ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : เอื้อบุญนาโก
ผู้แต่ง : ประมวล พันธุ์คุ้มเก่า ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากสถานการณ์ความรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่มีอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาด ทำร้ายร่างกายของคนในครอบครัว ทำร้ายผู้อื่น ทำลายทรัพย์สิน ชุมชนเดือดร้อน เนื่องจากขาดยา เสพสิ่งกระตุ้น เช่น ยาเสพติด ดื่มสุรา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอาการทางจิตมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัวและชุมชนตำบลนาโกก่อให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการดูแลในชุมชนมากที่สุด  
วัตถุประสงค์ : ๖.๑เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพจิตของชุมชนโดยชุมชน และเป็นการดำเนินงานสุขภาพจิตแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ๖.๒เพื่อเพิ่มศักยภาพคณะทำงานและเครือข่ายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชอย่างเป็นระบบ ๖.๓เพื่อให้คณะทำงานและเครือข่ายมีเทคนิคในการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรง ตลอดจนการลงมือปฏิบัติในแต่ละพื้นที่หมู่บ้านของตนเองอย่างถูกขั้นตอนและมีประสิทธิภาพ ร่วมกับภาคีเครือข่าย เมื่อเกิดเหตุรุนแรง ๖.๔เพื่อให้คณะทำงานและเครือข่ายได้นำกระบวนการเรียนรู้ การถอดบทเรียน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๖.๕เพื่อลดอัตราความรุนแรงต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลนาโกให้ลดลง ๖.๖เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพจิตระดับตำบลที่ขับเคลื่อนโดยประชาชนในพื้นที่ตำบลนาโกในนามกองทุนเอื้อบุญนาโก  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน จำนวน ๑๐คน  
เครื่องมือ : แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๙.๑ ประชุมชี้แจง คืนข้อมูลและให้ความรู้แก่คณะทำงานและเครือข่ายโดยใช้หลักการคืนข้อมูลสู่ชุมชน F 4 Model คือ Fact คือ คืนความจริง Feeling คือคืนความรู้สึกดึงความรู้สึกอยากช่วยเหลือ เห็นใจ ความรู้สึกเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยนทัศนคติเปลี่ยน Future คือต้องมีการคิดหาทางออกไว้ด้วย หลากหลายทางแล้วคืนไป Flexible คือต้องมีความยืดหยุ่น รับฟังทุกความคิดเห็นกระตุ้นให้ทุกคน มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นก่อน ๙.๒ คณะทำงานและเครือข่ายรับทราบข้อมูลและช่วยกันระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนตำบลนาโก ๙.๓ รับทราบแนวทางส่งตัวผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาเช่น ผู้ที่ติดสารเสพติด ต้องส่งตัวรักษาที่ รพ.ธัญลักษณ์ ขอนแก่น และผู้ป่วยที่อาการทางจิต ส่งรักษาที่ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จำนวน 7 คนและมีวัดเครือข่ายที่มีส่วนช่วยในการดูแลรักษาคือวัดพุทธคามนิคม อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 3 คน ๙.๔ คณะทำงานและเครือข่าย ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ การถอดบทเรียน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาร่วมกันและจัดตั้งกองทุนเอื้อบุญนาโกมีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเอื้อบุญ ได้จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ฐานะยากจน ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการในการช่วยเหลือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในวงเงินช่วยเหลือรายละ ๒,๐๐๐ บาทจำนวนผู้ป่วยที่ใช้เงินกองทุน ทั้งหมด 3 คน ๙.๕ ภาคีเครือข่ายมีการเฝ้าระวัง และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง