ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ตำบลต้นแบบ ลดวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”
ผู้แต่ง : จรัสศรี ศรีเวียง ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564 ระบุถึงสถานการณ์วัณโรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (High Burden Country Lists) เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) มีภาระโรควัณโรคสูง (TB) 2) มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีสูง (TB/HIV) และ 3)มีวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง(MDR-TB) ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวมาโดยในแต่ละปีคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 120,000 รายต่อปี และมีผู้ป่วยเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 12,000 ราย ขณะที่ปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน จะพบประมาณปีละ 2,200 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 15,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 4,500 ราย จากผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่า มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 73,756 ราย โดยมีอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 77.6 จำเป็นต้องเร่งรัดความสาเร็จการรักษาให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 90 โดยเร่งรัดลดการตาย ลดการขาดยา และพัฒนาระบบส่งต่อและติดตามผลการรักษา วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและยังเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการตายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก สาเหตุที่ทำให้วัณโรคกลับมามีปัญหาใหม่ทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเอดส์ความยากจน การอพยพย้ายถิ่น และแรงงานเคลื่อนย้าย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค(Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชาการโลกภายในปี พ.ศ. 2578(2035) สถานการณ์โรควัณโรคผู้ป่วยขึ้นทะเบียน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างปีงบประมาณ 2558 – 2559 พบผู้ป่วยรายใหม่ คิดเป็นอัตราตรวจพบ (Detection rate) อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วย ร้อยละ 73.69, ร้อยละ 71.53 และ ร้อยละ 81.38 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค(มากกว่าร้อยละ 90) สถานการณ์วัณโรคของตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ และกลับเป็นซ้ำ ปี 2558 - 2560 จำนวน ร้อยละ 71.20 ร้อยละ 80.02 ร้อยละ 70.00 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค(มากกว่าร้อยละ 90 ) และยังมีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรคเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่องๆจากปีที่ผ่านๆมา จากสถานการณ์ที่กล่าวมาทำให้ทราบปัญหาการติดเชื้อโรควัณโรคในพื้นที่ ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกๆปี และคนในชุมชนเอง มองเห็นว่าโรควัณโรค ที่เกิดขึ้น เป็นโรคที่น่ารังเกียจ และไม่ให้ความสำคัญในการดูแลรักษา ทั้งยังขาดความรู้ ขาดกระบวนการการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคในชุมชน ให้ได้รับการดูแลที่ดีและเหมาะสมอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ต้องอาศัยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติและองค์ความรู้ของญาติ ชุมชน ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการงานวัณโรค โดยการสร้างเครือข่ายสุขภาพตำบลหมูม่น ในการขับเคลื่อนงานวัณโรคในชุมชน โดยประชาชนในพื้นที่สามารถคัดกรอง การประเมิน การเฝ้าระวัง การเข้าถึงบริการและรับการรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยมีความคาดหวังว่าผู้ป่วยวัณโรคที่บ้านมีความสามารถพึ่งตนเองและอยู่ร่วมในชุมชนได้ ญาติและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม ในการดูแลผู้ป่วย และป้องกันการเจ็บป่วยของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน จนสามารถลดอัตราการติดเชื้อวัณโรคสำเร็จลงได้ในที่สุด ผู้ศึกษามุ่งหวังนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้แก้ปัญหาการขาดยาในพื้นที่ เพิ่มอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค อันจะส่งผลให้ลดการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค และเชื้อวัณโรคดื้อยาในพื้นที่ และเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามจุดเน้นและกรอบการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ปี 2557 ถึงปัจจุบัน คือ “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”  
วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างตำบลต้นแบบลด วัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.ผู้ป่วยวัณโรค/ญาติ กลุ่มเสี่ยง และผู้สัมผัสโรค ในเขตตำบลหมูม่น 173 ราย 2.ภาคีเครือข่ายในเขตตำบลหมูม่น 66 ราย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นเตรียมการ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายการดำเนินงานจัดการวัณโรค - ค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค วัณโรค - วิเคราะห์ปัญหาระดับความสำคัญของปัญหา - วางแผนการจัดการความเสี่ยงและปัญหา โรควัณโรค ของชุมชนโดยชุมชน - ดำเนินการตามแผน/กิจกรรมลดเสี่ยงในชุมชน/กิจกรรมสัญญาใจดูแลวัณโรคโดยชุมชน “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา” - สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไข 2.ประชุมชี้แจงแนวทางในระดับพื้นที่ คืนข้อมูลสถานการณ์โรควัณโรค 3.สร้างมาตราการและพันธะสัญญาในการดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายในชุมชน และทำ MOU หมู่บ้านต้นแบบลดโรควัณโรค ขั้นตอนดำเนินการ 1. .ดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามระบบ DOTS คุณภาพ 2. จัดกิจกรรมเสวนาพาแลงในชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยตามสภาพปัญหาที่พบ 3. จัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ที่มีปัญหาโรควัณโรค ตามยุทธศาสตร์ 1.ค้นให้พบ ค้นหาผู้ป่วยให้เร็วขึ้น และวินิจฉัยด้วยเครื่องมือและแนวทางใหม่ๆ สำหรับกลุ่มเสี่ยง 2.รักษาให้หาย โดยสหวิชาชีพ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 3.พัฒนาระบบและเครือข่าย ได้แก่ การติดตามประเมินผล มาตรฐานดำเนินงาน การควบคุมการติดเชื้อ และการป้องกันโรค 4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ อสม. และภาคีเครือข่าย ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการโรควัณโรค 5. ประชาสัมพันธ์ งานโรควัณโรเชิงรุกในชุมชนทางหอกระจายข่าววิทยุชุมชนจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรควัณโรค ในสุขศาลา รณรงค์เคาะประตูบ้านแจกแผ่นพับทุกหลังคาเรือน จำนวน 1,589 แผ่น 6. ดำเนินการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรควัณโรคในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 7. จัดบริการให้คำปรึกษาคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ ในสถานบริการระดับตำบล 8. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคที่มีปัญหาซับซ้อน และผู้ป้วยดื้อยา 9. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นผลการดำเนินงาน DOTS Meeting เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จการ เสวนาหา แนวทาง มาตรการของชุมชน หมู่บ้านต้นแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อวัณโรค แบบบูรณาการ ในชุมชน 10. คืนข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องในเวทีประชุมหัวหน้าส่วนราชการ/กำนันผู้ใหญ่บ้าน และที่ประชุมประจำเดือนของอปท. 11. สรุปผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการโรควัณโรคในชุมชน  
     
ผลการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการ ( action research) การศึกษาครั้งนี้เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบ ตำบลต้นแบบ ลดวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยกิจกรรมเสวนาพาแลงในชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยตามสภาพปัญหาที่พบ เป็นเครื่องมือในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมเรียนรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมรับผิดชอบจากที่คิดร่วมกัน เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง และมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยมีการดำเนินการโดยใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดตำบลต้นแบบ ลดวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษาและจัดดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ที่มีปัญหาโรควัณโรค 1.การคัดกรองโรควัณโรค 1.การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ( ICF 3) ผู้มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหมูม่น 141 ราย ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทางประชากร ส่วนที่ 2 การคัดกรองสัมภาษณ์ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรค 2.แบบฟอร์มการตรวจผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ (ICF 4) 32 ราย ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทางประชากร ส่วนที่ 2 ความสัมพันธุ์กับผู้ป่วยและลักษณะการสัมผัส/ ข้อบ่งชี้ที่สงสัยว่าป่วยเป็วัณโรค 2.ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ด้วยระบบ DOTS ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทางประชากร ส่วนที่ 2 การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรค 3. มาตการแนวทางการดำเนินงานวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”โดยกิจกรรมสนทนาภาแลง 1.ข้อมูลทั่วไป การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ( ICF 3) ตารางที 1 จำนวนและร้อยละของข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง (N= 141) จำแนกตาม ลักษณะทั่วไป ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน (N=141) ร้อยละ เพศ ชาย 28 19.86 หญิง 113 80.14 อายุ 15 - 34 3 2.13 35 - 59 24 17.02 60 ปีขึ้นไป 114 80.85 ผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ รายเก่า 5 136 3.55 96.45 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค 50 69.44 ไม่เคยรักษา 138 97.87 เคยรักษา 3 2.12 1. ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษา จำนวนประชากรกลุ่มที่ศึกษา 141 คน คิดเป็นหญิง ร้อยละ 80.14 คิดเป็นชาย ร้อยละ 19.86 อายุกลุ่มเสี่ยงอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 80.85 รองลงมาอายุช่วง 35-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.02 และช่วงอายุ 15-34 ปีคิดเป็นร้อยละ 2.13 กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายเก่า มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 96.45 รายใหม่คิดเป้นร้อยละ 3.55 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค ไม่เคยรับการรักษามากสุดคิดเป็นร้อยละ 97.87 และเคยรักษาคิดเป็นร้อยละ 2.12 ส่วนที่ 2 การคัดกรองสัมภาษณ์ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ( ICF 3) อาการสงสัย ข้อมูลสุขภาพ ( N =141 ) มี ร้อยละ ไม่มี ร้อยละ 1. ไอเรื้อรัง > 2 อาทิตย์ 0 0.00 141 100 2. ไอมีเลือดปน 0 0.00 141 100 3. ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับน้ำหนักลด 0 0.00 141 100 4. ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับเหงื่อออก 0 0.00 141 100 ผิดปกติ ตอนกลางคืน 5. การส่งต่อผู้มีความเสี่ยง 0 0.00 141 100 ส่วนที่ 2 การคัดกรองสัมภาษณ์ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ( ICF 3) จากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน พบว่ากลุ่มเสี่ยง ไอเรื้อรัง > 2 อาทิตย์ ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 , ไอมีเลือดปน ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับน้ำหนักลด ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 , ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับเหงื่อออกผิดปกติ ตอนกลางคืน ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 ,การส่งต่อผู้มีความเสี่ยง ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีอาการต้องสงสัยวัณโรคคิดเป็นร้อยละ 100 2. แบบฟอร์มการตรวจผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ (ICF 4) 32 ราย ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทางประชากรผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ (ICF 4) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน (N=32) ร้อยละ เพศ ชาย 18 57.38 หญิง 14 43.75 อายุ 0 - 5 10 – 14 1 12 3.13 38.25 15 - 34 1 3.13 35 - 59 18 56.25 60 ปีขึ้นไป 2 6.25 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค ไม่เคยรักษา 31 96.88 เคยรักษา 1 3.13 ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยลักษณะการสัมผัส ร่วมบ้าน 20 62.50 ใกล้ชิดอื่นๆ 12 37.50 จากการศึกษา จำนวนประชากรกลุ่มที่ศึกษา 32 คน คิดเป็นชาย ร้อยละ 57.38 คิดเป็นหญิง ร้อยละ 43.75 อายุกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค อยู่ในช่วงอายุ 35 – 59 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56.25 รองลงมาคืออายุช่วง 10 - 14 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.25 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 6.25 ช่วงอายุ 0 – 5 และ 15 – 34 ปี คิดเป็นร้อยละ 3.13 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค ไม่เคยรับการรักษามากสุดคิดเป็นร้อยละ 96.88 และเคยรักษาคิดเป็นร้อยละ 3.13 ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยลักษณะการสัมผัส คิดเป็นร่วมบ้านมากสุด คิดเป็นร้อยละ 62.50 ใกล้ชิดอื่นๆคิดเป็นร้อยละ 37.50 ส่วนที่ 2 ข้อบ่งชี้ที่สงสัยว่าป่วยเป็วัณโรคผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ (ICF 4) ข้อมูลสุขภาพ ( N =32 ) มี ร้อยละ ไม่มี ร้อยละ 1. ไอเรื้อรัง > 2 อาทิตย์ 0 0.00 32 100 2. ไอมีเลือดปน 0 0.00 32 100 3. ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับน้ำหนักลด 0 0.00 32 100 4.ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับเหงื่อออก 0 0.00 32 100 ผิดปกติ ตอนกลางคืน 5.การส่งต่อผู้มีความเสี่ยง 0 0.00 32 100 จากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่สัมผัสร่วมบ้านสงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรคผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ พบว่ากลุ่มเสี่ยง ไอเรื้อรัง > 2 อาทิตย์ ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 , ไอมีเลือดปน ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับน้ำหนักลด ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 , ไข้เรื้อรังไม่รู้สาเหตุร่วมกับเหงื่อออกผิดปกติ ตอนกลางคืน ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 ,การส่งต่อผู้มีความเสี่ยง ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีอาการต้องสงสัยวัณโรคคิดเป็นร้อยละ 100 2.ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยวัณโรค ด้วยระบบ DOTS รายใหม่ 6 ราย ส่วนที่ 1 ลักษณะข้อมูลทางประชากร ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน (N=141) ร้อยละ เพศ ชาย 4 66.66 หญิง 2 34.00 อายุ 15 - 34 1 16.66 35 - 59 4 66.66 60 ปีขึ้นไป 1 16.66 ผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ รายเก่า ไม่มีโรคประจำตัว 0.00 3 3 0.00 50.00 50.00 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค ไม่เคยรักษา 5 83.33 เคยรักษา ประวัติการขึ้นทะเบียนการรักษา ขึ้นทะเบียน ยังไม่ขึ้นทะเบียน 1 6 0 16.66 100 0.00 จากการศึกษา จำนวนประชากรกลุ่มที่ศึกษา 6 ราย คิดเป็นชาย ร้อยละ 66.66 คิดเป็นหญิง ร้อยละ 34.00 อายุกลุ่มเสี่ยงอยู่ในช่วงอายุ 35 – 59 ปีข มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 66.66 รองลงมาอายุช่วง 15 - 34 ปีและ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 16. กลุ่มป่วยส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายเก่าและไม่มีโรคประจำตัว มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.00 ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค ไม่เคยรับการรักษามากสุดคิดเป็นร้อยละ 83.33 และเคยรักษาคิดเป็นร้อยละ 16.66 ส่วนที่ 2 การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรค ข้อมูลสุขภาพ ( N =6 ) มี ร้อยละ 1. ผู้ป่วยรับประทานยา รับประทานยาสม่ำเสมอ 6 100 ลืมประรับประทานยา 0 0.00 2. สภาพแวดล้อม สะอาดปลอดโป่ง 4 68.00 ไม่สะอาดไม่ปลอดโป่ง 2 34.00 3.อาการหลังรับประทานยา มีอาการ 5 85.00 ไม่มีอาการ 1 16.66 5.การส่งต่อผู้มีความเสี่ยง 0 0.00 จากการศึกษาการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 100 สภาพแวดล้อมบ้านผู้ป่วย มีความสะอาดปลอดดป่ง มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 68 และรองลงมาคือไม่ค่อยสะอาดคิดเป็นร้อยละ 34 อาการหลังรับประทานยาของผุ้ป่วย มีอาการหลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 85 และไม่มีอาการคิดเป้นร้อยละ 16.66 3. มาตการแนวทางการดำเนินงานวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”โดยกิจกรรมสนทนาภาแลง  
ข้อเสนอแนะ : ควรเผยแพร่รูปแบบการดำเนินงาน ตำบลต้นแบบ ลดวัณโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา”ตามแนวทางการดำเนินงานให้กว้างขวาง และขยายผลการดำเนินงาน ในการแก้ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)