล้านคน องค์การอนามัยโลกได้จัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 และในปี พ.ศ.2555 คาดประมาณว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 86,000 รายต่อปีหรือคิดเป็นอุบัติการณ์ 124 ต่อแสนประชากร(สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2556) จากการศึกษาของ Muture et al.(2011) อำเภอกุฉินารายณ์ จัดเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลย้อนหลัง ๓ ปี พบว่า อัตราป่วยต่อแสนประชากรปี 2557, 2558และ 2559 เท่ากับ153.00,107.00 และ131.00ตามลำดับ มีอัตราความสำเร็จของการรักษา ร้อยละ 86.75, 90.38และ83.83 ตามลำดับ อัตราการเสียชีวิตเท่ากับ ร้อยละ9.64, 7.69 และ14.70 ตามลำดับ อัตราการขาดยา ร้อยละ3.61, 0 และ0 ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังพบว่า การคัดกรองกลุ่มสัมผัสร่วมบ้านยังไม่คลอบคลุมตั้งแต่ปี2557-2559 พบผู้ป่วยที่ป่วยในครอบครัวเดียวกันจำนวน 13 ครอบครัว 27 ราย คิดเป็น 6.9 % และเสียชีวิต 3 ราย จึงได้มีการพัฒนาระบบการคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อขึ้นเพื่อให้คัดกรองทุกคนให้คลอบคลุมในกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุและมีโรคร่วมเพื่อให้เข้ารับการรักษาได้เร็วและลดอัตราการเสียชีวิต  
วัตถุประสงค์ : 1.พัฒนาระบบการคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านผุ้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ 2.ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา 3. ลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรค  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านหลังเดียวกันกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อที่ขั้นทะเบียนรักษาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559ถึง 30 กันยายน 2560  
เครื่องมือ : 1. คู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคตามความซับซ้อน 2. ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค (TB 03 ) 3. ทะเบียนผู้สัมผัสร่วมบ้าน 4. สมุดประจำตัวผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะก่อนการดำเนินงาน 1. วิเคราะห์สถานการณ์ 2. วางแผนการดำเนินงาน 3. นำเสนอหัวหน้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระยะดำเนินงาน 1.จัดทำแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 2. จัดทำแนวทางการคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรคเสมหะติดเชื้อ 3. เสนอแนวทางการคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรคเสมหะติดเชื้อกับทีมที่เกี่ยวข้อง 4.เก็บข้อมูลผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรคเสมหะติดเชื้อที่มาคัดกรองวัณโรคตาม ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค (TB 03 ) ที่รักษาที่รพร.กุฉินารายณ์ ปี 2560 (1 ตุลาคม2559-30 กันยายน 2560) 5.วิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 7. คืนข้อมูลให้ทีมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง