ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่4-5ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ หลังเข้ารับฟังคำปรึกษาการบำบัดทดแทนไต
ผู้แต่ง : กันต์กนิษฐ์ ศิริโส, สุภาวดี ผาวงษา,วริษฐา คำสิงห์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 62.5 รายต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี และยังมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 156.56 รายต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษามีได้ 3 วิธี คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมาก แต่มีข้อจำกัดในเรื่องเครื่องฟอกเลือดที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมากถึง 2,200 ล้านบาทต่อปี2 ส่วนการปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดจากมีผู้บริจาคไตทั่วประเทศน้อย ดังนั้นผู้ป่วยที่เหลือจึงต้องทำการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ดีเนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน ปัจจุบันรัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศให้บริการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องเป็นวิธีแรกในการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และมีอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยและบางครอบครัวที่ไม่ตัดสินใจเลือกการรักษาด้านการบำบัดทดแทนไต คือ การรักษาแบบประคับประคองอาการ ซึ่งไม่ว่าเลือกการรักษาด้วยวิธีใดๆก็เป็นการตัดสินใจที่สำคัญของตัวผู้ป่วยและครอบครอบที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเองและตามสิทธิ์ที่มี ดังนั้นหน่วยงานจึงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเลือกตัดสินใจในการรักษาของผู้ป่วย เพื่อจะพัฒนาสมรรถนะด้านการให้คำปรึกษาด้านการบำบัดทดแทนไตของพยาบาล สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่4-5 ก่อนเข้าสู่ระยะท้ายสุดของโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ เข้าใจ และการเลือกตัดสินใจ ของผู้ป่วยและครอบครัว ก่อนเริ่มที่จะเลือกการรักษาบำบัดทดแทนไต การให้คำปรึกษานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวที่ดี ส่งเสริมสัมพันธภาพภายในครอบครัวให้มียอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Wai Kei Lo24 ได้ทำการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยจะไม่ยอมรับ และเกิดความกลัวการรักษา ซึ่งการให้คำปรึกษาก่อนการบำบัดทดแทนไตนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจ และรู้จักวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไต และให้สิทธิในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตด้วยตนเองให้เหมาะสมกับบริบทของตน ทำให้ผู้ป่วยมีความตั้งใจ และความพยายามในการที่จะฝึกหัดการดูแลตนเองไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษาวิธีใด โดยเฉพาะการล้างไตทางช่องท้อง เพื่อที่จะกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตัดสินใจในการรักษา 2.เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการให้คำปรึกษาของพยาบาล กลุ่มเป้าหมาย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่4-5 ในสิทธิ์หลักประกันสุขภาพ ที่เข้ารับฟังคำปรึกษาการบำบัดทดแทนไตในปี2560  
เครื่องมือ : 1.แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ประกอบด้วย ชื่อ-สกุล/เพศ/อายุ/สถานภาพ/ระดับการศึกษา/สิทธิการรักษา/ระดับค่าของเสียและอัตราการกรองของไต/โรคร่วม/สิ่งแวดล้อม คือ ห้องให้คำปรึกษา สื่อ จำนวนผู้ป่วย ผู้ดูแล และผู้ร่วมรับฟัง 2.แบบบันทึกการให้คำปรึกษาการบำบัดทดแทนไต จำนวนครั้งที่เข้ารับฟัง และผลการตัดสินใจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาการรักษาด้านบำบัดทดแทนไต 2.ประชุมทีมแพทย์และพยาบาลที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการให้คำปรึกษาการบำบัดทดแทนไตในกลุ่มผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ 3.ทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการรับฟังคำปรึกษาการบำบัดทดแทนไต 4.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักสถิติค่าร้อยละ เพื่อสรุปผลการวิจัย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง