ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง (LTC)
ผู้แต่ง : นางปรานอม โพธิ์ทองและคณะ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ประชาชนที่โรงพยาบาลรับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพในพื้นที่เทศบาลตำบลกมลาไสยมีผู้สูงอายุจำนวน ๑,๗๔๙ จากประชากรทั้งหมด ๑๐,๔๘๔ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๘ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งเทศบาลตำบลกมลไสย ได้สมัครเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตามนโยบายรัฐบาล และได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากเทศบาล โรงพยาบาลและชุมชนขึ้นมาเพื่อดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบการดูและผู้สูงอายุระยะยาว ภายได้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ขอนแก่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด โดยผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้การดูแลจากครอบครัวและนักบริบาลชุมชนอย่างดี ในส่วนของโรงพยาบาลกมลาไสยที่เป็นหน่วยบริการได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ประกอบด้วยบุคลากรวิชาชีพต่างๆทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย เภสัชกร นักโภชนาการ โดยอาศัยการเยี่ยมบ้านและภาคีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้แบบ ADL แล้วนำมาวิเคราะห์แยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น ๓ กลุ่ม โดย จากผู้สูงอายุ ๑,๗๔๙ คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคม ๑,๖๖๖ คน ติดบ้าน ๖๒ คนและติดเตียง ๒๒ คน พร้อมกันนั้นคณะกรรมการได้กำหนดคุณสมบัตินักบริบาลชุมชน ประกาศรับสมัครและสอบคัดเลือก จาก ๓๕ คน เหลือ ๑๘ คน เพื่อเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนักบริบาลผู้สูงอายุ ด้วยคณะวิทยากรและหลักสูตรตามมาตรฐาน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อรองรับระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่าย 3.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงเขตรับผิดชอบรพ.กมลาไสย  
เครื่องมือ : กระบวนการกลุ่มและแบบประเมินผู้สูงอายุ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินการได้จัดระบบโดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหัวหน้าคณะ มีผู้จัดการทีมงาน 4 สายจัดให้มีชุมชนที่รับผิดชอบ แต่ละสายมีนักบริบาลชุมชน (Care giver) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนนั้นๆ มีการประเมินผู้สูงอายุและจัดกลุ่มชัดเจน ผู้ดูแลจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุแต่ละคน (Care plan) แล้วนำเสนอคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสม พร้อมทั้งจัดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการดำเนินการแล้วออกให้บริการดูแลตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละราย (Case conference) เป็นประจำ นักบริบาลชุมชน(Care giver)  
     
ผลการศึกษา : ผลการดำเนินงานพบว่า มีผู้สูงอายุที่เข้าตามเกณฑ์การดูแลจำนวน ๘๔ คน โดยแยกตามกลุ่มและผู้จัดการทีมดังตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑.แสดง ผลการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โรงพยาบาลกมลาไสย ๒๕๕๙ CM สิทธิ UC สิทธิ อื่นๆ กลุ่ม๑ กลุ่ม๒ กลุ่ม๓ กลุ่ม๔ รวม จำนวน Care planท่pทำในพ้ในท่ใ พ้ในท่ใท่ใมีการจ่ายค่าตอบแทน ผู้สูงอายุดีขึ้น ติดบ้านเป็นติดสังคม ติดเตียงเป็นติดบ้าน ปรานอม ๑๗ ๑ ๑๗ ๐ ๐ ๑ ๑๘ ๖๖ ๘๔ ๑ ๐ ดารัตน์ ๑๒ ๑๒ ๓ ๖ ๑ ๔ ๑๔ ๘ ๐ พรรษณภัทร ๑๘ ๕ ๑๘ ๔ ๕ ๖ ๓๓ ๑ ๔ วรัญญา ๑๙ ๐ ๑๐ ๔ ๕ ๐ ๑๙ ๖ ๐ รวม ๖๖ ๑๘ ๔๗ ๑๔ ๑๔ ๑๑ ๘๔ ๑๖ ๕ จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นจากเป็นผู้ติดเตียง จำนวน ๑๑ คน สามารถมาใช้ชีวิตในบ้านตนเองได้ จำนวน ๕ คน และจากติดบ้านจำนวน ๖๑ คนกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ ๑๖ คน รวมทั้งทำให้เกิดกลุ่มคนที่เสียสละ จิตอาสาที่เป็นนักบริบาลที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและคณะอนุกรรมการให้การสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)