ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วมร่วมภาคีเครือข่าย(TSH)ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ศุภลักษณ์ สุวรรณรังษี, บุญส่ง มานะวงษ์, สริตา บุญจันสุนี, ฤทธิชัย สามะหาดไทย, สุธีรา ภาวิขำ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากสภาพสังคมปัจจุบัน การดำรงชีพของครอบครัวไทยจำนวนมากดิ้นรนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกโลกาภิวัตน์ ประชากรวัยแรงงานต้องเข้าสู่กระบวนการทำงาน พ่อและแม่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กและเยาวชนขาดการดูแลเอาใจใส่ และงานอนามัยแม่และเด็กถือเป็นบริการพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อให้มีความพร้อมในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีพัฒนาการที่สมวัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ สภาพปัญหาของจังหวัดกาฬสินธุ์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในกลุ่มเด็กปฐมวัย และสตรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเป้าประสงค์สูงสุดคือ แม่และลูกมีสุขภาวะ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กเติบโตมีพัฒนาการสมวัย ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จัดระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ระยะคือ ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอดและคลินิกสุขภาพเด็กดี จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ กลุ่มวัยสตรีและเด็กปฐมวัย (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๘) พบว่าสาเหตุการตายของมารดา ๑ ใน ๓ เกิดจากการบริหารจัดการการคลอด และ ๒ ใน ๓ มารดาตายมีโรคหรือภาวะโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ อัตราส่วนการตายของมารดา ปี พ.ศ.๒๕๕๕ เท่ากับ ๔๘.๐ ต่อการเกิดมีชีพแสนคน (WHO,UNICEF,๒๐๑๒) และ ในปี ๒๕๕๖ ลดลงเหลือ ๓๗.๖ ต่อการเกิดมีชีพแสนคน (ม.มหิดล,๒๐๑๓ ) ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมาย พัฒนาสหัสวรรษ (MDGS) ที่กำหนดให้ลดอัตรามารดาตายเหลือ ๑๓ ต่อการเกิดมีชีพแสนคน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ แสดงว่าปัญหาการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์และการคลอดยังเป็นปัญหา ที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งค่าเฉลี่ยหญิงตั้งครรภ์มีค่าไอโอดีนน้อยกว่ามาตรฐาน มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี ๒๕๕๔, ๒๕๕๕, ๒๕๕๖ ร้อยละ ๓๙.๙, ๔๖.๔และ ๕๑.๓ ตามลำดับ (สำนักโภชนาการ, ๒๕๕๖) สำหรับสถานการณ์ส่งเสริมสุขภาพเด็ก ๐ – ๕ ปี พบว่ามีปัญหา ที่เป็นปัจจัยต่อพัฒนาการสมวัยของเด็กแรกเกิด – ๕ ปี ได้แก่ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๙.๐ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ไม่เกินร้อยละ ๗ การขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดพบ ๒๕.๖ ต่อเด็กเกิดมีชีพพันคน และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว พบร้อยละ ๔๗.๕ (สำนักส่งเสริมสุขภาพ , ๒๕๕๖) และพบปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยจากการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุก ๓ ปี ของกรมอนามัย โดยเครื่องมือมาตรฐานDenver II และนักประเมินพัฒนาการเด็กที่ผ่านการอบรม พบว่าเด็กแรกเกิด-๕ ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ ๗๑.๗๒ ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๖๗.๓ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๗๒.๕ ในปี ๒๕๕๗ (กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก, ๒๕๕๗) จากข้อมูลสถานะสุขภาพอนามัยมารดา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า อัตราตายมารดา (ไม่เกิน ๑๕ ต่อการเกิดมีชีพแสนคน) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๓๐.๙๒, ๒๓.๒๓, ๑๒.๒๖ และ ตามลำดับ มารดาภาวะซีด (ไม่เกินร้อยละ๑๐) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๑๕.๑๐, ๑๔.๐๘, ๒๓.๕๐ และ ๑๙.๕ ตามลำดับ การฝากครรภ์คุณภาพ (ร้อยละ๖๕) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๘๙.๙๕, ๗๙.๒๘, ๗๒.๒๐ และ ๖๓.๐ ตามลำดับ การฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ๖๐) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๗๑.๕๙, ๘๐.๕๗, ๖๘.๐๗ และ ๔๐.๒๕ ตามลำดับ ภาวะคลอดก่อนกำหนด (น้อยกว่าร้อยละ๒) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๑.๙๓, ๑.๓๘, ๓.๒๘ และ ๑.๗ ตามลำดับ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน (มากกว่าร้อยละ๕๐) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๕๘.๕๔, ๖๑.๕๖, ๕๕.๑๔ และ ๘๗.๔ ตามลำดับ ร้อยละของการบริการANC คุณภาพ และร้อยละของWCC คุณภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๑๐๐ ทุกปีงบประมาณ อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม (ร้อยละ๗) ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ พบว่า ๘.๐๐, ๘.๓๐, ๘.๕๕ และ ๗.๔ ตามลำดับ ร้อยละเด็กมีพัฒนาการสมวัย (ร้อยละ๘๕) ปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๘ พบว่า ๙๗.๙๕ และ ๘๗.๗๗ เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ ๑๐๐ (รายงาน ก. ๒ /๔๓แฟ้ม แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ วันที่ ๕-๗ สิงหาคม ๒๕๕๘, สสจ.กาฬสินธุ์) ส่วนอัตราส่วนการตายของมารดาไทยไม่เกิน ๑๕ ต่อการเกิดมีชีพแสนคนในเขตอำเภอสมเด็จ พบว่าหญิงที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลไม่มีการตายของมารดา หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ในเขตอำเภอสมเด็จ ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘ มีแนวโน้มลดลง คิดเป็น ๗๓.๖, ๖๑.๖, ๔๘.๑๑ ตามลำดับ จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ที่ผ่านมาเขตอำเภอสมเด็จ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๖๙.๒๓, หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๖๓.๐๔ หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ ๘๖.๗๗ เด็กอายุ ๐-๕ ปี พัฒนาการสมวัยร้อยละ ๙๙.๘๖, ระดับ TSH ในเด็กแรกเกิด ร้อยละ ๒.๗๙, อัตราการดื่มนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ ๙๓.๐๗ เด็กอายุ ๑ ปี และ ๕ ปี ได้รับบริการคบถ้วนตามเกณฑ์ (EPI) ร้อยละ ๑๖.๘๕ และ ๑๙.๔๓ ตามลำดับ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผ่านเกณฑ์ศูนย์คุณภาพ ร้อยละ ๗๒.๕๐ (HDC จังหวัดกาฬสินธุ์,๒๕๕๘) สำหรับสถานการณ์ของตำบลแซงบาดาลในปี ๒๕๕๘ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๖.๙๒, หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๗๐, ความเข็มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ ๑ ร้อยละ ๒๕ ครั้งที่ ๒ ร้อยละ ๑๖ เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๑ เด็กอายุ ๐-๕ ปี พัฒนาการสมวัยร้อยละ ๙๓.๗๙ ระดับ TSH ในเด็กแรกเกิด ร้อยละ ๕.๗๑ หญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๒๔.๕๙ และวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ ร้อยละ ๑๔.๒๙ เมื่อวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ ของกลุ่มแม่และเด็กปฐมวัย พบว่าการฝากครรภ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๒ สัปดาห์ การได้รับบริการฝากครรภ์ตามเกณฑ์การเข้าถึงบริการการดูแลก่อนคลอด การได้รับสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ คุณภาพบริการและความครบถ้วนบริการคลินิกฝากครรภ์ ห้องคลอดคุณภาพ คลินิกเด็กดีคุณภาพ ระบบการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงทั้งแม่และเด็ก ความรู้ทักษะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สื่อ อุปกรณ์การประเมินพัฒนาการ ความรู้และทักษะการเลี้ยงดูเด็กของพ่อ แม่และผู้เลี้ยง รวมถึงแม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนและเลี้ยงควบคู่อาหารตามวัยจนลูกอายุ ๒ ปี จากปัญหาข้างต้น พบว่าล้วนส่งผลกะทบต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้งสิ้น การเฝ้าระวังจึงต้องเริ่มตั้งแต่ ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแม่และเด็กที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วมร่วมภาคีเครือข่าย(TSH)แก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ในกลุ่มTSH โดยใช้กระบวนการทำงานตาม PAOR วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ 4 ตัว ประกอบคือ การวางแผนเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ศึกษาบริบทและเก็บข้อมูล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผลเพื่อจะทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตามเกณฑ์มาตรฐาน ในเขตตำบลแซงบาดาล  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย(TSH) ในแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : - ผู้ดูแลเด็ก ๑๕ คน - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๕ คน - ผู้นำชุมชน ๑๕ คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วมร่วมภาคีเครือข่าย(TSH)ในแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(steak holder) ผู้ดูแลเด็ก ๑๕ คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๕ คน ผู้นำชุมชน ๑๕ คน อสม. ๑๕ คน อปท. 2 คน ครู ๘ คน โดยใช้กระบวนการทำงานตาม PAOR วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ 4 ตัวประกอบคือ การวางแผนเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ศึกษาบริบทและเก็บข้อมูล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผลเพื่อจะทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตามเกณฑ์มาตรฐาน ในเขตตำบลแซงบาดาล  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑.ขั้นเตรียมการ ระยะนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เตรียมชุมชน เตรียมข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนการวิจัย ดังมีรายละเอียดดังนี้ ๑. วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก ๐-๕ ปีของชุมชน ๒. กำหนดนโยบายสาธารณะ วาระของตำบลและสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพระดับตำบล(THS)/กำหนดบทบาทหน้าที่โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ๔. จัดเวทีชี้แจงแนวทางการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๕. ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด ดังนี้ 2. ขั้นดำเนินการ การพัฒนาระบบการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์ ๑) จัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ ๑๕-๔๐ ปี เฉพาะที่ยังไม่ทำหมัน) ๒) อสม.ตรวจคัดกรองหาหญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียน ชุมชน ๓) อสม.จัดบริการตรวจหาตั้งครรภ์ที่สุขศาลา ๔) รพ.สต.เจาะHct หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อคัดกรองภาวะซีด ๕) รพ.สต.นัดผู้ป่วยเจาะCBCซ้ำในรายที่เข้าเกณฑ์ Hct<๓๓% และส่งต่อพบแพทย์ ๖) ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ แกนนำ ในการบริโภคเกลือไอโอดีนเพื่อให้สามารถให้ความรู้แก่ ประชาชนในชุมชนได้ การดูแลสุขภาพมารดาที่มีภาวะเสี่ยง ๑) คัดแยกประเภทความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ๒) ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตมแนวทางของCPG ๒) จัดกลุ่มเรียนรู้แก่หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงรายโรค ในรพ.สต.ไตรมาสละ ๑ ครั้ง ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ ๑) จัดกลุ่มเรียนรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ ๐-๕ ปี ในชุมชน ประกอบด้วย - จัดกลุ่มเรียนรู้มารดาในการเฝ้าระวังพัฒนาการและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ของเล่นส่งเสริมภูมิปัญญา - เล่านิทานส่งเสริมปัญญา - สาธิตอาหารกระตุ้นน้ำนม - สอนวิธีการนวดเท้ากระตุ้นพัฒนาการในเด็ก - ประคบ อบสมุนไพร แก่มารดาหลังคลอด ๒) ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุเด็กอายุ ๐-๕ ปี ในหมู่บ้าน ๓) ส่งต่อเด็กที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้าพบแพทย์ ด้านการมีส่วนร่วม ๑.อปท. - ให้การสนับสนุนระบบการส่งต่อผู้ป่วย รถกู้ชีพ - สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ๒.อสม./ผู้นำชุมชน - ติดต่อประสานงานในชุมชน เยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต และรพ. - ให้ความรู้ผ่านทางหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ๓.ครู - ให้ความรู้ในสถานศึกษา และคัดกรองส่งต่อให้สถานบริการ ๗. คณะกรรมการติดตามประเมินผล ๘. ผลลัพธ์ 4 ด้าน  
     
ผลการศึกษา : แผนดำเนินงาน การดำเนินงาน หากไม่เป็นไปตามแผนระบุเหตุผล ผลผลิตเทียบเป้าหมาย (%) เป็นไปตามแผน ไม่เป็นไปตามแผน โครงการชุมชนเข็มแข็งในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพระดับตำบล(THS)/กำหนดบทบาทหน้าที่ ๒. วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดนวาระตำบลและสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องหมู่บ้านละ ๕ คน - - ร้อยละ ๑๐๐ ครอบคลุมทุกกิจกรรม การป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์ ๑. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ ๒. จัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ ๑๕-๔๐ ปี เฉพาะที่ยังไม่ทำหมัน) ๓. อสม.ตรวจคัดกรองหาหญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียน ชุมชน ๔. ส่งเสริมชุดทดสอบการตั้งครรภ์ไว้ที่สุขศาลา ๕. รพ.สต.เจาะHctหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อคัดกรองภาวะซีด ๖. รพ.สต.นัดผู้ป่วยเจาะCBCซ้ำในรายที่เข้าเกณฑ์Hct<๓๓% ๑. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ๒. จัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ ๑๕-๔๐ ปี เฉพาะที่ยังไม่ทำหมัน) ๓. อสม.ตรวจคัดกรองหาหญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเสี่ยง ในโรงเรียน ชุมชนหญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการ คัดกรอง ร้อยละ๘๐ ๔. ส่งเสริมชุดทดสอบการตั้งครรภ์ไว้ที่สุขศาลา หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน ๑๒สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๕. รพ.สต.เจาะHctหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อคัดกรองภาวะซีด หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเจาะ Htc ร้อยละ ๘๐ ๖. รพ.สต.นัดผู้ป่วยเจาะCBCซ้ำในรายที่เข้าเกณฑ์Hct<๓๓%หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีผลHct<๓๓%ได้รับการตรวจซ้ำ ร้อยละ๑๐๐ - - ร้อยละ ๘๐ วาระตำบลชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็ก ๑.จัดตั้งคณะทำงาน/ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ๒.มีคณะกรรมการเครือข่าย ชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็ก ๓.ประชุมประชาคมเพื่อจัดวาระสุขภาพตำบล ชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็กประชาสัมพันธ์วาระสุขภาพตำบลทางหอกระจายข่าว ๑.จัดตั้งคณะทำงาน/ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ๒.มีคณะกรรมการเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็ก ๓.ประชุมประชาคมเพื่อจัดวาระสุขภาพตำบล ชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็กประชาสัมพันธ์วาระสุขภาพตำบลทางหอกระจายข่าว - - ร้อยละ ๘๐  
ข้อเสนอแนะ : ๑. เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต้องอาศัยระยะเวลาในการติดตามผล ๒. การพัฒนาและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)