|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะ Alcohol withdrawal หอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
กาญหทัย จันทะขึ้น |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
กลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา (alcohol withdrawal syndrome) เปนกลุมอาการที่เกิดขึ้น
หลังจากหยุดดื่มแอลกอฮอลหรือลดปริมาณการดื่มลงในคนที่เคยดื่มหนักมาเปนระยะเวลานาน อาการขาดแอลกอฮอลจะเกิดขึ้นเมื่อมีการลดลงของระดับแอลกอฮอล ในเลือดอยางฉับพลัน จากการที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มสุราลงกระทันหัน หลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน ซึ่งในขณะเดียวกัน เมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่ว่าจากการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ จำเป็นต้องมีการหยุดดื่มสุรากะทันหัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของการขาดสุราขึ้น
หอผู้ป่วยในชาย เป็นหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาลสมเด็จ ที่ดูแลผู้ป่วยชายโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยแบ่งเป็น 2ระยะ คือระยะถอนพิษสุรา และระยะฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ โดยมีพยาบาลเป็นผู้ประเมินสุขภาพองค์รวม ใช้แบบประเมินอาการขาดสุรา (clinical institute with drawal assessment scale for alcohot revised : CIWA-Ar) และพยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จต้องให้การรักษาตามแนวทางการประเมินติดตามอาการขาดสุราเนื่องจากผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
จากสถิติในปี พ.ศ. 2560 มีผู้ป่วยภาวะ Alcohol withdrawal จำหน่วย 60 คน
และพบผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตประสาทจากการหยุดเสพแอลกอฮอล์ จำนวน 6 คน
มีอุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเช่น พลัดตกเตียง หกล้มศีรษะแตก, บาดเจ็บจาการผูกมัด,
หนีออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับมาใหม่ด้วยสภาพเดิม,นอนโรงพยาบาลนานอาการกำเริบเป็นระยะๆ
เนื่องจากขาดการประเมินต่อเนื่อง ทำให้ไดีมีการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal
หอผู้ป่วยชายขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
-เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินเมื่อแรกรับโดยการซักประวัติ Alcohol ตาม CPG เพื่อคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะ Alcohol with drawal
-เพื่อให้พยาบาลประจำตึกผู้ป่วยชาย ใช้แบบประเมินความรุนแรงของการถอนพิษสุรา(CIWA) อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงและมีอาการตั้งแต่เริมแรกเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อ
ป้องกันการถอนสุราที่รุนแรงได้
-เพื่อลดอุบัติการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol with drawal
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่มีประวัติการดื่มสุราต่อเนื่อง และผู้ป่วยที่มีรหัสโรค F03, F04 |
|
เครื่องมือ : |
- แบบประเมินอาการขาดสุรา(clinical institute with drawal assessment scale for alcohot revised : CIWA-Ar)
- ใบconsultation
- ผ้าRestraint
- ยาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Hadol,Ativan,Diazepam
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
- ซักประวัติแรกรับให้มีการประเมินผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
- ประเมินโดยใช้แบบประเมิน CIWA-Ar และแนวทางการให้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง
- ปรึกษาพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช เพื่อประเมินซ้ำและให้การรักษาที่เหมาะสม
- จัดให้ผู้ป่วยนอนเตียงที่มีเหล็กกั้นเตียงและยกเหล็กกั้นเตียงตลอดเวลา จัดให้อยู่ใกล้ Nurse’s station เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
- ผูกมัดในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการเอะอะโวยวาย ลดสิ่งกระตุ้นต่อผู้ป่วย
- ดูแลรักษาโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนทางกายควบคู่ไปด้วย ( ถ้ามี ) เช่น
GI bleeding, Acute hepatitis ,Hepatic encephalopathy ,Electrolyte imbalance
,Aspirate Pneumonia ,Thrombocytopenia
- อธิบายให้ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย ทราบเกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อความร่วมมือและลดความวิตกกังวล
- ให้ส่งปรึกษานักสังคมสงเคราะห์และผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามญาติ กรณีไร้ญาติเพื่อรับรู้และวางแผนการดูแล
ต่อเนื่องหลังจำหน่าย
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|