ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการปรับเปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคร้าย ห่างไกลโรค ด้วยโปรแกรมแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2560
ผู้แต่ง : ประภากร อินทร์ยา ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : สถานการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอนาคู อัตราป่วยของกลุ่มโรคไม่ติดต่อ 5 โรค ข้อมูล 3 ปี ย้อนหลัง โรคที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดและมีแนวโน้มสูงขึ้นคือโรคความดันโลหิตสูง ปี 2558 , 2559 และ 2560 คือ 5,855.07 , 6,721.86 และ 7,205.63ตามลำดับ รองลงมาคือ โรคเบาหวานปี 2558 , 2559 และ 2560 คือ 5,031.58 , 5,454.24 และ 5,684.04 ตามลำดับ โรคหลอดเลือดหัวใจปี 2558 , 2559 และ 2560 คือ 222.11 , 231.16 และ 235.95 ตามลำดับ และโรคหลอดเลือดสมองสูง 2558 , 2559 และ 2560 คือ 10.58 , 12.09 และ 13.61 ตามลำดับ สถานการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 8 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลนาคู ข้อมูลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2558 ในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,797 คน คัดกรอง 2,721 คน คิดเป็นร้อยละ 97.28 กลุ่มปกติ 2,332 คน คิดเป็นร้อยละ 85.70 กลุ่มเสี่ยง 374 คน คิดเป็นร้อยละ 13.74 กลุ่มสงสัยรายใหม่ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 0.55 กลุ่มน้ำหนักและรอบเอวเกิน 552 คน คิดเป็นร้อยละ 20.28 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 341 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 6,094.55 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 368 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 6,341.52 ผลการคัดกรองปี 2560 ในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,805 คน คัดกรอง 2,700 คน คิดเป็นร้อยละ 96.26 กลุ่มปกติ 2,344 คน คิดเป็นร้อยละ 86.81 กลุ่มเสี่ยง 323 คน คิดเป็นร้อยละ 11.96 กลุ่มสงสัยรายใหม่ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 1.23 กลุ่มน้ำหนักและรอบเอวเกิน 652 คน คิดเป็นร้อยละ 24.14 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 353 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 7,337.35 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 381 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 7,919.35 มีแนวโน้มอัตราป่วยจะเพิ่มสูงขึ้น จากกลุ่มเสี่ยงมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ณ ปัจจุบัน สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงและน่าวิตกกังวลไม่น้อย เพราะนอกจากปริมาณและความรุนแรงของความเจ็บป่วยจะไม่ลดลงแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่ก็เริ่มอ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงที่จะต่อสู้กับการแก้ปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชน และก็เริ่มถูกโรคภัยไข้เจ็บเริ่มรุมเร้า จนทำให้หลายคนมีอาการป่วยที่หนักยิ่งกว่าคนไข้เสียอีก เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้เหมือนคนทั่วไปแล้ว ยังต้องอยู่ท่ามกลางเชื้อโรคและพลังงานที่เป็นพิษจากผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกายอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังต้องถูกภาวะกดดันจากหลายอย่างจนเกิดความเครียดสะสมที่มากกว่าคนทั่วไป สภาพดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เน้นแต่การพึ่งยาและหมอโดยไม่เน้นการพึ่งตนเองนั้น ไม่เน้นการแก้ปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุอย่างครบวงจรนั้น เริ่มจะถึงทางตันแล้ว นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่มีอยู่เดิมจะทวีความรุนแรงมากขึ้นแล้ว ปัญหาอื่นๆ ก็เริ่มขยายตัวและทวีความรุนแรงตามมา เช่นปัญหาผลเขียงเคียงและการเกิดโรคแทรกซ้อนของยาเคมี ปัญหาที่ผู้ป่วยและภาครัฐต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการใช้ยาเคมีและเครื่องที่ใช้ในการบำบัดรักษา แต่ไม่สามารถลดการเจ็บป่วยได้ เป็นต้น ถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป มหันตภัยอันน่าสะพรึงกลัวจะยิ่งเพิ่มความรุนแรง สร้างปัญหาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ญาติและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างแน่นอน (ใจเพชร กล้าจน,ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม 3“มาเป็นหมอดูแลตัวเองกันเถอะ”อุษาการพิมพ์,2559) พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ อาหารเป็นหนึ่งในโลก” ประโยคนี้เป็นสัจธรรมที่มีคุณค่าสำคัญและลึกซึ้งอย่างยิ่งต่อการพ้นทุกข์หรือบรรเทาทุกข์ของสัตว์โลก จากประสบการณ์ ดร ใจเพชร กล้าจน ได้ใช้อาหารในการปรับสมดุล บำบัด โรคภัยไข้เจ็บมากกว่าสิบปี ได้พบความมหัศจรรย์ว่า อาหารมีผลอย่างมากต่อการหายหรือไม่หาย ทุเลาหรือไม่ทุเลาในโรคภัยไข้เจ็บและพบความจริงว่า มีหลายโรคหลายอาการทั้งโรคร้ายแรงที่รักษายากหรืโรคที่รักษาง่าย เช่นมะเร็ง เนื้องอก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคหัวใจ เก๊าต์ ภูมิแพ้ ผื่นคัน หอบหืด โรคกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ อาการอักเสบตามส่วนต่างๆของร่างกาย ริดสีดวงทวาร ไข้ ไอ หวัด ปวดตามข้อและปวดตามเนื้อตัว เป็นต้น เราสามารถใช้อาหารปรับสมดุลบำบัดหรือบรรเทาได้อย่างมีประสิทธิภาพ(ใจเพชร กล้าจน,ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม 2“ความลับฟ้า”อุษาการพิมพ์,2557) จากปัญหาและผลกระทบดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการหรือนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันเพื่อลดการบริโภคอาหารขยะ ด้วยการส่งเสริมวิถีการดำรงชีวิตแบบพอเพียง โดยการนำหลักการแพทย์วิถีธรรมเทคนิคยา 9 เม็ด ดังนี้1.การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล 2.การกัวซาขูดพิษหรือขูดซา3.การสวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีท๊อกซ์) 4.การแช่มือ แช่เท้าด้วยสมุนไพที่ถูกกัน 5.การพอก ทา ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน 6.การออกกำลังกาย โยคะ กดจุดลมปราณ 7.การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย 8.ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญ ทำจิตใจให้ผ่องใสคบมิตรดีสหายดี สร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี 9.รูเพียรรู้พักให้พอดี โดยอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน เป็นผู้บูรณาการองค์ความรู้หลักการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีสาเหตุมาจากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประเทศไทย 3 ประการหลัก ได้แก่ 1.ปริมาณผู้ป่วย ชนิดของความเจ็บป่วย และความรุนแรงของการเจ็บป่วยโดยรวมเพิ่มมากขึ้น 2.ค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาความเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น 3.ยิ่งนับวันประชาชนก็ยิ่งมีศักยภาพที่น้อยลงในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง(พึ่งตนเองไม่ได้หรือพึ่งตนเองได้น้อย)หลักการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดูแลสุขภาพพึ่งตนที่นำเอาจุดดีของวิทยาศาสตร์สุขภาพ แผนปัจจุบัน แผนไทย แผนทางเลือก และแผนพื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดีของสถาบันบุญนิยม มาจัดการองค์ความรู้ ประยุกต์ผสมผสาน บูรณาการด้วยพุทธธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้เหมาะสมและสามารถแก้หรืลดปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุ ณ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน นำสู่การปฏิบัติที่ประหยัด ปลอดภัย เรียบง่าย ได้ผลเร็ว พึ่งตนเองได้ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักและมีความยั่งยืน สรุปโดยรวมพบว่า โรคไม่ติดต่อที่สำคัญต่าง เช่นโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไตเสื่อม ความเสื่อมของหัวใจ หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ในรอบทศวรรษ ที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของคนไทย โดยมีปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมจาก 1.กินอาหารหวาน มัน เค็ม และเนื้อสัตว์ อาหารที่ปนเปื้อนสารพิษสารเคมี และอาหารประเภทผัด ทอด เผา ปิ้ง ย่าง อบ มากเกินไป มีการวิจัยพบว่าอาหารที่มีโซเดียมหรือรสเค็มมากเกินไป จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง สมองและหลอดเลือดเสื่อม หัวใจโตผิดปกติ ไตเสื่อม น้ำหนักเพิ่ม ภูมิต้านทานลดและรหัสพันธุกรรมผิดปกติ ปกติร่างกายต้องการเกลือเฉลี่ยไม่เกิน 2,400 มก./วัน หรือ 1 ช้อนชาต่อวัน ส่วนน้ำตาล ไม่ควรเกิน 5 ช้อนชา/วัน 2.กินผักผลไม้ รสไม่หวานจัด ในปริมาณที่น้อยเกินกว่าที่จะสามารถป้องกันโรคได้ 3. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น 4.ไม่ออกกำลังกาย อดนอน การพูดมากเกินไป 5.อารมณ์เครียดเกิน จากไม่ถูกใจ ไม่สมดังใจ ยึดเกิน โกรธ มุ่งร้าย พยาบาท เร่งรีบ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (NCDs) 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs ) ในกลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มวัยทำงานอายุ 35 – 60 ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (NCDs)ในเขตเทศบาลตำบลนาคู 40 คน  
เครื่องมือ : เลขที่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินพฤติกรรมและสภาวะสุขภาพ ของกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง และกลุ่มเสี่ยงเมทาบอลิก ตามโครงการปรับเปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคร้าย ห่างไกลโรค ด้วยโปรแกรมแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2560 อำเภอ...................................รหัส คำชี้แจง ให้ท่านทำเครื่องหมาย  ลงช่อง  และเติมตัวเลขหรือข้อมูลลงช่อง......ที่กำหนด ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1. เพศ  1) ชาย  2) หญิง sex 2. อายุ………………ปี age 3.กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรม  1) อสม.  2) ประชาชนกลุ่มเสี่ยง group  3) ประชาชนกลุ่มป่วย  4) บุคลากรสาธารณสุข 4. สถานภาพสมรส  1) โสด  2) สมรส / คู่  3) หม้าย  4) หย่า status 5. ระดับการศึกษา  1) ประถมศึกษา  2) มัธยมศึกษาตอนต้น edu  3) มัธยมศึกษาตอนปลาย 4) ปวส./อนุปริญญา/ปวท.  5) ปริญญาตรี  6) สูงกว่าปริญญาตรี  7) อื่นๆ ระบุ…………………………………………….. 6. อาชีพ  1) ทำสวน/ทำนา/ทำไร่/เลี้ยงสัตว์  2) รับจ้างทั่วไป occ  3) รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ  4) ทำงานโรงงาน/บริษัทเอกชน  5) ค้าขาย/ทำธุรกิจส่วนตัว  6) ทำงานบ้าน/แม่บ้าน/พ่อบ้าน  7) ไม่มีงานทำ/ว่างงาน  8) อื่นๆ ระบุ…………………… 7. รายได้เฉลี่ยของทุกคนในครอบครัวรวมกันต่อเดือน ……………………………บาท/เดือน Inc 8. ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ 1) สุขภาพของท่าน  1) แข็งแรงดี  2) กลุ่มเสี่ยงเมทาบอลิก  3) มีโรคประจำตัว คือ.. health 2) ถ้ามีโรคประจำตัว หรือ อาการไม่สบายใดที่เป็นอยู่ (เลือกได้มากกว่า 1ข้อ) dis  1) ความดันโลหิตสูง  2) เบาหวาน  3) ไขมันในเลือดสูง  4) โรคหัวใจ  5) สะเก็ดเงิน  6) มะเร็ง ที่.............................  7) เนื้องอก ที่.......................  8) ซีสต์ ที่...........  9) เกาต์  10) ปวด ที่.............................  11) ชา ที่..............................  12) SLE  13) ภูมิแพ้ ที่........................... 14) รูมาตอยด์  15) ไทรอยด์  15) ไตเสื่อมระยะที่..... 16)ไตวาย  อื่นๆ ....................................... ส่วนที่ 2 การรับรู้และแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายแพทย์วิถีธรรม ใส่เครื่องหมาย  1. ท่านรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของค่ายวิถีธรรมจากที่ใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) Inform 1โรงพยาบาล  2 รพ.สต./สถานีอนามัย  3 หอกระจายข่าว 4 อสม.  5 ผู้เคยผ่านค่ายวิถีธรรม  6 จิตอาสา 7 วิทยากรของค่าย  8 อื่นๆ ระบุ........... 2. ท่านเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิถีธรรมด้วยเหตุผลใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) expect 1 ต้องการรักษาโรค  2 ต้องการมีสุขภาพดี  3 ต้องการเป็นจิตอาสา  4 ไปเป็นวิทยากรจัดค่าย  5สนใจกิจกรรมในค่าย  6 สนใจฟังและปฏิบัติธรรม  7 อื่นๆระบุ........................ ส่วนที่ 3 การประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามโปรแกรมการแพทย์วิถีธรรม หลังการอบรม คำชี้แจง โปรดอ่านข้อความ และ ทำเครื่องหมาย  ลงใน ช่องที่ตรงกับการปฏิบัติ การปฏิบัติ ปฏิบัติได้ ปฏิบัติไม่ได้ 2. ท่านปฏิบัติตามแนวทางการแพทย์วิถีธรรม 9 ข้อ B1-B9 2.1 การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุลร้อนเย็น กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน ดื่มสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ 2.2 กัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม ระบายพิษ กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน ใช้น้ำมันกัวซาฤทธิ์เย็น น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือน้ำเปล่า อย่างใดอย่างหนึ่งทาบนผิวหนังก่อนขูดซาในบริเวณที่รู้สึกไม่สบายหรือบริเวณที่ใช้งานมากหรือบริเวณที่ถอนพิษจากร่างกายได้ดี 2.3 การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีท็อกซ์) ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน ทำความสะอาดลำไส้แบบใดแบบหนึ่งก่อน เพื่อที่จะทำให้การขับถ่ายดีขึ้น หรือช่วยให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้เร็วและสะดวก ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรู้สึกสบายใจ 2.4 การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น กรณีที่มีภาวะเย็นเกิน ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน กรณีที่มีทั้งร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นต้ม หรืออาจใช้สมุนไพรทั้งร้อนและเย็นผสมกันก็ได้ 2.5 การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย การถอนพิษด้วยการพอกทาด้วยสมุนไพรรสเย็น ย่านาง ใบเตย อ่อมแซบ เบญจรงค์ ผักบุ้ง ตำลึง รางจืด บัวบก ว่านหางจระเข้ ส้มป่อย กาบกล้วย 2.6 การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหารที่ถูกต้อง คือทำแล้วสุขสบายเบากายมีกำลัง การบริหารร่างกายที่ถูกต้อง สมดุล เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องได้คุณสมบัติ 3 อย่างคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น และการเข้าที่เข้าทางของกระดูกเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ 2.7 การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย เน้นอาหารรสจืดเป็นหลัก ลดหรืองดเนื้อสัตว์ ใช้โปรตีนจากถั่วแทน ปรุงอาหารด้วยการต้มและนึ่ง รสไม่จัดจนเกินไป งดหรือลดอาหารที่หวานจัด ลด ละเลิก การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ 2.8 ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญ เพิ่มพูนใจ ไร้กังวล ให้รักษาศีล ให้ทาน ภาวนา เพื่อให้รู้ตนเอง ลดกรรมของตน โดยใช้ปัญญา 2.9 รู้เพียรรู้พักให้พอดี ทั้งการใช้ชีวิต การทำงาน การปฏิบัติธรรม การอยู่การกิน ส่วนที่ 4 สรุปพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ท่านปฏิบัติตามแนวทางการแพทย์วิถีธรรม(ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) D1-10  เม็ดที่ 1 การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุลร้อนเย็น D1  เม็ดที่ 2 กัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม ระบายพิษ D2  เม็ดที่ 3 การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีท็อกซ์) D3  เม็ดที่ 4 การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร D4  เม็ดที่ 5 การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร D5  เม็ดที่ 6 การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ D6  เม็ดที่ 7 การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย เน้นอาหารรสจืดเป็นหลัก D7  เม็ดที่ 8 ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญ เพิ่มพูนใจ ไร้กังวล D8  เม็ดที่ 9 รู้เพียรรู้พักให้พอดี ทั้งการใช้ชีวิต การทำงานการปฏิบัติธรรมการอยู่การกิน D9  อื่นๆที่ทำให้ท่านเบากาย สบาย มีกำลัง D10 ระบุ....................................................... ส่วนที่ 5 การประเมินสุขภาวะ ก่อนและหลังการเข้าค่าย คำชี้แจง ให้ท่านทำเครื่องหมาย ลงในช่อง  และเติมตัวเลขหรือข้อความลงช่อง.....ที่กำหนด 5.1 การประเมินทางกาย 5.2 การประเมินทางจิตใจ 5.3 การประเมินทางสังคม 5.4 การประเมินทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ 5.5 ภาพรวมสุขภาวะ 5.1 การประเมินทางกาย 1. การประเมินสภาวะสุขภาพ : ให้ลงข้อมูลก่อนอบรม และหลังอบรมล่าสุดที่มีการประเมินสุขภาพ สภาวะสุขภาพ ก่อนอบรม เดือนที่ 1 เดือนที่ 3 เดือนที่ 6 Code 1. รอบเอว (ซม.) ช.< 90 ซม.ญ.< 80 …………. ………… ……………. ……………  1) ปกติ  2) เกิน  1  2  1  2  1  2  1  2 E1 2. การชั่งน้ำหนัก (กก.) ………… ………… ………… ………… 3. วัดส่วนสูง (ซม.) ………… ………… ………… ………… 4. ดัชนีมวลกายBMI ………… ………… ………… ………… □ 1) ผอม □ 2) ปกติ □ 3) เกิน □ 1) ผอม □ 2) ปกติ □ 3) เกิน □ 1) ผอม □ 2) ปกติ □ 3) เกิน □ 1) ผอม □ 2) ปกติ □ 3) เกิน □ 1) ผอม □ 2) ปกติ □ 3) เกิน E2 5. ระดับความดันโลหิต บน (มม.ปรอท) …………. ………… ……………. …………… ล่าง (มม.ปรอท) …………. ………… ……………. …………… สรุปผล □ 1) ปกติ( น้อยกว่า 120/ 80 ) □ 2) เสี่ยง (120/80 - 139/89 ) □ 3) สูง ( 140/90 ขึ้นไป ) □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3) สูง □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3) สูง □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3) สูง □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3) สูง E3 6. ระดับน้ำตาลในเลือด …………. ………… ……………. …………… □1) ปกติ ( น้อยกว่า 100 ) □ 2) เสี่ยง ( 100 - 125 ) □ 3) ป่วยเบาหวาน ( 126 ขึ้นไป ) □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3 ป่วย □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3 ป่วย □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3 ป่วย □ 1 ปกติ □ 2 เสี่ยง □ 3 ป่วย E4 7.ค่าไขมันคอเลสเตอรอล …………… ………….. ……………. …………… □ 1) ปกติ ( 150 -200 มก./ดล. ) □ 2) เสี่ยง มากกว่า200 มก.ดล. □ 1) □ 2) □ 1) □ 2) □ 1) □ 2) □ 1) □ 2) E5 8.ค่าไขมันแอลดีแอล (LDL) ………… ………… ………… ………… □ 1) ปกติ ( 40-90 มก./ดล. ) □ 2) เสี่ยง (91-130 มก./ดล.) □ 3) เสี่ยงปานกลาง(>130 มก./ดล. □1) □2) □3) □1) □2) □3) □1) □2) □3) □1) □2) □3) E6 9.ค่าความเป็นกรด – ด่าง ของน้ำลาย ………… ………… ………… ………… □ 1) ปกติ ( PH 7.0 -7.4 กลาง ) □ 2) เสี่ยง( PH 7.5 -14 ด่าง ) □ 3) เสี่ยงสูง ( PH 0 - 6.9 กรด ) □ 1) ปกติ □ 2) เสี่ยง □ 3) เสี่ยงสูง □ 1) □ 2) □ 3) □ 1) □ 2) □ 3) □ 1) □ 2) □ 3) E7 10.ค่าของไต □ 1) ค่า BUN mg% □ 2) ค่า creatinine mg% □ 3) ค่า eGFR >0.7 ml/min/1.7 ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. ............. E8 E9 E10 2.อาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ก่อน-หลังอบรม คำชี้แจง : ให้ใส่เครื่องหมาย  ตรงกับอาการของท่าน : 1 ไม่มีอาการ 2 นานๆครั้ง (1-2 ครั้ง) 3 บ่อยครั้ง มากกว่า (3 -4 ครั้ง) 4 ประจำ เกือบทุกวัน) อาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ก่อน-หลังอบรม ก่อนอบรม หลังอบรม (ณ ปัจจุบัน) code 1 2 3 4 1 2 3 4 □ 1) อาการปวดมึนต้นคอ F1 □ 2) อาการปวดศรีษะ F2 □ 3) อาการที่เกิดในช่องปาก ระบุ อาการ............. F3 □ 4) อาการที่เกิดบริเวณใบหน้า ระบุ อาการ........... F4 □ 5) อาการที่เกิดบริเวณผิวหนัง ระบุ อาการ............. F 5 □ 6) อาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อ F6 □ 7) อาการปวดข้อเข่า ปวดขา และข้อต่างๆ F7 □ 8) อาการปวดหลัง บั้นเอว F8 □ 9) อาการท้องอืด แน่นท้อง เรอ กรดไหลย้อนระบุ.......... F9 □ 10) อาการท้องผูก F 10 □ 11) อาการท้องเสีย F11 □ 12) อาการที่เกิดที่ระบบการหายใจ ระบุ อาการ F12 □ 13) อาการวิงเวียน หน้ามืด F13 □ 14) อาการไม่สบายใจ หงุดหงิด เบื่อหน่าย F14 □ 15) อาการอื่นๆ ระบุ......................................... F15 3. ภาพรวมสุขภาพทางกาย ก่อน-หลังอบรม ณ ปัจจุบัน ให้เลือกเพียง 1 ข้อที่ตรงกับอาการท่าน ก่อนอบรม หลังอบรม code □ 1) ไม่มีอาการเจ็บป่วย □ 1) ไม่มีอาการเจ็บป่วย G1 □ 2) เบากาย สบาย มีกำลัง □ 2) เบากาย สบาย มีแรง มากกว่าเดิม G2 □ 3) ไม่ เบากายไม่ สบาย ไม่ค่อยมีกำลัง □ 3) อาการไม่สบาย เท่าเดิม G3 □ 4) เจ็บป่วยไม่สบายมาก □ 4) อาการไม่สบายแย่กว่าเดิม G4 4 ประเมินภาพรวมสุขภาวะ ทางกาย จิตใจ สังคม ปัญญา ของท่าน ก่อน และหลังอบรมเข้าค่าย ประเมินผลภาพรวม 1 น้อย 2 ปานกลาง 3 มาก code ก่อนอบรม K1 หลังอบรมเข้าค่าย K2 ปัญหาและข้อเสนอแนะ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นที่ 1 : ทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปี 2557 – 2559 พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ที่ส่งผลทำให้เกิดโรคอยู่ในระดับดี แต่พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ยังเหมือนเดิม คือรสจัด เค็ม หวาน มัน จัด อาหารฤทธิ์ร้อน เหมือนเดิม ขั้นที่ 2 : ร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา GAP ของกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีแต่อบรมให้ความรู้อย่างเดียว ไม่มีการฝึกปฏิบัติ หรือมีการปฏิบัติแต่ไม่สม่ำเสมอ เช่นการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารผักเพิ่มขึ้น การกินอาหารไม่ตรงตามนาฬิกาชีวิต หรือกลุ่มเสี่ยงขาดแรงจูงใจ ขาดการเสริมพลัง ท้อแท้ ผู้ให้บริการที่คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ขั้นที่ 3 : ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ สาเหตุหลัก ของภาวะ ความเสื่อมและความเจ็บป่วย ความเสื่อมและความเจ็บป่วยในยุคนี้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ๕ ข้อหลัก ดังต่อไปนี้ 1. อารมณ์เป็นพิษ เช่น ความเครียด ความเร่งรีบ เร่งรัด รีบร้อน ความกลัว ความวิตกกังวล ความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ความไม่พอใจ รำคาญใจ ความมุ่งร้าย อาฆาต พยาบาท ความโลภ โกรธ หลง ยึดเกิน เอาแต่ใจตัวเอง เป็นต้น ทุกครั้งที่ผู้คนมีสภาพจิตใจดังกล่าว จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งสารแอดดรินารีนออกมากระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายผลิตพลังงานมากเกินความพอดีจนเผาทำลายเซลล์เนื้อเหยื่อของร่างกาย อวัยวะส่วนใดของร่างกายที่อ่อนแอก็จะเสื่อมหรือแสดงอาการไม่สบายก่อน เช่น บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ บางคนปวดคอ บางคนปวดท้อง บางคนเจ็บหัวใจ บางคนอ่อนเพลียทั้งตัว เป็นต้น ถ้ายังมีอารมณ์ดังกล่าวอยู่ ความเสื่อมก็จะรุกลามขยายผลและแสดงอาการไม่สบายไปตามอวัยวะส่วนอื่นต่อไป 2. อาหารเป็นพิษ ซึ่งพิษจากอาหารประกอบด้วย 6 สาเหตุหลัก ดังนี้ 2.1 พิษจากอาหารที่มีสารพิษ สารเคมีทั้งในพืชและสัตว์ทั้งจากขบวนการการผลิตและการปรุงเป็นอาหาร สารพิษสารเคมี ดังกล่าวจะเผาทำร้ายเซลล์เนื้อเหยื่อของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความเสื่อมและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้น การบริโภคอาหารไร้สารพิษก็จะดีที่สุด แต่ถ้าเราไม่สามารถหาอาหารที่ไร้สารพิษมารับประทานได้ วิธีลดสารพิษก็เป็นเรื่องที่ควรทำ เช่น แช่ผักผลไม้หรือเมล็ดธัญพืชในน้ำซาวข้าวอย่างน้อย 10 – 20 นาที แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดอีกที จะช่วยลดพิษได้มาก หรือใช้ถ่านที่เป็นเชื้อเพลิงในการก่อไฟ 1 – 5 ก้อน แช่ในน้ำ แล้วนำผักผลไม้หรือเมล็ดธัญพืชวางทับลงไป แช่อย่างน้อย10-20 นาที แล้วจึงนำมาล้างในน้ำสะอาด ก็ช่วยลดพิษได้มากเช่นกัน ส่วนถ่านที่ใช้แช่แล้วน้ำมาผึ่งให้แห้ง สามารถเวียนกลับมาใช้แช่เพื่อลดสารพิษได้อีกประมาณ 15-20 ครั้ง จึงนำไปตากแห้งใช้ก่อไฟหุงต้มต่อไป 2.2 พิษจากอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์มากเกิน จนองค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศให้ลดเนื้อสัตว์ แล้วเพิ่มการกินผัก เพราะในเนื้อสัตว์จะมีไขมัน กรดยูริค กรดแลคติก แอดดรินาลีน และสารอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมาก ถ้าท่านยังบริโภคเนื้อสัตว์ อยู่ ควรบริโภคเนื้อปลา เพราะปลาจะมีพิษน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ดังนั้น ถ้าจะบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีไขมันเยอะ ก็ควรรับประทานในปริมาณที่น้อย นักธรรมชาติบำบัดที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพจะพบว่า โปรตีนที่ดีสำหรับมนุษย์ก็คือ เมล็ดธัญพืช โดยเฉพาะถั่วชนิดต่างๆ 2.3 พิษจากอาหารที่ปรุงรสจัดเกินไป จนทำให้องค์กรอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศให้ลดความหวานมันเค็ม และลดการรับประทานอาหารรสจัดต่างๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว วัตถุสสารที่ปรุงรสของอาหารทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหวานมันเค็มเผ็ดเปรี้ยวฝาด ขม เบื่อเมาเมื่อถูกย่อยด้วยน้ำย่อยในร่างกายมนุษย์จะกลายเป็นพลังงานทั้งหมด ซึ่งร่างกายมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ต้องการรสต่างๆ ที่ปรุงในอาหารประมาณ 30% ของที่ปรุงกันทั่วไป หมายความว่า ถ้าเดิมใส่เครื่องปรุง 100 ส่วน ก็ลดเหลือ 30 ส่วน หรือปรุง 10 ส่วน ก็ลดลงเหลือ 3 ส่วน ถ้าเดิมเคยปรุง 3 ส่วน ก็ลดลงเหลือ 1 ส่วน ซึ่งถ้าปรุงมากเกินความต้องการของร่างกาย เมื่อถูกย่อยก็จะเกิดพลังงานส่วนเกิน เผาทำร้ายเซลล์ เม็ดเซลล์ เม็ดเลือด เกร็ดเลือด ส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดและเซลล์เนื้อเหยื่อของอวัยวะในร่างกายหรือ ถ้าย่อยเป็นพลังงานไม่หมดก็จะเกิดการอุดตันอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ของดีก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกาย ไม่สะดวก ส่วนของเสียก็จะไหลเวียนหรือถูกขับออกจากร่างกายไม่สะดวก ทำให้เร่งความเสื่อม พลังชีวิตตกและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แต่ถ้าปรุงน้อยเกินความพอดีของร่างกาย ธาตุอาหารและพลังงานก็ไม่พอ เซลล์เนื้อเหยื่อก็เสื่อมเร็ว พลังชีวิตตกและเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ เช่นเดียวกัน เพียงแต่คนส่วนใหญ่มักอยู่ในกลุ่มปรุงรสจัดเกิดความพอดีจะเห็นได้ว่ามัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า การปฏิบัติสู่ความพอดี ความสมดุล ความเป็นกลาง ไม่ปรุงรสมากเกินไป ไม่ปรุงน้อยเกินไป ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นทาสสายเอกสายเดียวที่พาพ้นทุกข์นั้นเป็นความจริงที่แต่ละคนสามารถพิสูจน์กันได้ 2.5 พิษจากชนิดของอาหารที่ไม่สมดุล หลายท่านพยายามลดสารพิษสารเคมีในอาหาร ลดเนื้อเพิ่มพัก ลดหวานมันเค็มและอาหารรสจัดอื่นๆ ลงแล้ว สุขภาพก็ยังไม่ดีเท่าทีควร ก็เพราะไม่รู้ชนิดของอาหารที่สมดุลกับร่างกาย ณ ขณะนั้น เช่น คนในเมืองหนาว ได้แก่ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น คนที่แข็งแรงหรือหายป่วยด้วยการใช้อาหารก็จะใช้อาหารที่ให้ความร้อนหรือพลังงานค่อนข้างสูง เช่นข้าว อาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวแดง ข้าวดำ ข้าวนิล เผือก มัน ถั่วดำ ถั่วแดง งาดำ ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง สาหร่าย แครอท บีทรูท คะน้า กระหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ฟักทองแก่ เป็นต้น เมื่อเขากินอาหารเหล่านี้เขาจะรู้สึกอุ่นสบาย โรคภัยไข้เจ็บทุเลา เบาบางลง หรือหายไป เขาจึงวิจัยพบสารต่างๆ มากมายในอาหารดังกล่าวและระบุว่าสารต่างๆ เหล่านั้นเป็นประโยชน์กับร่างกายเขา และเหมาร่วมว่าเป็นประโยชน์กับร่างกายของทุกคนในโลก ดังนั้น จุดหายจากโรคในเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน ก็คือ จุดเย็น สบาย ได้แก่อาหารที่มีฤทธิ์เย็นเป็นส่วนใหญ่ที่ให้ความร้อนหรือพลังงานไม่มากเกิน เช่น ข้าวจ้าวที่ไม่ใช่ข้าวแดงข้าวดำ อาหารไขมันน้อย ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว มังคุด กล้วยน้ำว้า กระท้อน ชมพู่ ส้มโอ ผักหวานบ้าน ก้านตรง อ่อมแซบ ผักบุ้ง ผักสลัด ถั่วงอก บวบ ตำลึง ฟักแฟง แตงต่างๆ ลูกฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง เป็นต้น บางครั้งอาจไม่ใส่สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเลย หรือบางครั้งอาจใส่สิ่งทีมีฤทธิ์ร้อนได้บ้างในปริมาณที่พอดีสบาย เบากาย มีกำลัง ณ เวลานั้น ของบุคคลนั้นๆ นอกจากจะรู้ชนิดและสัดส่วนของอาหารที่สมดุลแล้ว ต้องเรียนรู้เทคนิคการปรุงและการรับประทานที่สมดุลด้วย โรคภัยไข้เจ็บจึงจะทุเลาเบาบางลงหรือหายไป 2.5 พิษจากของเสียและความร้อน จากขบวนการย่อย การสันดาปหรือการเผาผลาญอาหาร เนื่องจากเซลล์เนื้อเหยื่อมนุษย์ทุกอวัยวะทำงานตลอดเวลา ทุกขบวนการทำงานของเซลล์เนื้อเหยื่อต้องใช้พลังงานจากการสันดาปเผาผลาญอาหารตั้งแต่การย่อยสันดาปเผาผลาญอาหารระดับหยาบๆ เช่นการเคี้ยวย่อยอาหารในปาก การย่อยและดูดซึมในกระเพาะอาหารลำไส้ จนถึงระดับละเอียด คือ การย่อยสันดาปเผาผลาญอาหารในระดับเซลล์ ซึ่งการย่อยสันดาป เผาผลาญอาหารทุกครั้งทุกระดับจะเกิดของเสียและความร้อนที่เป็นพิษกับร่างกายขึ้นเช่น เกิดคาร์บอนไดออกไซม์ เกิดแอมโมเนีย เกิดสารและพลังงานที่เป็นพิษอื่นๆ ถ้าไม่รีบสลายหรือขับพิษออก พิษดังกล่าวก็จะทำลายเซลล์เนื้อเหยื่อของร่างกาย 2.6 พิษจากการไม่รู้เทคนิคในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างผาสุก และไม่รู้วิธีปฏิบัติในการลดละ ล้างความอยากในจิตต่ออาหารที่เป็นพิษ อย่างถูกตรง 3. พิษจากการไม่ออกกำลังกาย หรือ การออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวอริยบทไม่ถูกต้อง สำหรับการออกกำลังกายและอริยบทที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับร่างกายนั้นจะต้องได้คุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ 1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นเอ็น 2. ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 3. การเข้าที่เข้าทางของกระดูก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ เพราะคุณลักษณะทั้ง 3 ประการนี้จะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลม และพลังงานในร่างกายเป็นไปโดยปกติอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดี แต่ปัจจุบันการออกกำลังกายและอิริยาบถของคนส่วนใหญ่โดยทั่วไป เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก หรือเล่นกีฬาต่างๆ มักทำแต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยืดหยุ่นเข้าที่เข้าทาง จึงมักจะได้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พร้อม กับผลข้างเคียงของการออกกังกายคือความแข็งตึงเกร็งค้างของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปกติทางของกระดูก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมและพลังงานในร่างกายติดขัด ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดตึง มึนชา พลังชีวิตตก เร่งความเสื่อมในร่างกายและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้นการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวอริยบทเพื่อให้เกิดความแข็งแรง เกิดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การเข้าที่เข้าทางของกระดูก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ 4.มลพิษต่างๆ ในโลกเพิ่มมากขึ้น 5.พิษจากการสัมผัสเครื่องยนต์/ เครื่องใช้ไฟฟ้า/เครื่องอิเลคทรอนิคมากเกินไป เช่นการเดินทางด้วยรถยนต์ รถมอเตอร์ไซต์ การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้มือถือ ใช้เครื่องเสียงต่างๆ อย่างไม่รู้ความสมดุลและไม่รู้วิธีถอนพิษ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวมีพลังงานความสั่นสะเทือนมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าเข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะชนกระแทกทำร้ายเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้เร่งความเสื่อมของร่างกายและก่อโรคภัยไข้เจ็บได้ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของการป้องกันแก้ไขปัญหา เช่น ขณะที่โดยสารยานยนต์ เมื่อเครื่องยนต์เขย่า แต่ละเซลล์ของร่างกายก็จะถูกเขย่าเสียดสีกระทบกระแทกกัน เกิดความร้อนขึ้น ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือมีอาการไม่สบายต่างๆ วิธีแก้ไขขณะโดยสารยานยนต์ คือ ถ้าง่วงก็ให้นอนหลับ เมื่อตื่นแล้วรู้สึกไม่สบายก็ควรดื่มน้ำเท่าที่รู้สึกสบายเพื่อดับพิษร้อน ในกรณีที่สามารถจอดรถแวะเข้าห้องน้ำหรือในยานยนต์มีห้องน้ำ ถ้าปวดปัสสาวะก็ควรจะเข้าห้องน้ำเพื่อระบายพิษร้อนออก พร้อมกับยืดเส้นยืดสายให้ร่างกายสบาย กรณีที่ไม่สามารถจอดแวะหรือในยานยนต์ไม่มีห้องน้ำ ให้จิบน้ำทีละน้อย โดยอมน้ำไว้ในปากนานๆ แล้วค่อยกลืน จะทำให้เราไม่ปัสสาวะบ่อย ขณะเดินทางอาจถอนพิษด้ายการพอก ทา หยอด ดมสมุนไพร ขูดพิษ กดจุด นวดตัว ดัดตัวตามความพอเหมาะ เดินทางถึงที่หมายแล้วรู้สึกอ่อนเพลียหรือไม่สบาย แสดงว่ามีภาวะร้อนเกินจากการเดินทาง ก็ให้ถอนพิษร้อนตามวิธีการที่จะได้นำเสนอไว้ ทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกไม่สบายจากการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เช่น อ่อนเพลีย แสบตา เป็นต้น ให้พักการใช้พร้อมกับพรากห่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วถอนพิษร้อนด้วยวิธีการต่างๆ ถ้ารู้สึกสบายดีแล้วค่อยกลับไปใช้คอมพิวเตอร์ อีกครั้ง การใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้สายหูฟังพิษจะน้อยลง หรือใช้ลำโพง คลื่นก็จะไม่ทำร้ายเรามาก ถ้าต้องแนบมือถือที่หู เมื่อรู้สึกไม่สบายที่หูข้างหนึ่งก็ให้เปลี่ยนมาใช้อีกข้างหนึ่งสลับไปมา และควรใช้เวลาพูดธุระให้สั้นที่สุด ยังมีต้นเหตุของความเจ็บป่วยอย่างอื่นๆ อีก แต่ต้นเหตุหลักอย่างน้อย 5 ประการดังกล่าว เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุดที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทุกโรคทุกอาการ เช่น มะเร็ง เนื้องอก โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ภูมิแพ้ (หวัด ไซนัส หอบหืด ผื่นคัน) เก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดตามข้อ ปวดกระดูก ปวดตามเนื้อตัว ปวดมดลูก มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร ต่อมลูกหมากโต ไส้เลื่อน นิ่วตามอวัยวะต่างๆ ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน มึนชา อ่อนล้า อ่อนแรง โรคกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบการอักเสบและติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และภูมิต้านทานลด เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะส่วนใดของบุคคลนั้นอ่อนแอที่ตรงไหนก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรืออาการไม่สบายที่จุดนั้นก่อน หลังจากนั้นถ้าต้นเหตุยังคงอยู่ โรคก็จะลุกลามกระจายไปทำลายอวัยวะอื่นๆ ต่อไป ถ้าเรารู้จักปรับสมดุลถอนพิษจากต้นเหตุหลักดังกล่าวและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ถ้าผู้ป่วยคนนั้นยังมีพลังชีวิตอยู่และผลของการกระทำทั้งชาตินี้และชาติก่อนไม่ส่งผลรุนแรงจนเกินไป โรคภัยไข้เจ็บก็จะทุเลาเบาบางลงหรือหายไป แม้ผู้ป่วยแทบจะหมดพลังชีวิตแล้วหรือผลของกรรมเก่าทั้งชาตินี้และชาติก่อนจะส่งผลรุนแรง ผู้เขียนก็ยังมีความเห็นว่า การดูแลแก้ไขถอนพิษปรับสมดุลก็ควรจะกระทำอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็อาจจะช่วยให้ทุเลาเบาบางจากอาการที่ไม่สบายลงได้บ้าง อาจะช่วยยืดอายุ หรือผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตโดยไม่ต้องทรมานมากเกินไป อาการของภาวะร้อนเกินและเย็นเกิน เมื่อเกิดความไม่สมดุลในร่างกาย ก็จะทำให้เกิดอาการไม่สบายและเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆ ในวิทยาศาสตร์สุขภาพทางเลือกจะแบ่งอาการไม่สบายออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ภาวะร้อนเกิน 2. ภาวะเย็นเกิน 3. ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกัน การเรียนรู้อาการดังกล่าวจะช่วยปรับสมดุลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แม้พระพุทธเจ้าเองพระองค์ก็ทรงให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลภาวะร้อนเย็นของร่างกายดังคำตรัสในพระไตรปิฎก เล่มที่ 11 “สังคีติสูตร” ข้อที่ 239 กล่าวถึงที่ตั้งแห่งความเพียร 5 อย่าง หนึ่งใน 5 ข้อนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “เป็นผู้มีโรคน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วย เตโชธาตุ (ความร้อนภายในร่างกาย) อันมีวิบาก (ผล) เสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร” จากคำตรัสของพระพุทธเจ้าจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะมีโรคน้อยมีทุกข์น้อย มีสุขภาพแข็งแรงอันเป็นสภาพที่พร้อมจะเพ่งเพียรปฏิบัติกิจกรรมการงานปฏิบัติสู่การพ้นทุกข์นั้น จะต้องมีการปรับความร้อนเย็นในร่างกายให้สมดุล ดังนั้นผู้ที่รักสุขภาพ จังควรจะได้ทราบอาการเจ็บป่วยไม่สมดุลของร่างกายแบบต่างๆ เพื่อจะได้ปรับสมดุลได้ถูกต้อง อาการของความเจ็บป่วยจะได้ทุเลาลงหรือหายไป วิธีทดสอบฤทธิ์ร้อน/เย็นของอาหาร หรือสมุนไพรและภาวะร้อนเกิน/เย็นเกิน • อาหารหรือสมุนไพรใดก็ตามกินไปแล้วชุ่มปากชุ่มคอ เมื่อดื่มน้ำตามแล้วรู้สึกไม่อร่อย รสชาติจืดชืดกว่าปกติหรือไม่สดชื่น เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงให้รู้ถึงการไม่ต้องการความเย็นมาเพิ่ม อาหารหรือสมุนไพรชนิดนั้นมีฤทธิ์เย็น ถ้ากินฤทธิ์เย็นมากๆ เกินความพอดีจะเกิดอาการกำลังตกและไม่สบาย คืออาการของภาวะเย็นเกิน • ถ้ากินอาหารหรือสมุนไพรใดเข้าไปแล้วอาการเย็นเกินลดลงหรือหายไป สิ่งนั้นมีฤทธิ์ร้อน • อาหารหรือสมุนไพรใดก็ตามกินเข้าไปแล้ว ปากคอแห้ง น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ หรือเมื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้วสดชื่น สบายขึ้น อาหารชนิดนั้นมีฤทธิ์ร้อน เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงให้รู้ถึงการต้องการความเย็นมาลดความร้อน ถ้ากินสิ่งร้อนนั้นมากเกินพอดี กำลังจะตกและเกิดอาการไม่สบาย อาการดังกล่าวเป็นภาวะร้อนเกิน ถ้ากินสิ่งใดเข้าไปแล้วอาการดังกล่าวลดลงหรือหายไป สิ่งนั้นมีฤทธิ์เย็น ตัวอย่างอาการของภาวะร้อนเกิน -ตาแดง ตาแห้ง น้ำตาแห้งท่อน้ำตาอุดตัน แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้นเหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา เป็นต้อชนิดต่างๆ หนังตาตก ขนคิ้วร่วง ขอบตาคล้ำ ขอบตาลึกโบ๋เหมือนคนอดนอน บางคนพิษร้อนจากไทรอยด์เป็นพิษดันลูกตาออกมา -มีสิว ฝ้า -มีตุ่ม แผลในช่องปากด้านล่าง ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันผุ -หอบหืด นอนกรน สะอึก ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย -ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รังแค รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง -ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดตึงตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย -มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ -ปวด บวม แดง ร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ -กล้ามเนื้อตึง แข็ง เกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ -ผิวหนังผิดปกติคล้ายมีรอยไหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย ติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ -ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย -ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็กคล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก (ปกติท้องเสียเป็นภาวะเย็นเกิน ณ ปัจจุบัน หลายครั้งที่อาการท้องเสียเกิดจากภาวะร้อนเกิน หรือร้อนตีกลับเป็นเย็น) -ปัสสาวะปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตีสอง (คนที่ร่างกายปกติสมดุลจะไม่ลุกปัสสาวะกลางดึก) -ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการท้องอืดร่วมด้วย (ท้องอืดแต่เดิมโดยทั่วไปเป็นภาวะเย็นเกิน แต่ปัจจุบันมักเกิดจากภาวะร้อนเกิน หรือร้อนตีกลับเป็นเย็น) -ผิวหนังอักเสบ มีผื่น ปื้นแดง คัน มีตุ่มใสหรือขุ่น -เป็นเริม งูสวัด สะเก็ดเงิน โรคหนังแข็ง -หายใจร้อน ไอ เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่นสีเหลืองหรือสีเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ -โดยสารยานยนต์ มักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง -เลือดกำเดาออก -มักง่วงนอนหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ -เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด -เล็บมือ เล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ -หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศร้อนหรือเปลี่ยนอริยบทเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง -เจ็บเหมือนมีเข็มแทง หรือไฟฟ้าช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย -อ่อนล้า อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมาก แม้นอนพักก็ไม่หาย -รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก -เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ จะเจ็บแปล๊บที่หน้าอกอาจร้าวไปถึงแขน -เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง -หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง (หูดับตับไหม้) ได้ยินเสียงแปลกๆในหู น้ำในหูไม่เท่ากัน -ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า รองช้ำ ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต -กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง ชัก -พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ตัวอย่างภาวะเย็นเกิน - หน้าซีดผิดปกติจากเดิม - มีตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน - ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว - เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส - หนักหัว หัวตื้อ - ริมฝีปากซีด - ขอบตา หนังตาบวมตึง - เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งกระปรี้กระเปร่า - ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน - ผิวหนังบวมตึง แต่ไม่ร้อน - เจ็บหน้าอกด้านขวา - หายใจไม่อิ่ม - ท้องอืด จุกเสียด แน่น - ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก - อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย - มือเท้าชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย - ตกกระสีขาว - มักมีเชื้อราขาวตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้าเล็บยาวแคบกว่าปกติ (มีความยาวของเล็บมากกว่าความกว้างมาก) ตัวเล็บและโคนมีสีขาวซีดกินพื้นที่มากเกินปกติ - เท้าบวมเย็น ตัวอย่างอาการร้อนและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน มีไข้สูง แต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า , ปวดศีรษะ ตัวร้อนร่วมกับท้องอืด , ปวด บวม แดง ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา เป็นต้น กรณีที่ไม่แน่ใจว่าร่างกายเราไม่สมดุลแบบใด ให้แก้ภาวะร้อนเกินไว้ก่อน เพราะคนส่วนใหญ่ ณ ยุคปัจจุบันประมาณ 80% จะป่วยด้วยภาวะร้อนเกินอย่างเดียว ส่วนผู้ที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดพร้อมกันมีประมาณ 15% สำหรับผู้ที่มีภาวะเย็นเกินอย่างเดียวมีประมาณ 5% ถ้าปฏิบัติแก้ภาวะร้อนเกินอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ อาจเป็นภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ให้แก้ภาวะดังกล่าวและถ้าแก้อย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ให้ทดลองแก้ภาวะเย็นเกินภายใน 1 สัปดาห์ ถ้ายังไม่ดีขึ้น ก็ให้เริ่มตั้งศูนย์ล้างพิษออกจากร่างกายใหม่ ด้วยการงดอาหารจนกว่าจะรู้สึกโหยล้าหรือหอมข้าวหรือหิวบ่อย อาหารไม่อยู่ท้อง จึงค่อยเพิ่มข้าวหรืออาหารที่ให้พลังงานความร้อนมากขึ้น ตามความพอดีของร่างกายที่จำทำให้เกิดพลังชีวิตสูงสุด คือ สบาย เบากายและมีกำลัง โดยในการปรับสมดุลทุกลำดับให้ทำไปพร้อมๆ กับการถอนพิษปรับสมดุลที่ถูกกับร่างกายเรา คือ เมื่อเราทำแล้วรู้สึกสบาย เบากายหรือมีกำลังขึ้น ดังเทคนิค 9 ข้อของการพึ่งตนในการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 4 : วิเคราะห์หาแนวทาง/โอกาสพัฒนาและกำหนด Action plan จาก GAP ที่พบ ทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 5 : จัดหาแผ่นพับที่เกี่ยวกับการดูแลตนเองด้วยการแพทย์วิถีธรรม ยาเก้าเม็ด ดังนี้ 1.การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล 2.การกัวซาขูดพิษหรือขูดซา 3.การสวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีท๊อกซ์) 4.การแช่มือ แช่เท้าด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน 5.การพอก ทา ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน 6.การออกกำลังกาย โยคะ กดจุดลมปราณ 7.การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย 8.ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญ ทำจิตใจให้ผ่องใสคบมิตรดีสหายดี สร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี 9.รูเพียรรู้พักให้พอดี ขั้นที่ 6 : สื่อสารวิธีการใช้นวตกรรมให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง นำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตเทศบาลตำบลนาคู โดยจัดเข้าค่ายสุขภาพแพทย์วีถีธรรม 3 วัน (แบบไป – กลับ ) และร่วมค่ายใหญ่ ณ ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ขั้นที่ 7 : เก็บรวบรวมผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าค่ายสุขภาพแพทย์วีถีธรรม 3 วัน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 255๙ – มิถุนายน 2560 ขั้นที่ 8 : สรุปผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรม ติดตามผลตัวชี้วัดเรื่องการลดน้ำหนัก รอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด ให้รางวัลแก่ผู้รับบริการที่น้ำหนัก รอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ด้วยกัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง