|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร การบำบัดเกษตรกรที่มีสารเคมีอันตรายตกค้างในกระแสเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยด้วยชาชงสมุนไพรรางจืดเปรียบเทียบกับชาชงสมุนไพรย่านางแดง |
ผู้แต่ง : |
ปุณณดา ภูพันนา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันประชากรในพื้นที่อำเภอนามน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก โดยเฉพาะการปลูกข้าว อ้อย มันสำประหลัง ยางพาราและการปลูกพืชระยะสั้น ซึ่งในการเพาะปลูกแต่ละครั้งเกษตรกรจะมุ่งหวังผลไปที่จำนวนของผลผลิต ทำให้มีการใช้สารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชมาใช้อย่างแพร่หลาย จนลืมคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบกับในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการเกษตรซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้ ซึ่งผลกระทบจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร โดยไม่ถูกวิธีและขาดการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดโรคสารเคมีตกค้างในเลือด ซึ่งสารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัส จะเข้าทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ และเมื่อสารเคมีเข้าสู่สิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม สำหรับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะมีทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยเมื่อรับพิษเข้าไปแล้วจะมีผลต่อระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย มึนงง ชักหมดสติ หากช่วยไม่ทันก็จะทำให้เสียชีวิตได้
จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มเกษตรกรในปีที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลหนองบัว มีเกษตรกรที่ไม่ปลอดภัย คือ มีแนวโน้มเกิดพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชสูงมากขึ้น ร้อยละ 46.11 มีความเสี่ยงคือ มีแนวโน้มเกิดพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช ถึงร้อยละ 47.08 และมีความปลอดภัยเพียง ร้อยละ 4.36 จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้มองเห็นสภาพปัญหาความเสี่ยงและการได้รับอันตรายที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีเพื่อการเกษตร เนื่องจากปัจจุบันเกษตรมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ปริมาณและความเข้มข้นค่อนข้างสูงและใช้อย่างไม่ถูกวิธีในการเพาะปลูก ประกอบกับการควบคุมการจำหน่ายสารเคมีเพื่อการเกษตรไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกษตรกรมักจะใช้สารเคมีชนิดแบ่งขาย ไม่ทราบแหล่งผลิตเพราะมีราคาถูก หาซื้อง่ายและมีฤทธิ์ในการกำจัดค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย และรุนแรงขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงเล็งเห็นความสำคัญและอันตรายจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร จึงอยากจัดทำโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร การบำบัดเกษตรกรที่มีสารเคมีอันตรายตกค้างในกระแสเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยด้วยชาชงสมุนไพรรางจืดเปรียบเทียบกับชาชงสมุนไพรย่านางแดงเพื่อให้ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด และเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดอันตรายจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร และการบำบัดแก่เกษตรกรที่มีสารเคมีอันตรายตกค้างในกระแสเลือดในระดับไม่ปลอดภัย ด้วยชาชงสมุนไพรรางจืดเปรียบเทียบกับชาชงสมุนไพรย่านางแดง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น ซึ่งจะทำให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถควบคุมป้องกันการใช้สารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีในเลือดผ่านเกณฑ์ปกติและปลอดภัย
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 192 คนซึ่งจะนำมาบำบัดตามโครงการในการเฝ้าระวังในปี งบประมาณ 2560 |
|
เครื่องมือ : |
1. แบบวัดพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอเรส |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1 . จัดอบรมให้ความรู้เพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบำบัดด้วยชาชงรางจืดและชาชงสมุนไพรย่านางแดง
2. ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
3. สรุป วิเคราะห์ อภิปลายผล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|