ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ (Factors associated with poor control of diabetes mellitus)
ผู้แต่ง : วรารัตน์, ปาจรียานนท์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ไต ตาแหละการมองเห็น ระบบประสาท แผลเรื้อรัง ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำตาลสูงภาวะน้ำตาลต่ำ ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ ของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ การดูแลรักษาเป็นไปเพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษา เพื่อที่จะปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ตัวผู้ป่วยเองจะต้องได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอเกี่ยวกับตัวโรค การดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนและสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพดี ไม่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในปี 2010 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานในช่วงอายุ 20 - 79 ปี ทั้งสิ้น ประมาณ 285 ล้านคน คิดเป็น 6.4 % โดยที่ 90 % เป็นเบาหวานชนิดที่สอง ประมาณการว่าในปี 2030 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มเป็น 439 ล้านคนคิดเป็น 7.7 %(1) ในปี 2013สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) ได้ประมาณการว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๓๘๒ ล้านคนทั่วโลก(2) สถิติเบาหวานทั่วโลก ปี 2558 เบาหวาน 415 ล้านคนทำนาย ปี 2588 เบาหวาน 642 ล้านคน1 ใน 11 คน เป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว ทุก 6วินาที มีคนตายจากเบาหวาน(3) สำหรับประเทศไทย รายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 – 2552 พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ6.9หรือ 3,185,639 คน โดยผู้หญิงมีความชุกสูงกว่าในผู้ชาย พบร้อยละ 7.7 และ 6 ตามลำดับ และความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุ จากร้อยละ 0.6 ในกลุ่มอายุ 15-29 ปี ความชุกสูงสุดพบในกลุ่มอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 16.7(4) ในเขตอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ พบความชุกของโรคเบาหวานร้อยละ 5.98 หรือ 6,806 คน ในเวชปฏิบัติการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษาเพื่อที่จะปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนนั้นทำได้ยากเนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อน ในต่างประเทศพบว่าความชุกภาวะเบาหวานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือควบคุมไม่ได้ อยู่ระหว่าง ร้อยละ 59 - 78.2(5)(6)(7)(8)(9) ในประเทศไทย การศึกษา DM/HT ในโรงพยาบาล 602 แห่งจาก 76 จังหวัด ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 ระดับHA1C น้อยกว่า 7% พบร้อยละ 45 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกรุงเทพฯ ร้อยละ 23 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 38 ในภาคเหนือ(10)ซึ่งปัจจัยที่อธิบายความแตกต่างคือผู้ป่วยในกรุงเทพฯมีฐานะและการศึกษาดีกว่าผู้ป่วยต่างจังหวัด เป็นต้น อำเภอยางตลาดมีผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ HA1C น้อยกว่า 7% คิดเป็นร้อยละ 39.54ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จากการศึกษาปัญหาความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า แนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อนมีถึงร้อยละ 81.98 ถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และ ผู้ป่วยส่วนมากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(11) ดังนั้นหากมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี มีการดูแลตนเองที่เหมาะสม ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ สภาวะอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับตัวโรคได้อย่างเหมาะสมจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานลดอัตราการตายและการพิการก่อนวัยอันควรได้รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทั้งของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติโดยเกือบครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกิดจากการรักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาล(12)จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานหมายถึงภาระที่ต้องแบกรับในการดูแลไปตลอดชีวิตส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวซึ่งอาจมีมากกว่าค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการรักษาและจากการสูญเสียรายได้เพราะการมีชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานซึ่งไม่หายขาด ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ถ้าหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาการที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น อ่อนเพลีย ติดเชื้อ หรืออาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ใจสั่น อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น อาจนำมาซึ่งความเครียดและอาจนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ ดั้งนั้นการเอาใจใส่ดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ การให้กำลังใจที่ดีของคนรอบข้างจึงมีส่วนสำคัญต่อผู้ป่วยเบาหวานในการที่จะดูแลตัวเองเพื่อที่จะควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีที่สุดประกอบกับการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งเกี่ยวกับตัวโรคและการรักษาจึงจะสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวดีส่งผลดีต่อประเทศชาติต่อไป การหาสาเหตุหรือปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและนำไปสู่การดำเนินการดูแลรักษาเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลได้ตรงตามเป้าหมายเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนรวมไปถึงลดการพิการทุพพลภาพและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์หลัก 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขา สอง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์และอาศัยอยู่ในเขตตำบล อุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง วัตถุประสงค์รอง 1. เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขา สองอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์และอาศัยอยู่ในเขตตำบล อุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง 2. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอาศัยอยู่ในเขตตำบล อุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี) อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอาศัยอยู่ในเขตตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง เกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา(Inclusion criteria) 1.ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแพทย์ โดยที่มี HA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 9 percent เป็นกลุ่มประชากรศึกษาและ HA1C น้อยกว่า 9 เป็นกลุ่มประชากรควบคุม 2. ติดตามการรักษาประจำที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขา สอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี)เป็นประจำและอาศัยอยู่ในชุมชนตำบล อุ่มเม่าซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลยางตลาดสาขา สอง (รพ.สต.บ้านโคกศรี) 3. เป็นผู้ที่ระดับการรู้สึกตัวดี และสามารถสื่อสารและตอบโต้ได้ 4. มีอาการคงที่ไม่รุนแรงหรือคุกคามต่อชีวิต 5. มีความสมัครใจและยินดีให้สัมภาษณ์และเก็บข้อมูล เกณฑ์ในการคัดออกจากการศึกษา(Exclusion criteria) 1. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นครั้งแรก และผลการตรวจ HA1C อยู่ในช่วงสามเดือนแรกก่อนที่ได้เริ่มการรักษา 2. ไม่สามารถสื่อสารและตอบโต้ได้ 3. มีอาการหูแว่วประสาทหลอนหรือรับประทาน Antipsychotic drug อยู่ 4. ไม่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัยหรือไม่สมัครใจตอบแบบสัมภาษณ วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้สำรวจจำนวนประชากรโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี)อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบล อุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง จากทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน และ HOSxP ได้จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 318 คน -คัดเลือกผ่าน Inclusion และ Exclusion criteria รวมได้จำนวน 316 คน - จากการทำ pilot study โดยการสุ่มตัวอย่างตาม exclusion criteria และ inclusion criteria จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มประชากรศึกษา 10 ราย เป็นกลุ่มประชากรควบคุม 20 ราย -ใช้โปรแกรม n4Studies คำนวณกลุ่มตัวอย่างงานวิจัย case-control study จากทุกปัจจัยที่ต้องการศึกษาได้ประชากรศึกษาทั้งหมด 201 คน เป็นกลุ่มประชากรศึกษา 67 ราย เป็นกลุ่มประชากรควบคุม 134 ราย -สุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Simple random sampling โดยการจับฉลากจากรายชื่อผู้ป่วยเบาหวาน 316 ราย สุ่มเหลือ 201 ราย  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์บันทึกข้อมูลของผู้ป่วยประกอบด้วย เพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวนยาโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เป็นประจำ ประวัติเคยมีภาวะน้ำตาลต่ำวิกฤติ(hypoglycemic coma) ชนิดของยาเบาหวานที่ใช้ในการรักษา การมีโรคเรื้อรังอื่นๆร่วมด้วยรวมถึงโรคที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การมีความคิดว่ายาเบาหวานที่ใช้อยู่ประจำทำให้ไตวาย การลืมรับประทานหรือฉีดยาเบาหวานมากกว่า 3 ครั้ง/เดือน ตั้งใจปรับยาเบาหวานเองนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง การมีภาวะซึมเศร้า โดยการประเมินด้วย 2Q และ 9Q  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวนยาโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เป็นประจำ ประวัติเคยมีภาวะน้ำตาลต่ำวิกฤติ(hypoglycemic coma) ชนิดของยาเบาหวานที่ใช้ในการรักษา การมีโรคเรื้อรังอื่นๆร่วมด้วย(รวมถึงโรคที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน) การมีความคิดว่ายาเบาหวานที่ใช้อยู่ประจำทำให้ไตวาย การลืมรับประทานหรือฉีดยาเบาหวานมากกว่า 3 ครั้ง/เดือน ตั้งใจปรับยาเบาหวานเองนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง การมีภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี)อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอาศัยอยู่ในเขตตำบล อุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบและเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2559 - ธันวาคม 2559 โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.) ก่อนเริ่มทำการศึกษา ผู้วิจัยได้เสนอโครงการวิจัย เพื่อขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดกาฬสินธุ์และเมื่อผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการแล้วจึงดำเนินการเก็บข้อมูล 2.) ผู้วิจัย ดำเนินการขอหนังสือ ขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลจากทาง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยางตลาดและโรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี)อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัย โดยแจ้งวัตถุประสงค์ของการศึกษา และขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล และขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยมีการแจ้งผู้ป่วยและขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการสัมภาษณ์ทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยอนุญาตเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีการประเมินผู้ป่วยว่าอยู่ในสภาวะที่พร้อมหรือไม่ เพื่อเป็นการระมัดระวังข้อมูลก่อนสัมภาษณ์ 3.) ผู้วิจัยดำเนินการคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง (รพ.สต.บ้านโคกศรี)อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยทำการคัดเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติและวิธีการที่กำหนด 4.) ผู้วิจัยติดต่อเชิญผู้เข้าร่วมการวิจัยมาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขาสอง(รพ.สต.บ้านโคกศรี)อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างสัมพันธภาพ โดยผู้วิจัยแนะนำตัวกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ขอความร่วมมือในการให้คำสัมภาษณ์ อธิบายให้กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาทราบ และเข้าใจว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ที่จะเข้าร่วม หรือไม่เข้าร่วมการวิจัยก็ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้ครั้งนี้จะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และนำมาใช้ประโยชน์เฉพาะงานวิจัยชิ้นนี้เท่านั้น เมื่อกลุ่มตัวอย่างยินดี ให้ความร่วมมือ โดยการเซ็นยินยอมในใบยินยอมแล้ว จึงทำการเก็บข้อมูล 5.) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ศึกษา โดยทำการสัมภาษณ์ตามเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ในระหว่างในการสัมภาษณ์นั้น ผู้วิจัยเปิดโอกาสให้ผู้ข้าร่วมการวิจัย ตอบอย่างเป็นอิสระ ไม่ชี้นำคำตอบให้กับผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง