ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเพื่อลดอัตราตายโดยกระบวนการประชารัฐ อำเภอท่าคันโท
ผู้แต่ง : เฉลิมพล โพธิ์สาวัง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรค เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคอย่างรวดเร็ว และผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ประเทศไทยเป็น1ใน 22 ของประเทศในโลกที่วัณโรคเป็นภาระโรคสูงที่สำคัญ โดยจากการคาดการณ์ของ WHO ว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 35,000 คนต่อปีคิดเป็น 172ต่อแสนประชากรและมีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคเฉลี่ยร้อยละ 87 ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปีอำเภอท่าคันโทพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษา ปี 2557-2559 จำนวน56,58 และ 61 คิดเป็น 147.36, 152.62 และ 172 ต่อแสนประชากร และผลการรักษาปี มีอัตราความสำเร็จของการรักษา 87.58%,88.88% และ89.33% ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตขณะรับการรักษาวัณโรคปี 2557-2559 มีผู้ป่วยเสียชีวิตขณะรับการรักษา 5 ราย,4ราย และ2 ราย ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุของของการตายผู้ป่วยวัณโรค เป็นผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเช่นโรคเบาหวาน โรคไตวาย โรคมะเร็ง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพร่องโภชนาการ และผู้ป่วยมีปัญหาซับซ้อนด้านเศรษฐกิจและสังคม มีเศรษฐานะต่ำขาดผู้ดูแลทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเพื่อลดอัตราการตายขณะรักษาวัณโรค โดยกระบวนการประชารัฐ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยวัณโรค  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ศึกษาเอกสารเวชระเบียนการดูแลผุ้ป่วยทั้งในและนอกโรงพยาบาล 2.การสัมภาษณ์บุคลากรทีมดูแลรักษาผุ้ป่วย ทีม อสม. และเจ้าหน้าที่ รพสต. 3.วิเคราะห์กระบวนการทำงานและผลลัพธ์  
     
ผลการศึกษา : 1 การให้การรักษาเน้นระบบการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง ผู้เป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาทำหน้าที่ประเมินอาการข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์จากยานอกจากนี้ยังประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นผู้ป่วยวัณโรค 2 ระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคจากโรงพยาบาลไป รพสต.และระบบการส่งข้อมูลกลับมาที่คลินิกวัณโรคเพิ่มมากขึ้น3 มีระบบการประสานงานของแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินภาวะสุขภาพจากแพทย์และพยาบาลประจำคลินิกวัณโรค 4 เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างพยาบาลประจำคลินิกวัณโรค 5 มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค(CPG) ของโรงพยาบาลที่ชัดเจน ซึ่งให้การดูแลผู้ป่วยตามกลุ่มซึ่งได้จากการประเมินภาวะสุขภาพของแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกวัณโรค โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 เป็นผู้ป่วยที่มีการรักรู้เรื่องโรควัณโรค มีร่างกายแข็งแรง ดัชนีมวลกายปกติไม่มีโรคแทรกซ้อน ให้การดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ผลของการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มนี้ร้อยละ 66.12 ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตขณะให้การรักษา ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน ร่างกายอ่อนแอดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติ ให้การดูแลโดยconsult อายุรแพทย์ ทีมโภชนาการและทีมหมอครอบครัววางแผนการดูแลร่วมกัน พบว่ามีผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ร้อยละ 30.56 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ประเภทที่3 ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนหลายด้าน มีโรคแทรกซ้อนร่างกายอ่อนแอ ทุพโภชนาการและปัญหาด้านสังคม ให้การดูแลโดยทีมดูแลผู้ป่วย อายุรแพทย์ นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระบวนการประชารัฐมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นๆที่ควรได้รับ มีผู้ป่วยในกลุ่มนี้ร้อยละ 3.32 มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1รายป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ทุพโภชนาการ ยากจน ขาดผู้ดูแล และมีปัญหาแพ้ยาวัณโรครุนแรง แต่ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษา เกี่ยวกับลดอัตราตายในผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน และโรคมะเร็ง โดยบูรณาการกับสหวิชาชีพ เช่นแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตเวช งานกายภาพ และพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง