ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบมีส่วนร่วม อำเภอนามน จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุดาทิพย์ ศรีจันทร์เติม ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันโลกของเรามีผู้ป่วยสมองเสื่อมมากกว่า 30 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของทุก 20 ปี โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะเรื้อรังที่ซับซ้อนที่วิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบันยังมีความเข้าใจพยาธิสภาพของโรคเพียงขั้นต้นเท่านั้น จึงต้องพัฒนาทีมผู้ดูแลแบบสหวิชาชีพในการตั้งรับปัญหาทั้งในด้านการรู้คิด(cognition)ในด้านอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามระยะของโรคที่ที่เสื่อมลงตามกาลเวลา ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 หรือ 7.0 ล้านคน เป็นร้อยละ11.7 หรือ 7.5 ล้านคน ในปี 2553และร้อยละ 20.0 หรือ 14.5 ล้านคนในปี 2568 (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง , 2556 ) ทำให้ก้าวสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างรวดเร็วและมีระยะเวลาที่สั้นในการเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุทั้งในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และจากนิยามประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 หรือ อายุ 65 ปี ขึ้นไปร้อยละ7 ของจำนวนประขากรทั้งหมดของประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อสัดส่วนประชากร อายุ 60 ปี ขึ้นไปเพิ่มเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65ปี ขึ้นไปเพิ่มเป็นร้อยละ 14 (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง , 2556 ) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๙ มีประชากรรวมทั้งสิ้น ๙๑๔,๒๗๐ คน โดยเป็นประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปอาศัยอยู่จริง จำนวน ๑๑๘,๓๐๔ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๙๔ จะเห็นได้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และคาดว่าประชากรผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสังคมสุดยอดผู้สูงอายุในอีก ๑๐ กว่าปีข้างหน้า ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพทางร่างกาย ร่วมกับภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น และมีความต้องการใช้บริการด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ผลจากความเจ็บป่วยยังทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกด้วย จากรายงานการคัดกรอง ประเมินผู้สูงอายุปี ๒๕๕๙ พบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเบาหวานร้อยละ ๑๔.๖๖ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๑๒.๑๔ โรคหลอดเลือดสมอง ๐.๖๖ ภาวะซึมเศร้า ๑.๓๓ ข้อเข่าเสื่อม ๗.๙๑ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ร้อยละ ๓๘.๗๖ จากการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี ๒๕๕๙(ตุลาคม๒๕๕๘-มีนาคม๒๕๕๙) จำนวนผู้สูงอายุจากรายงานสถานบริการสาธารณสุขทั้งหมด ๑๑๘,๓๐๔คนได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL) จำนวน ๑๐๖,๓๔๑คนคิดเป็นร้อยละ๘๙.๘๘ มีผู้สูงอายุประเภทติดสังคม ร้อยละ ๙๒.๘๘ ประเภทติดบ้านร้อยละ ๖.๒๔ และประเภทติดเตียง ร้อยละ ๐.๘๘ (ที่มา: แบบรายงานการคัดกรอง/ประเมิน/จำแนกสถานะสุขภาพประชากรกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ของสถานบริการสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙) อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 39,715 คน มีจำนวนผู้สูงอายุ 3,962 คน คิดเป็นร้อยละ 9.97 และมีจำนวนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 2ม684 คน คิดเป็นร้อยละ6.75 มีควาสอดคล้องกับสัดส่วนการเพิ่มประชากรสูงอายุของประเทศและจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน คปสอ.นามน จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุที่ต้องการการเข้าถึงบริการและการจัดบริการอย่างเข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕60ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบมีส่วนร่วม  
กลุ่มเป้าหมาย : อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 50  
เครื่องมือ : 1. แบบประเมินสมองเสื่อม Thai MMSE 2002 2. แบบสอบถาม 3. แบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ประชุมกลุ่มเพื่อการใช้เครื่องมือและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การใช้เครื่องในการสำรวจและค้นหาผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะที่ 3 การใช้กระบวนการ ความสุข 5 มิติในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง