ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรมบริการสุขภาพปฐมภูมิ “ก้านมะพร้าวกระดก”
ผู้แต่ง : นายชนินทร์ งามแสง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะปวดขา ปวดข้อและกล้ามเนื้อเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยในโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะการปวดล้วนเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งนั้น โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนนานๆ งานที่ต้องยกของหนัก หรือต้องก้มเงยบ่อยๆ โรคในระบบ ข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ จัดได้ว่าเป็นภาวะจำเป็นต้องให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่แรก เพื่อป้องกันข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อถูกทำลาย อันจะก่อให้เกิดความพิการตามมา ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่เองอาจถูกมองว่า เป็นแค่โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและพฤติกรรมสุขภาพ แท้ที่จริงถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องและล่าช้า รวมทั้งการรักษาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากจะทำให้ข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อถูกทำลายแล้ว ยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแพร่กระจาย ยากต่อการควบคุม และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ และการดูแลรักษาเบื้องต้น ถึงแม้จะไม่ทำให้โรคหายขาด แต่สามารถลดความทุกข์ทรมาน ตลอดจนทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าสีแก้ว ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนยางพารา และไร่อ้อย จึงพบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการมีปัญหาทางอาการผิดปกติของข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อมีจำนวนมากและมีแนวโน้มจะมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่าโรคในระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูกยังนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ลดลง และมีการสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาลในอันดับต้นๆ ในพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าสีแก้ว ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 3,155 คน เพศชาย 1,580 คน เพศหญิง 1,602 คน มีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม และทำสวนยางพารา ลักษณะงานของการทำงานเหล่านี้ ล้วนมีลักษณะงานที่ต้องยืนเดิน ก้มๆเงยๆ ยกของหนักแบบซ้ำซากตลอดทั้งวัน ใช้เวลาในการทำงานประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งลักษณะงานต่างๆที่กล่าวมาล้วนส่งเสริมให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของคนงานเกษตรกร ปัญหาการเจ็บปวดของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ตลอดจนปัญหาอื่นๆที่จะตามมาจากการทำงานหนักนานๆ ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการของโรคระบบข้อ กล้ามเนื้อ และโครงร่างยึด จากปี พ.ศ. 2553-2555 คิดเป็นร้อยละ 11.44 , 20.99 และ 34.66 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากโรคในระบบทางเดินหายใจ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นวัตกรรม กานมะพราวกระดก ที่สามารถชวยลดอาการปวดเมื่อย มึนชา บริเวณรยางคลาง ไดแก ปลายนิ้วเทา จนถึงขอสะโพก ซึ่งเปนนวัตกรรมที่ทํามาจาก กานมะพราว เปนวัสดุที่หางายในทองถิ่น ราคาถูก ไดมีการศึกษาคนควาจากบทความ วรรณกรรม ปราชญชาวบานแลวนํามาประดิษฐและทดลองใชกับกลุม วัยทํางาน ผูสูงอายุ และผูปวยเบาหวาน พบวา แม้จะไม่สามารถรักษาโรคในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยลดอาการปวยและปวดเมื่อยบริเวณรยางคลางไดดี และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจกับนวัตกรรมชิ้นนี้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ชวยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณรยางคลาง ไดแก ปลายนิ้วเทา จนถึงขอสะโพก 2. เพื่อใช้เป็นสื่อและอุปกรณ์ในการให้คำแนะนำเรื่องการดูแลอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อรยางค์ล่างจากการทำงานหนัก 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้วัสดุที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า 4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับบริการและประชาชน เขตบริการพื้นที่ รพ.สต.บ้านเหล่าสีแก้ว อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : -นวัตกรรมก้านมะพร้าวกะดก -แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ ก้านมะพร้าวกระดก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : -ขั้นเตรียมการ ศึกษาแนวคิด สร้างการมีส่วนร่วม ออกแบบกระบวนการ -ขั้นดำเนินการ การจัดทำนวัตกรรมและทดลองใช้ 3 เดือน -ขั้นประเมินผลการใช้นวัตกรรม และสรุปผลการใช้  
     
ผลการศึกษา : ขั้นการประเมินผล/ผลการดำเนินงาน ประเมินผลจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ และสังเกตคุณภาพการใช้งานของนวัตกรรม พบว่า ๑. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยที่มีอาการปวด มึนชา ตึง บริเวณสะโพก ขา จนถึงปลายเท้า มีอาการดีขึ้น ผู้รับบริการมีความพึงพอใจร้อยละ 96 2. ไม่พบอุบัติการณ์โรคกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรงและการเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน 3. มีการนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน 4. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการคิดค้นนวัตกรรมสุขภาพ นวัตกรรมมีคุณสมบัติดังนี้ 1 ผลงานมีความแข็งแรงมีความมั่นคง ปลอดภัย 2 มีสายยางพลาสติกที่รองเชือกที่รัดส้นเท้าทำให้ไม่เจ็บเวลากดไม้กระดก 3 มีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายเหมาะกับการใช้งาน 4 ประหยัดเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น สรุป นวัตกรรม “ก้านมะพร้าวกระดก” เป็นนวัตกรรม ที่ทำมาจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก ได้มีการศึกษาค้นคว้าจากบทความ วรรณกรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านแล้วนำมาประดิษฐ์และทดลองใช้กับกลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า แม้จะไม่สามารถรักษาโรคในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยลดอาการป่วยและปวดเมื่อยบริเวณรยางค์ล่างไดดี และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจกับนวัตกรรมชิ้นนี้  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)