ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ แบบแผน และพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางลุนนี สุวรรณโมรา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ,นางสาวนวรัตน์ ภูเหิน ตำแหน่ง จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จังหวัดกาฬสินธุ์ มีรายงานพบผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรค พ.ศ. 2550-2557 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานเข้ามารับการรักษาในสถานบริการกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ คิดเป็นอัตราป่วย 910.05, 1,030.75, 1,072.93, 1,202.20, 1,215.54, 1,373,.34, 1,40.74, 1,551.29 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (สำนักโรคไม่ติดต่อ,2557) และในพื้นที่อำเภอยางตลาด มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวานในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 6,913 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5,455.10 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น(โรงพยาบาลยางตลาด. 2558) สำหรับศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวาน พ.ศ. 2558 จำนวน 399 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4,950 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีจำนวน 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.84 ผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จำนวน 248 รายคิดเป็นร้อยละ 62.16 มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.01 มีภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงจำนวน 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.78 มีภาวะแทรกซ้อนทางตาจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.85 มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรังจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.25 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความรู้ แบบแผน และพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวานศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนในการจัดรูปแบบการให้บริการ การรักษา การควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน ให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ต่อ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ แบบแผน และพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ แบบแผน และพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศต่างกัน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ จำนวน 399 ราย กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และขึ้นทะเบียนการรักษาในคลินิกเบาหวานศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 219 ราย โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สมัครใจ  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1.แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้นำมาจากการศึกษาของ กชกร สมมัง (2542) อนุชา นิลอยู่ (2542) วรรณวภา ลิ้มเจริญ (2541) สุรศักดิ์ ธรรมเป็นจิตต์ (2541) โดยได้มีการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 สัมภาษณ์ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โดยผู้วิจัยอ่านแบบสัมภาษณ์ให้ผู้ป่วย สามารถเลือกตอบพิจารณาจาก 2 ตัวเลือก คือ ตอบใช่ และตอบไม่ใช่ ส่วนที่ 3 สัมภาษณ์แบบแผนการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้วิจัยอ่านแบบสัมภาษณ์ให้ผู้ป่วย สามารถเลือกตอบพิจารณาจาก 3 ตัวเลือก คือ ตอบเห็นด้วย ตอบไม่แน่ใจ และตอบไม่เห็นด้วย ส่วนที่ 4 สัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้วิจัยอ่านแบบสัมภาษณ์ให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตอบพิจารณาจาก 3 ตัวเลือก คือ ตอบปฏิบัติเป็นประจำ ตอบปฏิบัติเป็นบางครั้ง และตอบไม่เคยปฏิบัติเลย โดยแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ - ด้านการรับประทานอาหาร - ด้านการออกกำลังกาย - ด้านการรับประทานยาและรับการตรวจตามนัด - ด้านการดูแลสุขภาพทั่วไปและการป้องกันโรคแทรกซ้อน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยศึกษาจากความรู้ แบบแผน และพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี ที่มารับการรักษาและขึ้นทะเบียน จำนวนทั้งหมด 219 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มา ซึ่งใช้สถิติในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ F-test ด้วยเทคนิค Two-way-MANOVA  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง