ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อลดอาการมึนชาในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุภาดา วิมาเณย์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรคเบาหวานเป็นโรคหนึ่งที่พบผู้ป่วยในพื้นที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งในเขตตำบลโพนงามมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 461 ราย ปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานนอกจากเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ปัญหาการมึนชาฝ่าเท้าก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแก้ไข เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น งานแพทย์แผนไทยจึงเห็นความสำคัญของปัญหานี้ และอยากนำภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน  
วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของสมุนไพรพื้นบ้านในการลดอาการมึนชาที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้าตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป ที่มารับบริการที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯโพนงาม คัดเลือกอาสาสมัครตามความสมัครใจที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีอาการมึนชาฝ่าเท้า จำนวน 15 คน  
เครื่องมือ : -monofilament คัดกรองอาการมึนชาฝ่าเท้า -สมุนไพรลดอาการมึนชา - แบบประเมิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการทดลอง 1. คัดเลือกอาสาสมัครตามความสมัครใจที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีอาการมึนชาฝ่าเท้า จากหมู่ 13 จำนวน 15 ราย 2. ตรวจคัดกรองอาการมึนชาฝ่าเท้าโดยดูระบบประสาทที่เท้าโดยใช้ monofilament สาธิตการใช้สมุนไพรลดอาการมึนชา ซึ่งมีวิธีการดังนี้ 3. นำสมุนไพรแห้งผสมน้ำ 1 ขัน หรือประมาณ 1 ลิตร ต้มให้เดือด ยกเว้นมะกรูด ให้ใส่เมื่อน้ำเดือดได้ที่ ยกลงผสมน้ำเย็นจนพออุ่น ก่อนแช่เท้าต้องแน่ใจว่าน้ำไม่ร้อนมาก หรือพออุ่น แช่นานประมาณ 15 – 20 นาที เช้าและเย็น 4. ล้างเท้าให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง แช่สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์  
     
ผลการศึกษา : จากผลการทดลองสรุปว่าการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น สัปดาห์ละ 3 ครั้งนาน 4 สัปดาห์ รวม 12 ครั้ง วันทำให้อาสาสมัครมีผลการประเมินจุดประสาทที่เท้าดีขึ้น 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.0 มีอาการคงเดิม 5 ราย และไม่พบอาสาสมัครมีอาการแย่ลง จากการติดตามรายคนพบว่า อาสาสมัครที่มีอาการคงเดิมส่วนใหญ่จะพบจุดความผิดปกติของประสาทที่เท้าอย่างน้อย 2 จุด จากทั้งหมด 4 จุด ซึ่งการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรนาน 12 ครั้ง วันอาจจะยังไม่เพียงพอในการลดอาการมึนชา ควรจะมีกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การนวดและการบริหารนิ้วเท้า ฝ่าเท้า ไม่พบอาสาสมัครมีอาการแย่ลงหลังการทดลอง แสดงให้เห็นว่าการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรมีส่วนช่วยการลดอาการมึนชาฝ่าเท้าได้  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง