ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จ
ผู้แต่ง : อรษา ศรีเวียง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นโรคที่คนไทยและคนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพาตเพราะเมื่อสมองขาดเลือดเกิน 4 ชั่วโมง สมองส่วนนั้นจะตาย ประมาณ1ใน3รักษาหายอีก1ใน3พิการ และอีก1ใน3ตาย โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดประสาททำให้การไหลเวียนเลือดไป เลี้ยงสมองผิดปกติสาเหตุเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดสมองแตก ส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรง การพูด การมองเห็นผิดปกติ หากรุนแรงอาจเสียชีวิตหรือพิการจากสถิติโรงพยาบาลสมเด็จมีอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นทุกปีจากปี2558จำนวน 131 รายในปี2559จำนวน194รายและในปี2560เพิ่มเป็น227ราย(ฝ่ายเวชสถิติ กพ 2561) จากการทบทวนวรรรณกรรมงานวิจัย ของ จิตลัดดา(2555) ประสานวงศ์ เรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสะเกษพบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้น ตั้งแต่กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย การส่งต่อเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาลเมื่อเกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลรักษาโดยทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาล การให้คำแนะนำพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก ตลอดจนการส่งต่อการดูแลสู่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานในชุมชนติดตามเยี่ยมเพื่อให้ความช่วยเหลือตามปัญหาและความต้องการแต่ละบุคคลการผู้ป่วยเข้าถึงบริการของสหวิชาชีพ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค การประเมินปัญหาและตอบสนองความต้องการได้แม่นยำและครอบคลุม ดังผลการตรวจวินิจฉัยตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น และอัตราการตายที่ลดลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุลและอรวรรณ อนามัย (2559)เรื่อง การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี พบว่าการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันด้วยยาละลายลิ่มเลือดเป็นการรักษาที่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาดังนั้นการพัฒนาระบบบริการพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญต่อประสิทธิภาพการรักษา การวินิจฉัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี โดยใช้กรอบแนวคิด ทฤษฎีระบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอดุ ตันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลราชบุรี พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผลการศึกษา พบว่าหลังการพัฒนาระบบดังกล่าว ผู้ป่วยมีจำนวนวันนอนลดลง ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาตั้งแต่เข้ามาในโรงพยาบาลถึงการได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 60 นาทีมีจำนวนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยและค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยก่อนจำหน่ายเพิ่มขึ้น ความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก พยาบาลมีการปฏิบัติตามมาตรฐานอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของทีม สหวิชาชีพอยู่ในระดับมาก ผลการวิจยัแสดงว่าการพัฒนาระบบบริการพยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการพยาบาลที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงควรมีการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโรงพยาบาลสมเด็จจึงให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ เพื่อหาแนวทางลดปริมาณการเกิดโรค โดยการส่งเสริมและป้องกัน การจัดระบบการเข้าถึงบริการของประชาชนในเขตรับผิดชอบ มีการจัดระบบ Stroke Fast track เผื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเข้าถึงการรักษา และการส่งรักษาต่อโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าอย่างรวดเร็ว และโรงพยาบาลสมเด็จมีแบบแผนในการดูแลผู้ป่วยที่กลับมารักษาฟื้นฟูภายหลังจากการรักษา เพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการบริการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างต่อเนื่อง 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่บุคลากรสาธารณสุข ประชาชนทั่วไป และญาติในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง 3.เพื่อให้ควานรู้แก่ประชาชนทั้งในสถานบริการและชุมชนในการป้องกันและเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็วและทันเวลา  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จ  
เครื่องมือ : แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการจัดการบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในเครือข่าย กำหนดนโยบาย และกำหนดบทบาทหน้าที่ 2.จัดประชุมทีมภาคีเครือข่ายเพื่อชี้แจ้งการดำเนินงาน 3.การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือด ดังนี้ เนื่องจากระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะก่อนมาโรงพยาบาล (Pre-hospital) เป็นการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติที่ต้องตรวจรักษา 2.ระยะเฉียบพลัน (acute stroke treatment) โดยบริหารจัดการระบบการดูแลตั้งแต่แรกรับที่ตึกอุบัติเหตุจนถึงหอผู้ป่วย 3.ระยะฟื้นฟูสภาพ (early rehabilitation) ส่งเสริมการฟื้นหายลดความพิการและภาวะแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด จากการวิเคราะห์ปัญหาการดูแลผู้ป่วย 1.ระยะก่อนมาโรงพยาบาล (Pre-hospital) พบว่า 1) ไม่มีรูปแบบเฉพาะสำหรับคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) ระบบการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการดูแล จากผู้เชี่ยวชาญในระบบบริการสุขภาพยังไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2.ระยะเฉียบพลัน( Acute stroke trentment) พบว่า หน่วยงานด่านหน้า/หน่วยงานผู้ป่วยในยังไม่มีรูปแบบการดูแลเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน การเข้าถึงบริการของประชาชนไม่ทั่วถึง และระบบการบันทึกฐานข้อมูลผู้ป่วยไม่สามารถนำ มาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อพัฒนาระบบได้ 3.ระยะฟื้นฟู (early rehabilitation) ขาดความเชื่อมโยงกันระหว่างหน่อยงานซึ่งบางรายกรณีผู้ป่วยที่ กลับจากโรงพยาบาลจังหวัดไม่ได้มาF/U ที่โรงพยาบาลสมเด็จ การส่งต่อข้อมูลการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจังหวัดยังช้าอยู่ระบบที่เคยปฏิบัติไม่ได้เชื่อมโยงการดูแลกับหน่วยติดตามเยี่ยมบ้าน คลินิกโรค อัมพฤกษ์ อัมพาตและสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นเครือข่าย การพัฒนาระบบบริการในระยะก่อนมาโรงพยาบาล( Pre hospital) 1.การส่งเสริมป้องกันปัจจัยการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(Heath Promotion) โดยรณรงค์ตามหลัก 3อ.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) 2ส.(งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) 2.Primary Prevention 2.1 การจัดการปัจจัยเสี่ยง (Risk factor Management) - จัดระบบการบริการโรคหลอดเลือดสมองเชิงรุกในชุมชน เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง - เฝ้าระวังติดตามกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงโดยประสานงานกับPCU ที่รับผิดชอบ -ในกรณีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก พิจารณาส่งพบแพทย์เพื่อการรักษา -การจัดตั้ง Stroke prevention clinic 3.Pre-hospital 1 การสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke network) 2 การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke awareness) 3 การส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันเกี่ยวการปฎิบัติตัวเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke alert) 4 การพัฒนาระบบ EMS ให้เป็น EMS super fastract. 4. การเข้าถึงบริการ 1.1 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจ้งโครงการ - คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรค การปรับเปรนียนพฤติกรรม การรักษา - จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองแก่กลุ่มเสี่ยง - จัดทำคู่มือการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองสำหรับเครือข่าย - จัดระบบการส่งต่อระหว่างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ - จัดทำแนวทางปฏิบัติการส่งต่อระหว่างเครือข่าย - รณรงค์การป้องกันการเกิดโรคโดยการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เสียงตามสายเทศบาล ป้ายไวนิล แผ่นพับ - จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 4.การวินิจฉัยและการรักษา(In-hospital) 1.การลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนบริการและการรักษา - Door to Door ภายใน 30 นาที - Door to Refer ภายใน 30 นาที - Door to CT ภายใน 30 นาที - Door to lab ภายใน 30 นาที - Door to needle time ภายใน 60 นาที 2. กำหนด Guideline ให้ตั้งแต่ รพช.จนถึง รพท.ให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน 3. มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเมื่อเกิด Strokeในโรงพยาบาล รพช.ลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน บริการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับตรวจรักษาที่รวดเร็ว (EMS super fasttract)โดย -มีแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง -มีแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจากชุมชน/รพช.(refer in) - มีแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า (refer out) 4.จัดทำ CPG การดูแลรักษาผู้ป่วยใน รพช.และ รพ.สต.ผู้ป่วย Stroke ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน -ระยะเฉียบพลัน (Acute phase) -ระยะฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation) -ระยะการป้องกันภาวะแทรกซ้อน (Complication) 5.ยกระดับการให้บริการโรคหลอดเลือดสมองให้เป็นพี่เลี้ยง (Stroke Node)แก่โรงพยาบาลในเครือข่าย 6.ประเมินสภาพวินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว 7.พัฒนาระบบการเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) 8.การส่งต่อผู้ป่วยสู้ชุมชน และการจัดการปัจจัยเสี่ยง 5. การฟื้นฟูสภาพ (early rehabilitation) 1. จัดทำแนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง - แนวปฏิบัติในการติดตามเยี่ยมบ้านในเขตรับผิดชอบ - แนวปฏิบัติในการส่งต่อข้อมูลการติดตามเยี่ยมรพ.สต - ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแก่ รพ.สต ที่รับผิดชอบ 2.พัฒนาการให้บริการกายภาพบำบัด 3.สอน/สาธิตผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4.ติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 5. การสนับสนุนการดูแลตนเองโปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยการติดตามเยี่ยมบ้าน 6. พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วย 1 ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมความรู้ในการบันทึกและส่งต่อข้อมูล 2 จัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอด-เลือดสมองให้เป็นปัจจุบันและเครือข่ายสามารถเข้าถึงได้ 3.เชื่อมโยงข้อมูล และส่งต่อข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้รวดเร็ว 4.การสร้างกลุ่มไลน์และช่องทางการสื่อสารระหว่างเครือข่ายและประชาสัมพันธุ์แก่ประชาชน 7. พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ 1. จัดอบรมการคัดกรองดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการฟื้นฟูสภาพ 2.ส่งพยาบาลเข้าอบรมพยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง อาการ การรักษา การป้องกันและฟื้นฟูสภาพ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง