|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ดูแลมารดาหลังคลอดแบบวิถีไทย |
ผู้แต่ง : |
กานต์สินี,ชุ่มเรืองศรี |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine ) เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทยในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายในจิตใจ
กระทรวงสาธารณสุขมีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มแรกโดยการนำสมุนไพรมาใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน มุ่งหวังให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ได้ระบุไว้ว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี จะต้องให้การส่งเสริมให้มีการดำเนินการพัฒนาภูมิปัญญาทางด้านการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน เช่น การแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการนวด ประสานเข้ากับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลก็มีการสนับสนุนให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เข้ากับระบบบริการสาธารณสุขอย่างเหมาะสม และแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ก็เน้นการสนับสนุนศักยภาพทางภูมิปัญญาไทยสู่สากล จนปัจจุบันมีการนำการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบการบริการสาธารณสุขของรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทย ที่มีคุณภาพและปลอดภัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกศรี ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวและได้ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยโดยให้บริการนวดคลายเครียด นวดรักษาโรค นวดฝ่าเท้า ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร และให้บริการทับหม้อเกลือกับหญิงหลังคลอด เพื่อให้มารดาหลังคลอดและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบวิถีไทย เป็นการนำหลักการแพทย์แบบพื้นบ้านกลับมาใช้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง ลดอาการคัดตึงเต้านม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต มดลูกหดรัดตัวดีและเข้าอู่เร็วขึ้น น้ำคาวปลาแห้งเร็ว และยังช่วยให้มารดาหลังคลอด สดชื่น สุขสบายมากขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อส่งเสริมให้ มารดาหลังคลอด ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบวิถีไทย
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการให้บริการด้านแพทย์แผนไทย
3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบวิถีไทยพื้นบ้าน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
มารดาหลังคลอดในเขตตำบลอุ่มเม่า จำนวน 24 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินผลโครงการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้แพทย์พื้นบ้านวิถีไทย ให้กับหญิงมีครรภ์
2. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่กลุ่มแพทย์แผนไทยในการดูแลมารดาหลังคลอด
3. ทับหม้อเกลือให้กับมารดาหลังคลอดในเขตตำบลอุ่มเม่า
กิจกรรมกลุ่มในการทับหม้อเกลือ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในการทับหม้อเกลือ ประโยชน์ ข้อห้ามและข้อควรระวัง และการดูแลหลังคลอดแบบวิถีไทย รวมถึงสมุนไพรบำรุงน้ำนม
- นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับมารดาหลังคลอด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น
-โกยท้อง แล้วทำการทับหม้อเกลือบริเวณท้อง เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิทมากขึ้น ทำให้น้ำคาวปลาไหลดี ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับและหน้าท้องยุบได้เร็ว
- ประคบสมุนไพรบริเวณรอบเต้านม เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม ลดอาการคัดตึงบริเวณเต้านม
- ประคบสมุนไพรตามร่างกาย
- นัดอบสมุนไพร ที่สุขศาลา หรือ รพ.สต.
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหลังคลอดของมารดาและทารก
-มอบสมุนไพรบำรุงน้ำนม
4.ประเมินผลโครงการ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|