ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการดำเนินโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ผู้แต่ง : นัยนา เยื้องกลาง 3461400068241 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จาการศึกษาต่างๆ แสดงว่ายังมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในอัตราที่สูงอาจถึงครึ่งหนึ่งของการใช้ยาทั้งหมด โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียามมาทั้งในระดับบุคคลผู้ใช้ยา ทำให้เกิดปัญหาต่อประสิทธิผลของการรักษา และปัญหาจากความคลาดเคลื่อนหรือผลข้างเคียงของยา ไปจนถึงสังคมโดยรวม เช่นเกิดแนวคิดว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะต้องกินยา (one pill for every ill) ทำให้ความต้องการในการใช้ยาเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น หรือกระทบสิ่งแวดล้อมระยะยาว เช่น การเกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยา (antimicrobial resistance) มากขึ้น จากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น และนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อย่างน้อยปีละ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกาหรือ ๙,๐๐๐ ล้านยูโรในยุโรป ส่วนในประเทศไทย คาดว่ามีมูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึงปีละกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท แม้การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทยจะได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. ๒๕๒๔ แต่ก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศที่ต้องการปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และผลักดันให้มีการดำเนินการโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital ; RDU Hospital) ขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างให้เป็นระบบงานปกติ รวมทั้งสร้างความตื่นตัวให้กับโรงพยาบาลห้วยผึ้งต่อเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ฝ่ายเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดการประชุมทบทวนองค์ความรู้ รณรงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินโครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุผลขึ้น โดยหวังว่าการพัฒนาการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างต้นแบบ (model) ของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เกิดเครื่องมือที่สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาลห้วยผึ้งอย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และเกิดความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการเพื่อนำไปสูการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่ยั่งยืนในสังคมต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑ เพื่อสร้างโรงพยาบาลห้วยผึ้งให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต้นแบบ(Modle) ๒ พัฒนาระบบกลไกและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลให้เกิดขึ้นในสถานพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม ๓ พัฒนาเครือข่าย (Network) เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลระดับต่างๆอย่างเป็นระบบ ๔.พัฒนากลวิธีในการสร้างความตระหนักรู้ ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการเพื่อนำไปสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่ยังยื่นในสังคม  
กลุ่มเป้าหมาย : ๔.๑ ร้อยละการสั่งใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ≥ ร้อยละ ๙๐ ๔.๒ ประสิทธิผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ PCT ในการชี้นำสื่อสาร และส่งเสริมเพื่อนำไปสู่ การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ระดับ ๓ ๔.๓ การดำเนินงานในการจัดทำฉลากยามาตรฐาน ฉลากยาเสริม และเอกสารในข้อมูลยาใน ๑๓ กลุ่มที่มีรายละเอียดครบถ้วน รายการยา ๑๓ กลุ่ม ระดับ ๓ ๔.๔ รายการยาที่ยังคงมีอยู่ในบัญชีรายการโรงพยาบาล ซึ่งควรพิจารณาตัดออก ๘ รายการ ≤ ๑ รายการ ๔.๕ การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการจัดซื้อและส่งเสริมการขายยา ระดับ ๓ ๔.๖ ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยนอก ≤ ร้อยละ ๒๐ ๔.๗ ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ≤ ร้อยละ ๒๐ ๔.๘ ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ≤ ร้อยละ ๔๐ ๔.๙ ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด ≤ ร้อยละ ๑๐ ๔.๑๐ ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วไป ที่ใช้ RAS blockade (ACEI/ARB/Renin inhibitor) ๒ ชนิดร่วมกันในการรักษาภาวะความดันเลือดสูง ≤ ร้อยละ ๐ ๔.๑๑ ร้อยละของผู้ป่วยที่มีการใช้ยา glibenclamide ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า ๖๕ ปี หรือที่มี eGFR น้อยกว่า ๖๐ มล./นาที/๑.๗๓/ตารางเมตร ≤ ร้อยละ ๕ ๔.๑๒ ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยา metformin เป็นยาชนิดเดียวหรือร่วมกับชนิดอื่นเพื่อความ คุมระดับน้ำตาลโดยไม่มีข้อห้ามใช้ (eGFR น้อยกว่า ๓๐ มล./นาที/๑.๗๓/ตารางเมตร)≥ ร้อยละ ๘๐ ๔.๑๓ ร้อยละของผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ซ้ำซ้อน ≤ ร้อยละ ๕ ๔.๑๔ ร้อยละของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระดับ ๓ ขึ้นไปที่ได้รับ NSAIDs ≤ ร้อยละ ๑๐ ๔.๑๕ ร้อยละผู้ป่วยโรคหืดเรื้อรังที่ได้รับ inhaler corticosteroid ≥ ร้อยละ ๘๐ ๔.๑๖ ร้อยละผู้ป่วยนอกสูงอายุ (มากกว่า ๖๕ ปี) ที่ใช้ยาในกลุ่ม long acting benzodiazepine ได้แก่ chlordizepoxide, diazepam, dipotassium chlorazepate ≤ ร้อยละ ๕ ๔.๑๗ จำนวนสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยาที่ห้ามใช้ ได้แก่ ยา warfarin*,statins, ergot เมื่อรู้ว่า ตั้งครรภ์แล้ว (*ยกเว้นกรณีใส่ mechanical heart value) = ๐ คน ๔.๑๘ ร้อยละของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ (ครอบคลุมรหัสโรค ICD-๑๐ ตามา RUA-URI) และได้รับยาต้านฮีสตามีนชนิด non-sedating ≤ ร้อยละ ๒๐ ระดับรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน ๒ ตัวชี้วัด ๔.๑๙ ร้อยละของรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ ในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ≤ ร้อยละ ๒๐ ๔.๒๐ ร้อยละของรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ ในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ≤ ร้อยละ ๒๐  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๖.๑ ระยะที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๙ – กันยายน ๒๕๖๐) - ขับเคลื่อนการดำเนินงานในตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาลดังต่อไปนี้ ร้อยละการสั่งใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ≥ ร้อยละ ๙๐, ประสิทธิผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ PCT ในการชี้นำสื่อสาร และส่งเสริมเพื่อนำไปสู่ การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ระดับ ๓, การดำเนินงานในการจัดทำฉลากยามาตรฐาน ฉลากยาเสริม และเอกสารในข้อมูลยาใน ๑๓ กลุ่มที่มีรายละเอียดครบถ้วน รายการยา ๑๓ กลุ่ม ระดับ ๓, รายการยาที่ยังคงมีอยู่ในบัญชีรายการโรงพยาบาล ซึ่งควรพิจารณาตัดออก ๘ รายการ ≤ ๑รายการ, การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการจัดซื้อและส่งเสริมการขายยา ระดับ ๓ - ขับเคลื่อนการดำเนินงานในตัวชี้วัดระดับหน่วยบริการปฐมภูมิและรพ.สต.ดังต่อไปนี้คือ ร้อยละของรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ≤ ร้อยละ ๒๐ และร้อยละของรพ.สต.และหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายระดับอำเภอที่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ≤ ร้อยละ ๒๐ - จัดประชุมวิชาการให้กับบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลและ รพ.สต. แจกคู่มือแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเอกสารให้ความรู้ต่างๆ - รณรงค์ ติดโปสเตอร์ แจกแผ่นพับ จัดบอร์ดให้ความรู้ ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสายแก่เจ้าหน้าที่และผู้มาใช้บริการ เรื่องการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามจุดบริการต่างๆ เช่น แผนกตรวจรักษาผู้ป่วยนอก แผนกทันตกรรม หน่วยบริการปฐมภูมิ ห้องฉุกเฉิน รพ.สต. สุขศาลาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง - ให้ความรู้กับเครือข่าย อสม. ในการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ - ให้ความรู้แก่จิตอาสา อย.น้อย เรื่องการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล อย่างต่อเนื่อง ๖.๒ ระยะที่ ๒ (ตุลาคม ๒๕๖๐ – กันยายน ๒๕๖๑) ขับเคลื่อนการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่ ๓.๖- ๓.๑๓ ให้ผ่านเกณฑ์ ๖.๓ ระยะที่ ๓ (ตุลาคม ๒๕๖๑ – กันยายน ๒๕๖๒) ขับเคลื่อนการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่ ๓.๑๔- ๓.๑๘ ให้ผ่านเกณฑ์  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง