ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายวิทยา พลนาคู ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคมที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นรูปแบบของความรุนแรง มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ความเครียด และปัญหายาเสพติด ดังปรากฏตามข่าว เหตุการณ์ดังกล่าวผู้ก่อเหตุอาจเป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่อาชญากรแต่เป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวและเครือข่ายครอบครัวในชุมชนตำบลแจนแลน ในมิติของระดับความเข็มแข็งของครอบครัวทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพ ด้านการทำบทบาทหน้าที่ของครอบครัว ด้านพึ่งตนเอง (เศรษฐกิจ สุภาพ ข้อมูลข่าวสาร) ด้านทุนทางสังคม และด้านการหลีกเลี่ยงและการปรับตัวได้ในภาวะยากลำบาก พบว่าระดับความสำคัญของปัญหานั้นอยู่ในระดับที่จะต้องมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายคนทำงานด้านครอบครัวให้เป็นรูปธรรม และมีศักยภาพการทำงานเป็นกลุ่ม ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันหรือการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือ ประสานพลัง ระดมทรัพยากรทั้งด้านความรู้ บุคลากร งบประมาณ โดยมีเป้าหมายคือการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงของชุมชน หรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับได้ว่าคณะทำงานและเครือข่ายเป็นทุนทางสังคมที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรง ช่วยในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินโดยชุมชน และเป็นการดำเนินงานสุขภาพจิตแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้นำชุมชน 9 คน ,อสม.9 คน,ตำรวจ 2 นาย,เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 คน ,นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจนแลน 1 คน ,เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อบต.แจนแลน 2 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน  
เครื่องมือ : เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม,แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช และการดูแลผู้ป่วย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research ) โดยการประชุมชี้แจง คืนข้อมูลและให้ความรู้แก่คณะทำงานและเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 9 คน ,อสม.9 คน,ตำรวจ 2 นาย,เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 คน ,นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจนแลน 1 คน ,เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อบต.แจนแลน 2 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ การถอดบทเรียน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง