ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการให้สุขศึกษาเรื่องเพศศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : พิชญ์จิลักษณ์ เค้าแคน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิวัฒนาการใหม่ๆ การเข้าถึงสื่อต่าง ๆ มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาวะของประชาชนทุกวัย วัยรุ่นเป็นกลุ่มหนึ่งที ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เนืองจากวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากเรียนรู้ อยากลองสิ่งใหม่ๆ แต่ยังขาดประสบการณ์ในการดำรงชีวิต จึงไม่ตระหนักต่อ ผลเสียที่ เกิดจากการกระทำที่ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การเลียนแบบผู้มีชื่อเสียงในสังคม การทำตามกลุ่มเพื่อน ทำให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมั่วสุมทางเพศ ทั้งนี้เนืองจาก วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความต้องการและแรงขับทางเพศสูง จึงก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์เร็วในช่วงวัยรุ่น ซึ่งในปัจจุบันสภาวะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือ “แม่วัยใส” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และเด็กหญิงที่ตั้งครรภ์มีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากรายงานสถิติสุขภาพโลกขององค์การอนามัยโลก พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอยู่ในลำดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีอัตราการคลอดบุตรจานวน 47 คน ต่อผู้หญิงในรุ่นอายุเดียวกันหนึ่งพันคน (World Health Organization 2013) ประกอบกับข้อมูลของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้ระบุว่า จานวนการคลอดบุตรในผู้หญิงไทยอายุ 10 - 19 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2543 (โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภา, 2556) ข้อมูลดังกล่าวสามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงในด้านการตั้ง ครรภ์ในวัยรุ่นของไทยได้อย่างชัดเจน อีกทั้ง ความรุนแรงของปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทยยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากข้อมูลของกรมอนามัย พบว่า การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2552 และพบว่าอายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้ง แรกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยรายงานสถานการณ์การมีบุตรของวัยรุ่น วิเคราะห์จาก 5 ปีย้อนหลัง พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง(การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น;วารสารประชากร,2559) ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่นและในปี 2558 พบว่าในกลุ่มมารดาอายุ 15 – 19 ปี มีจำนวน 101,301 คน (อัตราต่อ 1,000 คน เท่ากับ 44.8) หากพิจารณารายภูมิภาคพบว่า อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15 – 19ปี ในปี 2558 พบมากที่สุดในภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อจังหวัด พบว่า แทบทุกจังหวัดมีอัตรา มารดาวัยรุ่นเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ WHO กำหนด โดยจังหวัดที่มีอัตราการคลอดบุตรของมารดาวัยรุ่นสูงสุดถึงร้อยละ 66.80 และมีเพียง 1 จังหวัดเท่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ(สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์,2559) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลากหลายประการทั้งปัญหาต่อตัววัยรุ่นเองและปัญหาสังคมโดยรวม อาทิ ปัญหาการท่าแท้งเถื่อน ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาการทอดทิ้งบุตร ปัญหาเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือพิการ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในการดูแลเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาของชุมชน และปัญหาทางวัฒนธรรมประเพณีอย่างมีพลวัตร จากการสำรวจข้อมูลการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของจังหวัดกาฬสินธุ์พบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์อายุ 15 – 19 ปี จำนวน 1,405 คน (อัตราต่อ 1,000 คน เท่ากับ 42.5) การจะให้วัยรุ่นหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ วัยรุ่นจะต้องรับรู้คุณค่า และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องอาศัยความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการมีค่านิยมที่ดี ในชีวิตซึ่งส่งผลให้บุคคลสามารถควบคุมและเสริมสร้างสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น ดังนั้นการที่บุคคลมีความรู้หรือทัศนคติในการปฏิบัติตัวทางเพศที่ไม่ถูกต้อง ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่น จะช่วยลดการตั้งครรภ์ และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสำรวจ ทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ของวัยรุ่นตำบลหนองตอกแป้น ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรด้านสุขภาพรับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากในอนาคตเด็กวัยเรียนกลุ่มนี้จะต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา และในไปปฏิบัติอย่างถูกต้องใน ช่วงที่ก้าวเข้าสู่ วัยรุ่น และเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศแก่วัยรุ่นให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้การรณรงค์สร้างกระแสสนับสนุนให้ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ส่งต่อ ปรับทัศนคติ สร้างความตระหนักค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสมและดำเนินโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
วัตถุประสงค์ : 1. ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้สุขศึกษาก่อนและหลัง การให้สุขศึกษาเรื่องเพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนที่ศึกษาอยู่ใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนใน เขตพื้นที่ตำบลหนองตอกแป้น ชาย หญิง จำนวน 61 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์ที่มีเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล เป็นคำถามปลายปิดให้เลือดตอบ ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพบิดามารดา ปัจจุบันพักอยู่กับ สถานภาพ ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราประเมินค่า (Rating scale) กำหนดให้เลือกตอบได้ 4 ตัวเลือก คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นการดำเนินงาน 1. ขั้นตอนการเตรียมการ 1. ผู้วิจัยได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดาเนินกิจกรรมและการเก็บรวบรวมข้อมูลแก่ทีมวิจัย 2. ทำหนังสือแจ้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากนั้นชี้แจงกับ ผู้อำนวยการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านสุขศึกษาของโรงเรียน 3. ดำเนินกิจกรรมและรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.1.ผู้วิจัยเตรียมแบบทดสอบก่อนการดำเนินกิจกรรม คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่น และแบบสอบถามเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ให้กับกลุ่มตัวอย่าง 3.2.ดำเนินกิจกรรม 1. ผู้วิจัยแนะนำตนเองแจ้งวัตถุประสงค์ของการมาทำกิจกรรมและกล่าวถึงสิทธิของ นักเรียนในการที่มีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมได้ 2. ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามก่อนการให้สุขศึกษาเรื่องเพศศึกษากับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 3. ผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อลดช่องว่างระหว่างคณะผู้วิจัยกับนักเรียน และ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน 4. ผู้วิจัยให้บริการวิชาการเพศศึกษาโดย เปิดหนังสั้นเรื่องทางเลือกซึ่งเป็นหนังสั้นของ กรมอนามัยที่ได้จัดทำเพื่อให้ความรู้และแง่คิดกับวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และให้กลุ่มตัวอย่างฝึกการการคิดอย่างเป็นระบบ 5. ผู้วิจัย แบ่งกลุ่ม ตัวอย่าง วิเคราะห์กรณีศึกษาเป็น 5 กลุ่มๆละ 12-13 คน โดยมี คณะผู้วิจัยเข้าประจำกลุ่ม 6. นำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษากับกลุ่มใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7. ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์และให้กลุ่มตัวอย่างซักถามข้อสงสัย 8. ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นหลังการให้บริการวิชาการเพศศึกษา 9. เมื่อเสร็จสิ้นการรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 61 ฉบับ นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติต่อไป  
     
ผลการศึกษา : อภิปรายผล 1.. ข้อมูลทั่วไปของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่กาลังศึกษาในระดับมัธยมต้นมีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง พักอาศัยอยู่กับบิดาและมารดาของตนเอง แตกต่างจากการศึกษาของนิติยา อิธิเสน (2551) ที่ศึกษา ทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนครที่มีต่อพฤติกรรรมการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสในระหว่างศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและพักอาศัยอยู่ในหอพักเป็นส่วนใหญ่ สถานภาพบิดามารดาส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน ร้อยละ 60.7 แต่มีบ้างส่วนที่ แยกกันอยู่ ร้อยละ 27.9 ทำให้นักเรียนจะต้องพักอาศัยออยู่กับ ญาติ เช่น ตา ยาย ลุง น้า ป้า สถานภาพนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีคู่รัก 2. ทัศนคติเกี่ยวกับมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการศึกษาพบว่าก่อนและหลังความรู้เรื่องเพศศึกษาวัยเรียน มีทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับการศึกษาของเจษฎา สุระแสง (2550) และหลังให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาวัยเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับดี และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับการศึกษาของศีรสัจจา เปาจีน (2550) ที่ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่าวัยรุ่นที่ได้รับการอบรมสั่งสอนเรื่องเพศจากผู้ปกครองมากจะทาให้วัยรุ่ยมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน โดยทัศนคติการศึกษาครั้งนี้พบว่าวัยเรียนมีทัศนคติเชิงลบที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติทุกข้อโดยข้อที่ที่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ข้อ เมื่อประสบกับปัญหาจะปรึกษาเพื่อนมากกว่าปรึกษาพ่อแม่ รองลงมาคือ เมื่อมีปัญหาในการคบเพื่อนต่างเพศจะปรึกษาเพื่อนเป็นอันดับแรกและทัศนคติต่ำสุดคือ การเลียนแบบพฤติกรรมจาก ดารา นักร้องหรือผู้ที่ชื่นชอบเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ อาจเป็นเพราะวัยเรียนมีการเข้าถึงสื่อต่างๆ และเป็นวัยที่มีการเลียนแบบจึงควรต้องเฝ้าระวังต่อไป และทัศนคติเชิงบวกมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติทุกข้อโดยข้อที่ที่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ วัยรุ่นควรรักตนเอง มองเห็นคุณค่าของตนเอง ให้มาก ถ้าหากมีเรื่องหรือปัญหาควรปรึกษาบิดา – มารดาหรือผู้ปกครองเป็นดีที่สุด รองลงมาคือ สื่อทาง Internet เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงข้อมูล ภาพอนาจารได้ง่ายมากกว่าสื่ออื่น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัยเรียนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยจากการเทียบเคียงกับผลการศึกษาของบุญยิ่ง มานะบริบูรณ์ (2549) พบว่านักเรียนจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงถ้ามีแนวคิดให้ความสำคัญต่อการมีเพศสัมพันธ์ คิดว่าตนเองไม่มีสิทธิในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดให้มีการรักนวล สงวนตัว และไม่เห็นความสำคัญในการเรียนเพศศึกษา กลุ่มที่มีแนวความคิดตรงข้ามจัดให้อยู่กลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย  
ข้อเสนอแนะ : 1. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา - ควรให้ความรู้เรื่องเพศศึกษากับวัยรุ่นอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งผู้ปกครอง สถานศึกษา - ควรมีการเฝ้าระวังวัยรุ่นกลุ่มที่มีการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเป็นประจำ เนื่องจากเป็นสื่อที่ให้ทั้งคุณประโยชน์ถ้าวัยรุ่นเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเรื่องภัยทางเพศ และเป็นโทษมหันต์ถ้าวัยรุ่นเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่นาไปสู่การล่อลวงทางเพศ 2. ข้อเสนอเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป การศึกษาครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาเพิ่มเติม โดยการศึกษาเชิงคุณภาพ อาทิเช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นต้น และการหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)