ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการระบบการขาดนัดของผู้ป่วยในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุจิตรา แดงบุญเรือง,คณะ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มี จำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งคลินิกความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลนามนพ.ศ.2560 มีผู้รับริการจำนวน 525 คน และจากข้อมูลในปีพ.ศ.2559 มีผู้ป่วยนัดมารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูง จำนวน 1,811 คน มีผู้ป่วยขาดนัดจำนวน 481 คน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ อีกทั้งผู้ป่วยขาดความตระหนักในการมาตรวจรับยาความดันตามนัดจึงส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ ของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อลดจำนวนการขาดนัดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 2. เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ขาดยา และเกิดภาวะแทรกซ้อน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาการที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้มารับบริการในคลินิกความดันโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2560 จำนวน 525 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่ขาดนัดในคลินิกความดันโลหิตสูง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560  
เครื่องมือ : 1. แฟ้มทะเบียนผู้ป่วย(เวชระเบียน) 2. ทะเบียนบันทึกการมารับบริการ 3. โปรแกรม Hosxp  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่คลินิกความดันโลหิตสูง ของแต่ละเดือน ที่ผู้ป่วยไม่มาตรวจตามนัดพ.ศ. 2559 เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ 2. ประชุมชี้แจงกับพยาบาลที่จุด S3 เพื่ออธิบายกับผู้ป่วยให้ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและให้คำแนะนำถึง วัน เวลาที่ แพทย์นัดพร้อมทั้งให้นำยาเก่ามาด้วยทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ปรับยา และเพื่อให้ยาพอดีกับวันที่แพทย์นัดครั้งต่อไป 3. กรณีนัดแล้วแต่ติดธุระ ให้โทรศัพท์ เลื่อนวันนัดได้(แต่ผู้ป่วยต้องไม่ขาดยา) 4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ให้ออกติดตามประเมินความดันโลหิตของผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัด หากBP≤140/90mmHg, ≥90/60mmHg ให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.โทรประสานงานกับพยาบาลประจำคลินิกความดันเพื่อนำยาไปให้ผู้ป่วยที่บ้านโดยรับยาจากรพ.สต.ไปก่อน พร้อมวันนัดครั้งต่อไป กรณี BP≥140/90mmHgให้เจ้าหน้าที่รพ.สต.แนะนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลทันที 5. กรณีเจ้าหน้าที่รพ.สต.ออกติดตามผู้ป่วยที่บ้านแล้วไม่พบผู้ป่วย ให้เจ้าหน้าที่ออกติดตามในวันถัดไปและแจ้งประสานกลับให้ทางรพ.ทราบด้วย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง