ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อลดอัตราการตาย
ผู้แต่ง : นายเฉลิมพล โพธิ์สาวัง พยาบาล ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรค คือโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอท่าคันโท เนื่องจากมีความชุก 171ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทขึ้นทะเบียนรักษาเฉลี่ย55-60 คนต่อปี ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงานวัณโรคคือ ค้นให้พบ จบด้วยหาย ตายเป็นศูนย์ ซึ่งเป้าหมายความสำเร็จการรักษาวัณโรคไม่น้อยกว่าร้อยละ90 เร่งรัดการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ90ซึ่งผลการดำเนินงานของอำเภอท่าคันโท ปี 2556-2558 พบว่าอัตราความสำเร็จการรักษาวัณโรค90.1%, 85.5% และ89.1% ตามลำดับ และมีอัตราการตายผู้ป่วยวัณโรค 2.5%,4.3%และ 3.8% ตามลำดับ ซึ่งการวิเคราะห์พบว่าอัตราตายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราความสำเร็จการรักษาวัณโรคไม่ได้ตามเป้าหมาย และเมื่อมาวิเคราะห์สาเหตุผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต เกิดในผู้ป่วยที่กลับไปอยู่ที่บ้าน ขาดการประเมินผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาทันท่วงที  
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดอัตราตายในผู้ป่วยวัณโรค ในพื้นที่อำเภอท่าคันโท  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยวัณโรคที่รับการรักษาซับซ้อนในชุมชน เขตอำเภอท่าคันโท  
เครื่องมือ : แบบบันทึกการรักษาผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มซับซ้อนทางคลินิก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1 การแต่งตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการPCT ,คณะกรรมการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง(COC) ,คณะกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรค, คณะกรรมการlong term care, เพื่อวิเคราะห์และออกแบบแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มีความเสี่ยงสูงที่บ้าน 2 การจำแนกผู้ป่วยวัณโรคเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยวัณโรคที่มีความเสี่ยงน้อย คือผู้ป่วยอายุ 20-50 ปี ไม่มีโรคร่วม ให้ความร่วมมือในการรักษา ไม่มีอาการข้างเคียงจากยาวัณโรค กลุ่มที่ 2ผู้ป่วยวัณโรคที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือผู้ป่วยอายุ20-50 ปี มีโรคร่วม แต่สามารถควบคุมอาการได้ดี ให้ความร่วมมือในการรักษา ไม่มีอาการข้างเคียงจากยาวัณโรค กลุ่มที่ 3 ผู้ป่วยวัณโรคที่มีความเสี่ยงน้อย คือผู้ป่วยอายุน้อยกว่า20 ปี และมากกว่า50 ปี มีโรคร่วมควบคุมอาการไม่ได้ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค ขาดความร่วมมือในการรักษา มีอาการข้างเคียงจากยาวัณโรค เช่น ตับอักเสบ ผื่นคัน ตาพร่ามัว และไตเสียหน้าที่ จากการวิเคราะห์ทีม PCT และคณะกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรค พบว่ากลุ่มที่มีอัตราการตายสูงคือกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่ความเสี่ยงสูงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่กลับไปอยู่บ้าน ขาดการประเมินและดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยผู้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่ถูกต้อง 3.จัดประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผน และออกแบบระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4.TB Clinic และแพทย์ ประเมินผู้ป่วยแรกรับและทุกครั้งที่มารับบริการ เพื่อคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง 3 กลุ่ม 5.ประสานทีมงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ทีมดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ ได้แก่ COC ,caregiver,PCT,Long term care, โดยทีมจะได้รับการพัฒนาความรู้ได้แก่ 1 ความรู้เรื่องวัณโรค 2 การรักษาวัณโรค 3 การแพร่กระจายเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อในชุมชน 4 อาการข้างเคียงจากยา และการประเมินผู้ป่วย 5 อาการผิดปกติที่รีบมาพบแพทย์ 6 การประสานงานกับทีมสุขภาพ TB Clinic  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง