|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผลการชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลสมเด็จ |
ผู้แต่ง : |
กัลญา ระมัยวงศ์ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ในปัจจุบันโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก และรวมทั้งในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีการดำเนินของโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage renal disease, ESRD) ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตและการปลูกถ่ายไต (renal replacement therapy) สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้ทำโครงการวิจัย THAI SEEK PROJECT เมื่อปี 2550 โดยสำรวจเพื่อคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่าง 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา แพร่ มหาสารคาม หนองบัวลำภู สกลนคร ชลบุรี ลพบุรี ภูเก็ต สงขลา และกรุงเทพมหานคร ในประชาชนอายุ 18 ขึ้นไปด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และปัสสาวะ เพื่อสำรวจความชุกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประชากรไทยทั่วประเทศและเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไตให้ประชาชนได้ทราบรวมทั้งให้มีความตระหนักถึงผลกระทบของโรคไตเรื้อรัง จำนวนผู้ป่วย ESRD ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 99.4 รายต่อประชากร 1 ล้านราย เป็น 275.29 รายต่อประชากร 1 ล้านราย พบผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1-5 ที่ต้องได้รับการรักษาร้อยละ 20 ในจำนวนนี้ยังไม่เคยได้รับการรักษาร้อยละ 88.4 เพราะไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไต ความชุกของโรคไตเรื้อรังระยะ 1-2 ร้อยละ 8-9 และระดับ 3 ขึ้นไปร้อยละ 8.7 กลุ่มเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังที่ต้องระมัดระวังคือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย) จากเบื้องต้นพอสรุปได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นทุกคนจึงหันมาสนใจดูแลรักษาเชิงป้องกันหรือชะลอไตเสื่อมมากขึ้น ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ไม่ให้โรคดำเนินไปสู่ESRD หรือระยะที่ 5 ซึ่งต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยลดปัจจัยภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเสื่อมของไตได้ร้อยละ 20-50 (ลีนา องอาจยุทธ 2549) การชะลอการเสื่อมของไตจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพร่วมกับกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะในเรื่องของความร่วมมือในการใช้ยา ลดปัญหาที่สัมพันธ์กับการใช้ยา (Drug related problems,DRPs) การติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ การให้ความรู้ คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัว เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการดำเนินสู่ภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยวิธีการที่มีรายงานการศึกษาว่าสามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การควบคุมความดันโลหิต การควบคุมระดับน้ำตาล การลดระดับโปรตีนรั่วในปัสสาวะ การจำกัดอาหารโปรตีน การลดระดับไขมันในเลือดและการหลีกเลี่ยงยา ยาชุด สมุนไพร ที่เป็นผลเสียต่อไต
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
2.เพื่อศึกษาผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
1.แบบบันทึกการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม
2.ระบบข้อมูล จาก HosXP
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
รูปแบบของ structured care
1.มีการติดตามผู้ป่วยโดยพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและพบเภสัชกรทุก visit ที่มารับบริการ
2.มีการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการโดยวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มารับบริการ วัดระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c และการทำงานของไตทุก 2-3 เดือน วัดระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ไขมันในเลือด (lipid profile) และ Ca ทุก 6 เดือน
3. ดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามเป้าหมายของการรักษาดังนี้
- BP <140/90mmHg
- HbA1c <7.5 %
-LDL <100 mg/dl
-พิจารณาให้ยา ACEI หรือ ARB ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามและติดตาม renal function , serum K+ 2 สัปดาห์หลังเริ่มยา และหลังจากนั้น ติดตามต่อเนื่องทุก 8 และ 12 สัปดาห์
-ในการพบผู้ป่วยแต่ละครั้งเภสัชกรจะประเมิน Adherence การใช้ยาผลทางห้องปฏิบัติการและแนะนำปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (life style modification) หากเภสัชกรพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการใช้ยาให้ปรึกษาแพทย์
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|