ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)
ผู้แต่ง : ธนพร สุมงคล ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : สถานการณ์การใช้ยปฏิชีวนะในปัจจุบัน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมถึงร้อยละ 50 และในปี 2557 ประเทศไทยมีการป่วยจากเชื้อดื้อยาถึง 88,000 ครั้ง เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเสียชีวิต รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาการใช้ยาในประเทศที่มีมูลค่าการใช้ปีละกว่าแสนล้านบาท จึงมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อให้การใช้ยาในประเทศมีประสิทธิภาพ ประชาชนปลอดภัย และคุ้มค่ากับงบประมาณของประเทศ ด้วยยุทธศาสตร์การทำงาน 5 ด้าน คือ การเข้าถึงยา การใช้ยาอย่างสมเหตุผล การพัฒนาระบบการควบคุมยา และการสร้างเสริมกลไกการประสานเชื่อมโยงและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ สำหรับในยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ทุกระดับ เร่งรัดดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยตั้งเป้า ระหว่างปี 2560-2564 จะลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลงร้อยละ 20 ลดการเจ็บป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 และลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่เหมาะสม คาดว่าจะช่วยประเทศชาติประหยัดงบประมาณจากการใช้ยาที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยปีละ 10,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ข้างต้น ทางรพ.สต.หนองหินจึงได้ทำการประมวลผลตัวชี้วัดเรื่องการใช้ปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจช่วงบน(URI)และหลอดลมอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก พบว่าผลการดำเนินงานของปี2560 ได้ร้อยละ 25.12 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้คือ น้อยกว่าร้อยละ 20 และจากการสำรวจข้อมูลพบว่า ประชาชนในพื้นที่ติดการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยมีความเชื่อว่า เมื่อมีอาการไอ เจ็บคอ จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะทุกครั้งจึงจะหายจากอาการเจ็บป่วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในการวินิจฉัยโรคและสั่งจ่ายยาอย่างสมเหตุผล (RDU) ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทำนวัตกรรม คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.) เพื่อเป็นสื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ ให้เข้าใจถึงพยาธิสรีรภาพของโรคคออักเสบได้ง่ายขึ้น ว่าเจ็บแบบใดเกิดจากเชื้อไวรัสไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และแบบใดที่จำเป็นต้องพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อประเมินอาการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นลงได้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้มารับบริการเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบน 2. เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุ ลดปริมาณการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่สมเหตุผล  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการด้วยอาการ ไข้ เจ็บคอ ที่ รพ.สต.หนองหิน  
เครื่องมือ : แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรม “คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)”  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อทราบข้อมูล 2. ศึกษาผลของงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกัน 3. ออกแบบรูปแบบนวัตกรรม เลือกใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาไม่แพง และสามารถนำอุปกรณ์ในบ้านมาประยุกต์ใช้ได้ 4. นำ“คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)”ต้นแบบไปประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้มารับบริการที่ รพ.สต.ทดลองใช้ระหว่างรอรับบริการ โดยผ่านกระบวนการฝึกใช้กับเจ้าหน้าที่ ณ จุดซักประวัติ 5. ประเมินผลการใช้นวัตกรรม โดยแบบสอบถามความพึงพอใจ จากผู้รับบริการและผู้ให้บริการ และจำนวนการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ขั้นตอนการจัดทำ “คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)” อุปกรณ์ประกอบ คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.) 1.1. กระจกเงาแบบปรับองศาได้ 20 บาท 1.2. ไฟฉายแสงขาว 20 บาท 1.3. แผ่นป้ายไม้อัด 20 บาท 1.4. โซ่ขนาดเล็กสำหรับคล้องไฟฉายไว้กับฐาน 20 บาท 1.5. กล่องสำหรับใส่ไฟฉาย 20 บาท 1.6. ภาพประกอบแสดงอาการ คออักเสบจากการติดเชื้อไวรัส (ด้านขวามือ ที่ระบุว่า "เจ็บคอเพราะไวรัส" ซึ่งไม่ ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ) คออักเสบชนิดที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย (ด้านซ้ายมือ ที่ระบุว่า "เจ็บคอเพราะแบคทีเรีย" ซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะ) 5 บาท 1.7. กาวร้อนสำหรับยึดติดส่วนประกอบที่เป็นไม้ 29 บาท รวมเป็นเงิน 134 บาท 2.วิธีการใช้งาน “คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)” 2.1. ผู้รับบริการนั่งหรือยืนหันหน้าเข้าหา “คันฉ่อง ส่องคอ ออเจ้า (Self sore-throat screening.)” โดยปรับระดับของกระจกให้ได้องศาพอดีกับริมฝีปาก 2.2. ผู้รับบริการอ้าปากให้กว้าง โดยไม่ต้องกระดกลิ้นขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถงดเว้นการกระดกลิ้นได้ สามารถใช้ไม้กดลิ้นช่วยได้ เพื่อให้มองเห็นคอได้ชัดเจนขึ้น 2.3. เปิดไฟฉายแล้วนำไฟฉายส่องเข้าไปในปาก มองดูบริเวณ ลำคอ ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิลทั้ง 2 ข้าง และลิ้น ให้ทั่ว 2.4. เปรียบเทียบอาการที่ตนเองเป็นกับภาพประกอบที่อยู่ด้านล่างกระจก  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง