|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย stroke |
ผู้แต่ง : |
นงลักษณ์ ไชยบุตร 1460600060220 |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้ป่วย Stroke มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี โดยในปี ๒๕๕๘-๒๕๕๙ มีผู้ป่วย stroke ที่สำรวจได้ รวม ๑๒รายและ ในปี ๒๕๖๐ รายมีผู้ป่วย stroke ๑๔ ราย แต่ได้รับการฟื้นฟูสภาพทางกายภาพบำบัดจริงทุกราย คิดเป็น ๑๐๐% จากระบบการส่งปรึกษา แต่ยังมีผู้ป่วยที่ขาดการติดตามเยี่ยมบ้าน เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับไม่ครบถ้วน และระบบการส่งปรึกษายังไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วย stroke หลายรายขาดโอกาสสำคัญในการได้รับบริการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมตามอาการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นภาระต่อครอบครัวและผู้ดูแล สุขภาพจิตย่ำแย่ ญาติยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย ปัจจุบัน ในปี ๒๕๖๐ มีผู้ป่วย stroke จำนวน ๑๔ราย ที่เข้าสู่ระบบบริการส่งต่อจากรพ.กาฬสินธุ์กลับมาที่รพ.ห้วยผึ้งในตึก IPD ผู้ป่วย stroke ได้รับการฟื้นฟูสภาพ ทุกรายและได้ลงทะเบียนเป็น ผู้ป่วย strokeรายใหม่ได้ทันที ด้วยขั้นตอนดังกล่าว จึงเป็นประเด็นให้นักกายภาพบำบัด ดักจับข้อมูลในแต่ละขั้นตอนเพื่อการพัฒนาระบบการดูแลที่ครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้ผู้ป่วย stroke ได้รับการดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วย stroke ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 70 % |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑. จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น stroke จากงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อจากรพ.กาฬสินธุ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลการติดตามผู้ป่วยประจำเดือน
๒. มีการส่ง consult จากแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ER OPD IPD เพื่อการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง และการติดตามดูแลที่บ้าน ทำให้ได้รับข้อมูลหลายทางมาเสริมในการติดตามดูแลที่ทันท่วงที และครอบคลุม
๓. ให้บริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการส่งปรึกษาจากระบบในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับ ADL ค่อนข้างต่ำ (ประเมินโดย barthel index) คุณภาพชีวิตแย่ลง โดยเน้นการสอนญาติร่วมด้วยทุกครั้ง
๔. จัดตารางออกฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชนทุกรายที่มีการส่งปรึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟู จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กระตุ้นผู้ป่วยและญาติในการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวที่บ้าน และกลุ่มที่ไม่ได้ส่งปรึกษา (จากระบบข้อมูลการส่งต่อ)หรือค้นเจอในชุมชน เพื่อดูปัญหาและประเมินระดับความสามารถของผู้ป่วยทุกราย รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลจากปัญหาการเดินทาง รายได้ ระยะทาง จนกว่าระดับ ADL จะเพิ่มขึ้นหรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หมุนเวียนทุกพื้นที่
๕. ส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่ รพสต. และ อสม. ทีผ่านการอบรมการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น และส่งต่อข้อมูลให้ภาคี ในพื้นที่ทราบ เพื่อเป็นการ ดูแลคนในชุมชนร่วมกัน และมีการส่งต่อข้อมูล อาการดีขึ้น หรืแย่ลง ผ่านเครือข่ายทาง Line กลุ่ม ของแต่ละหน่วยงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|