ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น
ผู้แต่ง : เกดแก้ว ตาสาโรจน์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : กลไกและเงื่อนไขใหม่ทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่งผลต่อความรุนแรงและซับซ้อนของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับจุลภาคและมหาภาคยิ่งขึ้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบเดิม ๆ ที่เป็นการมุ่งดำเนินแบบแยกส่วนและเฉพาะหน้าย่อมไม่ประสบผล การแสวงหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมและบูรณาการเพื่อมุ่งสู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนมากขึ้น แนวทางการดาเนินงานที่ได้รับความสนใจและเป็นกระแสการพัฒนาประเทศของประชาคมโลกในปัจจุบัน ได้แก่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึงขีดจากัดของทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกนำมาใช้ในระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งการรองรับและดูดซับของเสียจากการอุปโภคและบริโภค ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนทั้งประเทศ เกิดขึ้น 15.98 ล้านตัน เฉลี่ย 43,779 ตันต่อวัน (คิดจากปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่ประชนนามาทิ้งในถัง) มีปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศที่มีการนำไปกาจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการมีเพียง 5.64 ล้านตัน (15,448 ตันต่อวัน) คิดเป็นร้อยละ 35 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้น โดยมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 127 แห่ง เดินระบบได้เพียง 107 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอในการรองรับขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเนื่อง ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปในระดับชุมชนจะเห็นว่าการกาจัดขยะมูลฝอยเกิดข้อจำกัดในการสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างระบบกาจัดขยะมูลฝอย รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดความพร้อมในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอย เป็นไปตามนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ การจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธี ขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยชุมชน ขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้นแหล่งน้ำจะเน่าเสียเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อระบบสุขภาพภาคประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญในการจัดการขยะในชุมชน ให้ชุมชนจัดการขยะได้ถูกวิธี และถูกต้องที่สุดได้ด้วย แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 -2564 นั้น เป็นแนวทางเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ซึ่งวางอยู่บนแนวคิด 3Rs – ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการที่ยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือ ตามหลักการสามอาร์ (3Rs) ซึ่งการจัดการขยะนั้น มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน ส่งเสริมการคัดแยกขยะจากต้นทาง เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะในภาพรวมทั้งประเทศลดลงทำให้ปริมาณขยะที่จะต้องเข้าสู่ระบบการกำจัดลดลง และมีการกำจัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ตามแนวคิดเรื่อง“ประชารัฐ” คือการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหา ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาชน/ประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคการศาสนา เป็นต้น ผู้ศึกษามุ่งหวังนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้แก้ปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่ เพิ่มอัตราความสำเร็จของการจัดการขยะที่ถูกวิธี เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะกระทบต่อสุขภาพอนามัยชุมชน นอกจากการมุ่งลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะที่ต้นทางแล้ว ยังมุ่งสร้างระบบการเก็บขนขยะซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง การนำไปผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ ๒. เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ๓. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยใช้หลักการ ๓Rs  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1,567 ครัวเรือน  
เครื่องมือ : 11.1 แบบฟอร์มบันทึกการลงนาม MOU 11.2 แบบฟอร์มการสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นเตรียมการ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายการดำเนินงานการจัดการขยะในชุมชน - วิเคราะห์ปัญหาระดับความสำคัญของปัญหา - วางแผนการจัดการขยะในชุมชน ด้วยหลัก 3Rs - ดำเนินการตามแผน/กิจกรรมชุมชน/กิจกรรมสัญญาใจการจัดการขยะด้วยหลัก - สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไข 2.ประชุมชี้แจงแนวทางในระดับพื้นที่ คืนข้อมูลชุมชน ขั้นตอนดำเนินการ 1. .ดำเนินงานบันทึกการลงนาม MOU การจัดการขยะร่วมกับชุมชน 2. .จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. จัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ที่มีปัญหาโรควัณโรค ตามยุทธศาสตร์ 4.พัฒนาระบบและเครือข่าย ได้แก่ การติดตามประเมินผล มาตรฐานดำเนินงาน 5. ประชุมเชิงปฏิบัติการ อสม. และภาคีเครือข่าย ในการจัดการขยะในชุมชน ด้วยหลัก 3Rs 6. ประชาสัมพันธ์ การจัดการขยะในชุมชน ด้วยหลัก 3Rs ทางหอกระจายข่าววิทยุชุมชน 6. จัดตั้ง “จุดรวมขยะอันตราย” อย่างน้อย หมู่บ้านละ 1 แห่ง 7. คืนข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องในเวทีประชุมหัวหน้าส่วนราชการ/กำนันผู้ใหญ่บ้าน และที่ประชุมประจำเดือนของอปท. 8. สรุปผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ด้วยหลัก 3Rs  
     
ผลการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาชิงปฎิบัติการ ( action research) การศึกษาครั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยใช้หลักการ ๓Rs ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีตัวชี้วัดดั้งนี้ 1. ร้อยละ 100 ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วตำบลมีการจัดตั้ง “จุดรวมขยะอันตราย” อย่างน้อย หมู่บ้านละ 1 แห่ง ตารางที่ 1 จุดรวมขยะอันตราย ของหมู่บ้านในเขตตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาสินธุ์ หมู่ที่ หมู่บ้าน จุดรวมขยะในชุมชน 1 บ้านหมูม่น ศาลาประชาคม บ้านหมูม่น หมู่ที่ 1 2 บ้านหมูม่น ศาลาประชาคม บ้านหมูม่น หมู่ที่ 2 3 บ้านเม็ก สุขศาลาบ้านเม็ก หมู่ที่ 3 4 บ้านนาทัน ศาลาประชาคม บ้านนาทัน หมู่ที่ 4 5 บ้านหนองไผ่ สุขศาลาบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 5 6 บ้านบึง ศาลาประชาคม บ้านบึง หมู่ที่ 6 7 บ้านแก่งพฤชัย ศาลาประชาคม บ้านแก่งพฤชัย หมู่ที่ 7 8 บ้านดงแหลม ศาลาประชาคม บ้านดงแหลม หมู่ที่ 8 9 บ้านโนนน้ำเกลี้ยง ศาลาประชาคม บ้านโนนน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 9 10 บ้านหมูม่น ศาลาประชาคม บ้านหมูม่น หมู่ที่ 10 11 บ้านหมูม่น ศาลาประชาคม บ้านหมูม่น หมู่ที่ 11 ผลการดำเนินการจุดรวมขยะอันตรายในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านบ้านคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จ 2. ร้อยละ 85 ของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ขยะติดเชื้อส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเกิดจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น และทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่นได้มีการจัดเก็บและการกำจัดที่ถูกวิธี คือ การมารับขยะติดเชื้อจาก โรงพยาบาลสมเด็จ ไปกำจัดที่ถูกวิธีโดยมีบริษัทที่ได้มาตราฐานในการจัดการขยพ มารับเหมาไปกำจัดอีกที ดังนั้น ร้อยละ 85 ของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ขยะติดเชื้อ คิดเป็น ร้อยละ 100 จึงเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จ 3. ร้อยละ 90 ของหมู่บ้านร่วมบันทึกลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs ตารางที่ 2 การร่วมบันทึกลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs หมู่ที่ หมู่บ้าน จุดรวมขยะในชุมชน 1 บ้านหมูม่น ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 2 บ้านหมูม่น ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 3 บ้านเม็ก ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 4 บ้านนาทัน ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 5 บ้านหนองไผ่ ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 6 บ้านบึง ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 7 บ้านแก่งพฤชัย ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 8 บ้านดงแหลม ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 9 บ้านโนนน้ำเกลี้ยง ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 10 บ้านหมูม่น ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs 11 บ้านหมูม่น ร่วมลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs ผลการดำเนินการร่วมบันทึกลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs บ้านคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จ การบรรลุตามวัตถุประสงค์ ๑. การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการจัดการขยะทั้งในเชิงรุกและเชิงรับด้วยการประชาสัมพันธุ์เรื่องการคัดแยกขยะ ขยะอันตรายต่างๆ ทั้งยังตั้งรับ ให้มีจุดรับขยะอันตรรายจากชุมชนและร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นในการนำขยะอันตรายไปจัดการหรือหาแหล่งกำจัดขยะอันตรายจากชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลที่จะตามมาของขยะอันตรายหากทิ้งขยะอันตรายไม่ถูกวิธี ๒. มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนร่วมคิดร่วททำยุทธศาสตร์และการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อลดขยะมูลฝอยในชุมชนอันจะส่งผลระบบสิ่งแวดล้อมและระบบสุขภาพอนามัยชุมชน ๓. มีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยใช้หลักการ 3Rs ชุมชนมีการร่วมลงนาม MOU ร่วมกันภายในชุมชนเพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและถูกวิธี ตามหลัก 3Rs การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกในรูปลักษณะเดิมโดยไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือแปรสภาพ การแปรรูปใช้ใหม่ (Recycling) การนำขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการและการใช้ซ้ำ (Reuse) การนำขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ซ้ำในรูปลักษณะเดิมโดยไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือแปรสภาพ 15.อภิปลายผลการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาชิงปฎิบัติการ ( action research) การศึกษาครั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยใช้หลักการ ๓Rs ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผลการดำเนินการจุดรวมขยะอันตรายในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านบ้านคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จผลการดำเนินการร่วมบันทึกลงนาม MOU การจัดการขยะด้วยหลัก 3Rs บ้านคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จ ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะนั้นตามทฤษฎีการมีส่วนร่วมคือ ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ เป็นการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ อารมณ์ รวมทั้ง ค่านิยมของประชาชนเป็นเครื่องชี้นำตนเองให้เข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดความผูกพัน มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความสมัครใจ  
ข้อเสนอแนะ : การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาถึงรายละเอียดการร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนในการคัดแยกขยะ การร่วมกันสร้างมาตรการการคัดแยกขยะในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง