ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560
ผู้แต่ง : นางสาวนฤมล บุษมงคล ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือค่านิยม และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันประชาชนในท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ที่สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งอาหารการกินดำเนินไปสู่ยุค การบริโภคอาหารจานด่วน การบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งมักมีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เกิดเป็นภาวะโภชนาการเกิน ภาวะพร่องและการเกิดโรคอ้วนในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และป่วยด้วยโรคความเสื่อมของร่างกาย กลุ่มโรคและภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ และโรคมะเร็ง เป็นต้น กลุ่มโรคดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วยากต่อการรักษา บางโรคมีอาการเรื้อรัง ต้องเสียเวลาในการรักษาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ตลอดจนมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของผู้ป่วยและญาติ โรคเบาหวานเป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของคนไทย สาเหตุการเกิดโรคมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการที่จะพยายามหาทางป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ การได้ผลที่คุ้มค่า ตรงกับความต้องการ และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนจากพฤติกรรมบริโภคที่เสี่ยงเป็นการบริโภคที่เหมาะสม จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานโดยมุ่งที่จะศึกษาประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนคัดกรองของ รพสต.จอมศรี เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานใช้เป็นแนวทางในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และช่วยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคอาหารให้เหมาะสม  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน2.เพื่อศึกษาการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนคัดกรองของ รพสต.จอมศรี ปี 2559 จำนวน 124 ราย กลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากคุณสมบัติประชากรเป้าหมายมีจำนวน 563 คน ซึ่งคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตร บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551, หน้า 114) ที่มีความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ชนิดและลักษณะเครื่องมือ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และข้อมูลการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูปแบบการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย (Descriptive Research) แบบการศึกษา ณ จุดเวลา (Cross-Sectional Studies) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเองและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Independent samples t-test  
     
ผลการศึกษา : กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีเพียงส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับดี ทั้งด้านความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติร้อยละ 42.2, 22.5 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่มีอาชีพและรายได้ต่างกันมีทั้งความรู้ ความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกัน ส่วนผู้ป่วยที่มีเพศ อายุ ระยะเวลาการป่วยและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ต่างกัน มีความรู้ ความเชื่อและการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ฉะนั้น จึงควรแนะนำส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีเพิ่มขึ้น ให้เน้นอาหารที่ควรงดรับประทานหรืออาหารที่รับประทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ  
ข้อเสนอแนะ : 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลจอมศรีควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีเพิ่มขึ้น ให้เน้นอาหารที่ควรงดรับประทานหรืออาหารที่รับประทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)