ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุทางน้ำ เรือยนต์หางยาวชนกันเสียชีวิต บ้านหนองแสงใต้ หมู่ 14 ตำบลสำราญใต้ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 30 ตุลาคม 2560
ผู้แต่ง : วิมลพร ราชติกา ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 น. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) อำเภอสามชัย ได้รับแจ้งจาก กลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลคำม่วง ว่ามีอุบัติเหตุเรือยนต์หางยาวชนกันทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เหตุเกิดวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เวลาประมาณ 04.00 น. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) อำเภอสามชัย จึงได้ดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ในพื้นที่ พร้อมรายงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ระดับจังหวัด ในวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 น.  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการป้องกันควบคุมการบาดเจ็บ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด 3 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 2 ราย เพศหญิง จำนวน 1 ราย  
เครื่องมือ : แบบสอบสวนอุบัติเหตุ แบบรายงาน แบบบันทึกประจำวัน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : โดยศึกษาข้อมูลและลักษณะการบาดเจ็บของผู้ประสบเหตุที่เสียชีวิตและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, สอบถามข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากผู้อยู่ในเหตุการณ์, ศึกษาสภาพแวดล้อม ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ และสภาพเรือที่เกิดอุบัติเหตุ, ติดตามข้อมูลจากผู้ประสบเหตุในชุมชน และประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ดูแลคดี  
     
ผลการศึกษา : จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด 3 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 2 ราย เพศหญิง จำนวน 1 ราย อายุระหว่าง 52 – 63 ปี อายุต่ำสุด 52 ปี อายุสูงสุด 63 ปี โดยเป็นผู้ขับเรือ 2 ราย ผู้โดยสาร 1 ราย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ 1 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต คือ เรือยนต์หางยาวทั้งสองลำไม่มีไฟส่องสว่างติดที่เรือ มีเพียงไฟฉายคาดศีรษะ ไม่สวมเสื้อชูชีพ หรือเครื่องช่วยชีวิต ประกอบกับสถานที่เกิดเหตุมีหมอก มืด ไม่มีไฟส่องสว่าง เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดอุบัติเหตุ และไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ผู้ที่ออกหาปลาขาดความระมัดระวังในการเดินเรือ  
ข้อเสนอแนะ : 1. ผู้นำชุมชนกำชับการติดไฟส่องสว่างกับเรือให้เพียงพอ ทั้งกระตุ้นเตือนให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักในเหตุการณ์ครั้งนี้ และระมัดระวังในการออกหาปลา เพื่อป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งมีการแนะนำวิธีการปฐมพยาบาล/การช่วยเหลือเบื้องต้น/การป้องกันการอุบัติเหตุแก่ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน จาก จนท.สาธารณสุข 2. ท้องถิ่นควรมีการกำหนดมาตรการการกำกับ ดูแลการคมนาคมขนส่งทางน้ำอย่างเข็มงวด รวมทั้งให้เรือทุกลำจัดหาเครื่องมือ ความปลอดภัยไว้บนเรือ ได้แก่ เสื้อชูชีพ ห่วงยางลม เป็นต้น 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดหาอุปกรณ์ และเตรียมแผนการให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ และมีการซ้อมแผนรับเหตุฉุกเฉินอุบัติภัยทางน้ำเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)