ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี
ผู้แต่ง : รัชนี,ถิตย์ประเสริฐ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำจำเป็นต้องมีการดำเนินการในมาตรการต่างๆ ให้ครอบคลุม ในทุกด้าน ได้แก่ 1) มาตรการด้านวิศวกรรม (Engineering) โดยการกำจัดแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น เทน้ำทิ้ง จากภาชนะหลังใช้งาน การฝังกลบหลุม/บ่อน้ำ 2) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) เช่น การสร้างรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำ การติดป้ายคำเตือน การหาวัสดุปิดหรือคลุมบ่อน้ำ 3) มาตรการด้าน นโยบาย/กฎหมาย/กฎระเบียบ (Enforcement) เช่น กำหนดให้สร้างรั่วล้อมรอบสระว่ายน้ำ กำหนดให้สวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ ห้ามดื่มสุราก่อนลงเล่นน้ำ การติดฉลากคำเตือนบนภาชนะใส่น้ำ และ 4) มาตรการด้านการให้ความรู้ (Education) เช่น การสอนว่ายน้ำพอเอาชีวิตรอด (Survival Swimming) ให้แก่เด็ก การสอนให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด การสอนให้ทุกคนรู้จักวิธีการช่วยเหลือ และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการในมาตรการใดๆ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2563) จะมีเด็กไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำมากถึง 16,696 คน เพื่อลดการสูญเสียโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก จึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหลายรูปแบบในเรื่องการป้องกันการจมน้ำ มีการกำหนดมาตรการความปลอดภัยทางน้ำโดยเฉพาะ และกำหนดโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้วิจัยเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากกระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานทุกภาคส่วนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก ซึ่งเป็นการดึงศักยภาพของชุมชนมาแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเอง โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์และประเมินผล การดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและ มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชนในดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยการ มีส่วนร่วมของชุมชน 2. เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ก่อนและหลังดำเนินการ 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ตัวแทนผู้ปกครองของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 28 คน 2. องค์กรภาครัฐ ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว จำนวน 1 คน 2) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว จำนวน 1 คน 3) ผู้อำนวยการกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว จำนวน 1 คน 4) ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว จำนวน 1 คน 5) ครูโรงเรียนในเขตตำบลบ่อแก้ว แห่งละ 1 คน จำนวน 4 คน 6) ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งในเขตตำบลบ่อแก้ว แห่งละ 1 คน จำนวน 4 คน 7) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านหว้านพัฒนา, รพ.สต.บ้านนางาม แห่งละ 1 คน จำนวน 2 คน 3. องค์กรชุมชน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว จำนวน 2 คน 2) ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ละ 1 คน จำนวน 14 คน 3) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ละ 1 คน จำนวน 2 คน ดังนั้นจึงใช้ขนาดตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม คือ องค์กรภาครัฐ จำนวน 14 คน องค์กรชุมชน จำนวน 18 คน และกลุ่มตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 28 คน รวมทั้งหมด 60 คน  
เครื่องมือ : 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ 1.1 แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนและการมีส่วนร่วม ในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.1 แนวทางการสนทนากลุ่ม ตัวแทนองค์กรภาครัฐ ตัวแทนองค์กรชุมชน และตัวแทนผู้ปกครอง 2.2 แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวแทนองค์กรภาครัฐ ตัวแทนองค์กรชุมชนและตัวแทนผู้ปกครอง 2.3 แนวทางการสังเกตการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเข้าร่วมกิจกรรมในกระบวนการพัฒนา ทุกขั้นตอน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ระยะเตรียมการ (Pre- Research phase) มีกิจกรรมคือ ประสานงานกับพื้นที่ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและรับสมัครประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ชี้แจงวัตถุประสงค์วิธีการดำเนินงานและสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน 2. ระยะดำเนินการวิจัย (Research phase) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของชุมชน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา ในเรื่องการมีส่วนร่วมในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการ AIC ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการ AIC ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติตามแผนที่ได้จากการประชุมโดยใช้กระบวนการ AIC ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การประเมินระหว่างดำเนินการและ การประเมินผลภายหลังดำเนินการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง