|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อดิเรก คำสียา,สุเทพ ภูนาเหนือ,อรดี วงศ์พินิจ,วีณา จำเริญบุญ,อาจารี มัยคุณอุปถัมภ์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นบเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปบทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลก พ.ศ. 2555 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ 63.0 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบ(สถาบันการวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. 2556)
สำหรับประเทศไทย รายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551i-i2552 พบอัตราความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนและมีผู้ที่ได้ รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา คิดเป็นร้อยละ 3.3 สถิติจากประเทศต่าง ๆพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้มีประมาณร้อยละ[20i-i70 (สถาบันการวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2556)
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานของอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามรายงานการเฝ้าระ
วังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลยางตลาด พบว่าในiพ.ศ. 2554 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 4,465 คนiประชากรทั้งหมด 70,320iคน อัตราความชุก 634.9iต่อหมื่นประชากรiพ.ศ. 2555iมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 5,060iคน ประชากรทั้งหมด 72,200iคน อัตราความชุก 700.8iต่อหมื่นประชากรiพ.ศ.i2556 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 5,168 คน ประชากรทั้งหมด 72,125 คน อัตราความชุก 716.5 ต่อหมื่นประชากร จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในiพ.ศ. 2554i-i2556 เพิ่มสูงขึ้น (โรงพยาบาลยางตลาด. 2556)
iโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อปีพ.ศ. 2556 ได้ขึ้นทะเบียนมารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง เครือข่ายหน่วยแพทย์เคลื่อนที่โรงพยาบาลยางตลาด มีจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มโรคเบาหวานในiพ.ศ. 2554 จำนวน 96 คน ประชากรทั้งหมด 7,280 คน อัตราความชุก 13.2 ต่อพันประชากร เสียชีวิต 2 คน อัตราการตาย 0.3 ต่อพันประชากรiพ.ศ.i2555 จำนวน 122 คนประชากรทั้งหมด 7,299 คน อัตราความชุก 16.2 ต่อพันประชากร เสียชีวิต 5 คน อัตราการตาย 0.7 ต่อพันประชากร พ.ศ. 2556 จำนวน 130 คน ประชากรทั้งหมด 7,309 คน อัตราความชุก 17.8 ต่อพันประชากร เสียชีวิต 4 คน อัตราการตาย 0.6 ต่อพันประชากร (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี. 2556) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องความรู้ และการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เครือข่ายโรงพยาบาลยางตลาด ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเน้นให้ทางคลินิกโรคเบาหวานหรือโรคเรื้อรัง และทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสีให้ความสำคัญในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมากขึ้น และแนะนำการดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้ป่วยในส่วนที่ยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้องเพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนการเกิดโรคเบาหวานและเพื่อให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วมีความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง และเหมาะสมได้
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1.เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของผู้โรคป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
2.เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
3.เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เครือข่ายโรงพยาบาลยางตลาด ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 130 คน |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ศึกษาสร้างจากการศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและค้นจากหนังสือความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์ (เทพ หิมะทองคำ และคณะ. 2554) นำมาเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ ในการศึกษาแบบสัมภาษณ์มีเนื้อหาดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากร ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน วิธีการรักษาโรคเบาหวาน รับยารักษาที่ เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรค ระดับน้ำตาลในเลือดครั้งล่าสุด ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน จำนวน 12 ข้อ
ส่วนที่ 2 ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ประกอบด้วย สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 6 ข้ออาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน จำนวน 6 ข้อ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ จำนวน 6 ข้อการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ การใช้ยา จำนวน 6 ข้อ และภาวะแทรกซ้อน จำนวน 5 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นคำถามปลายปิด 2 ตัวเลือก ใช่หรือไม่ใช่รวมทั้งหมด 35 ข้อ
ส่วนที่ 3 การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วย การควบคุมอาหารจำนวน 5 ข้อ การออกกำลังกาย จำนวน 5 ข้อ การใช้ยา จำนวน 5 ข้อ การดูแลรักษาเท้าของตนเองจำนวน 5 ข้อ และการผ่อนคลายความเครียด จำนวน 6 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นคำถามปลายปิด 3 ตัวเลือก ปฏิบัติประจำ ปฏิบัติบางครั้ง และไม่เคยปฏิบัติเลย รวมทั้งหมด 26 ข้อ
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ แบ่งเป็น 5 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 รูปแบบการวิจัย
ส่วนที่ 2 ประชากรที่ศึกษา
ส่วนที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ส่วนที่ 4 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ส่วนที่ 5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ส่วนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|