ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยบาดเจ็บตามโปรแกรม IS (Injury surveillance) win หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาสินธ์
ผู้แต่ง : จารุวรรณ ภารจรัส ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : IS (Injury surveillance) win เป็นโปรแกรมบันทึกข้อมูลการดูแลผู้บาดเจ็บ ที่บาดเจ็บจากสาเหตุภายนอกใดๆทุกรายที่เกิดเหตุบาดเจ็บภายใน 7 วัน ที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและรับไว้สังเกตอาการ/การรักษาและตายทั้งนอกและในโรงพยาบาล เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบบริการผู้บาดเจ็บและระบบส่งต่อ พัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการปรับปรุงระบบรักษาพยาบาลและพัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บให้เหมาะสมกับการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในระดับจังหวัดและระดับชาติ ในปีงบประมาณ 2559 งานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลนามน ได้รับการสะท้อนข้อมูลกลับจากสำนักงานสาธารณสุขกาฬสินธุ์ ว่ามีการลงบันทึกข้อมูล IS WIN จำนวนน้อย บันทึกไม่ครบถ้วนและไม่ทันเวลา หน่วยงานจึงได้มาทำการวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนาและแนวทางแก้ไขร่วมกัน พบว่าผู้รับผิดชอบลงบันทึกข้อมูลหลักมีจำนวนน้อยทำให้ลงบันทึกไม่ทัน และเจ้าหน้าที่อื่นยังไม่ทราบวิธีการลงบันทึก ดังนั้นเพื่อให้ การลงบันทึกข้อมูลครบถ้วน ทันเวลาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถลงบันทึกได้ทุกคน จึงได้มีการพัฒนาการลงการลงบันทึกข้อมูล IS win ส่งผลให้ข้อมูลครบถ้วนทันเวลามากขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. มีผู้รับผิดชอบหลักข้อมูลผู้บาดเจ็บจำนวน 2 คน 2. ผู้ป่วยบาดเจ็บได้รับการลงบันทึกข้อมูลครบถ้วน 3. ผู้ป่วยบาดเจ็บได้รับการลงข้อมูลทันเวลา 4. ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉินสามารถลงบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บตามโปรแกรมได้  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับผิดชอบหลักข้อมูลผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉิน  
เครื่องมือ : โปรแกรม IS (Injury surveillance) win  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1,วิเคราะห์สาเหตุและปัญหาการลงข้อมูลผู้บาดเจ็บตามโปรแกรม IS (Injury surveillance) win 2.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานห้องฉุกเฉินทั้งในและนอกเวลาเกี่ยวกับโปรแกรมการลงข้อมูลผู้ป่วยบาดเจ็บตามโปรแกรม IS(Injury surveillance) win 3. สอนการบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรม IS (Injury surveillance) win 4. เก็บตัวชี้วัด 5. ประเมินผล และนำปัญหาทั้งหมดมาวิเคราะห์ 6. จัดทำขั้นตอนการบันทึกตามโปรแกรม IS (Injury surveillance) winที่ชัดเจนเข้าใจง่าย 7. จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรม IS (Injury surveillance) winแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ 8. ให้ลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรม IS (Injury surveillance)win รายต่อราย เวรต่อเวร 9. เก็บรวบรวมตัวชี้วัด ในผู้ป่วยผู้บาดเจ็บทุกราย 10.ทบทวนกรณีที่มีปัญหาและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อนำมาสู่แนวทางแก้ไข 11. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินงานพบว่าผู้ป่วยบาดเจ็บได้รับการลงบันทึกข้อมูลครบถ้วนและทันเวลาจำนวน 2001 คนคิดเป็นร้อยละ 100 งานบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บมีผู้รับผิดชอบหลักจำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินสามารถลงบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บตามโปรแกรมได้ จำนวน 16 คน จากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ100 พบว่า ยังมีเจ้าหน้าที่ อีก 2 คน ขาดความชำนาญในการลงข้อมูลเนื่องจากไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานหลักทางผู้รับผิดชอบจึงได้ทบทวนและแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้รับผิดชอบหลักตรวจสอบความครบถ้วนของการลงบันทึกโปรแกรม IS (Injury surveillance) win ส่งผลให้การลงบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บครบถ้วนและทันเวลาคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สูงขึ้น  
ข้อเสนอแนะ : ทบทวนและแก้ไขปัญหาโดยให้ผู้รับผิดชอบหลักตรวจสอบความครบถ้วนของการลงบันทึกโปรแกรม IS (Injury surveillance) win เป็นประจำ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)