ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายเนรมิต โคตรพัฒน์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบผู้ติดเชื้อ 4,022 คน โดยค่าความชุกการป่วย ด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับจังหวัดกาฬสินธุ์ เท่ากับร้อยละ 22.3 อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีอัตราตายต่อแสนประชากร ด้วยโรคเนื้องอกที่ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี มีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังมีบางปีที่ขึ้นสูง โดยในปี 2558 ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 85.38 พบผู้ติดเชื้อ 86 คน ตรวจซ้ำ ปี 59 พบ 16 คน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ และพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ ตับในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลดงพยุง จำนวน 60 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจา (Verbal Screening) การตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ และอัลตราซาวด์ และสะท้อนผลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ ระยะที่ 2 ปฏิบัติการ โดยการจัดสนทนากลุ่ม เพื่อสะท้อนปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข ระยะที่ 3 ประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า จากการคัดกรองความเสี่ยงด้วยวาจา จำนวน 330 ผลงาน 327 คิดเป็นร้อยละ 99.09 พบผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 43.94 และได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ ร้อยละ 100 จากการสนทนากลุ่ม พบว่า ปัญหาพยาธิใบไม้ตับในชุมชนเกิดจากการรับประทานก้อยปลาดิบ ลาบปลาดิบและส้มตำใส่ปูปลาร้า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่ไปหาปลาเป็นกลุ่ม จากอ่างห้วยแกงอยู่ใกล้กับชุมชนโดยนำปลาสดขนาดเล็กมาปรุงเป็นอาหารประเภทก้อยดิบ รับประทานร่วมกันพร้อมกับดื่มสุราขาว บริเวณข้างแหล่งน้ำสำหรับลาบปลาดิบจะทำในกรณีที่ได้ปลาขนาดใหญ่ บางครั้งนำมาประกอบอาหารรับประทานร่วมกับคนในครอบครัวที่บ้าน มีความเชื่อว่าการรับประทานดิบรสชาติอร่อยกว่านำมาปรุงให้สุกโดยผ่านความร้อน ผลการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้แก่ การนำความรู้ไปขยายผล ให้ประชาชนในหมู่บ้านและนักเรียน โดยใช้ สื่อภาพยนตร์ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ และเชิญญาติผู้ที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับ/ท่อน้ำดีมาเล่าประสบการณ์ของการดูแลผู้ป่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมฟังโดยมอบหมายให้ แกนนำชุมชนไปถ่ายทอดความรู้ให้ แก่ประชาชนในหมู่บ้าน จัดรณรงค์เรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในหมู่บ้าน ประกวดอาหารปลอดภัย ร้องสรภัณ-ญะ ในชุมชน สร้างแกนนำนักเรียนในชุมชนออกเยี่ยมดูแลและให้คำแนะนำแก่กลุ่มเสี่ยง และ ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีและญาติในชุมชน โดยออกร่วมกับทีม “หมอครอบครัว (Family care team)”  
ข้อเสนอแนะ : จากการวิจัยในครั้งนี้ สะท้อนข้อมูลให้หัวหน้าส่วนราชการให้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหา และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกรสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชนอำเภอสนับสนุนให้เกิดการผลิตสินค้า OTOP ที่ปลอดภัย  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง