ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีแผ่นคราบจุลินทรีย์ ( Plaque Index )ก่อนและหลังการสอนแปรงฟันในเด็กนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดงหมู
ผู้แต่ง : เดือนเพ็ญ โสมดวงแก้ว ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ในประชากรไทย จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ปี 2555 พบว่า ประชากรไทยกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนอายุ 12 ปี เป็นโรคฟันผุที่ไม่ได้รักษาร้อยละ 29.1 สภาวะเหงือกอักเสบร้อยละ 70.1 และมีค่าเฉลี่ย ผุ ถอน อุด 1.3 ซี่ต่อคน สำหรับกลุ่มอายุ 6-12 ปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2555 พบว่ามีฟันผุร้อยละ 56.9 จะเห็นได้ว่าเด็กวัยเรียนและเยาวชน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาทันตสุขภาพ และปัญหานี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยมีผลต่อกิจกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน สาเหตุที่เด็กมีปัญหาทันตสุขภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นฟันผุลุกลาม เหงือกอักเสบ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้เด็กยังมีพฤติกรรมที่ไม่สนใจตนเอง ขาดการดูแลสุขภาพช่องปาก แปรงฟันไม่สม่ำเสมอ หรือไม่แปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนอกจากการบำบัดรักษาแล้ว งานด้านส่งเสริมป้องกันก็มีความสำคัญเช่นกัน การให้ความรู้ทางทันตสุขศึกษา จะทำให้เด็กเห็นความสำคัญของการมีทันตสุขภาพที่ดี และเกิดแรงจูงใจที่จะดูแลรักษาช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากที่ง่ายที่สุด และมีประสิทธิภาพดี เด็กๆสามารถทำได้ด้วยตนเองคือการแปรงฟัน วัตถุประสงค์หลักของการแปรงฟันคือเพื่อกำจักแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ติดอยู่บนผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในช่องปากทั้งโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ การควบคุมคราบจุลินทรีย์จึงเป็นการควบคุมการเกิดโรคได้ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้วิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง ซึ่งการวัดประสิทธิภาพของการแปรงฟันทำได้โดยการดูความสามารถในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ จากนั้นวัดผลโดยการเปรียบเทียบค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังสอนแปรงฟัน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาค่าดัชนีแผ่นคราบจุลินทรีย์ ( Plaque Index ) PI ก่อนและหลังการสอนแปรงฟัน  
กลุ่มเป้าหมาย : สำรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน107 คน  
เครื่องมือ : สำรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 -6 โดยวิธีการของ Bay and Ainamo visible index แบ่งการสำรวจเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกประเมินค่า PI ก่อนสอนแปรงฟัน ขั้นตอนหลังประเมินค่า PI หลังการสอนแปรงฟัน 1 สัปดาห์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง ( One group pre and post test ) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 -6 ช่วงอายุ 7-12 ปี ที่เป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านดงหมู จำนวน 108 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน 2560 ได้จำนวนเด็กแล้วให้เด็กทีละห้องตั้งแต่ ป.1 ไปเรื่อยๆถึง ป.6 มาแปรงฟันโดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันที่ผู้วิจัยเตรียมให้ตามวิธีการแบบเดิมที่เด็กแปรงทุกวัน หลังจากแปรงฟันเสร็จทำการย้อมคราบจุลินทรีย์ ด้วยสี Erythrosine ( FD & C Red #3 ) 3.25 mg ซึ่งมีความปลอดภัย ผลิตจากองค์การเภสัชกรรม แล้ววัดค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ ตาม Plaque control record ของ Bay and Ainamo visible index หลังจากนั้นจะฝึกกิจกรรมการสอนแปรงฟันโดยใช้การแปรงฟันแบบขยับปัด ( Modified Bass Technic ) และให้เด็กฝึกแปรงฟันซึ่งเด็กๆจะแปรงฟันโดยมองกระจกและฝึกสังเกตบริเวณที่ติดสี ผู้สอนจะต้องชี้ให้เด็กๆเห็นถึงจุดบกพร่องในการแปรงฟันตามวิธีเดิมของเด็ก และให้เด็กลองแปรงฟันอีกครั้งตามวิธีการใหม่ และเน้นในจุดที่เด็กแปรงฟันยังทำได้ไม่ดี เช่น การวางแปรงสีฟัน การขยับแปรง ระยะเวลาในการแปรง การบ้วนปาก เป็นต้น ทำเช่นนี้จนกว่าเด็กจะแปรงฟันได้สะอาด และไม่มีสีติดอยู่บนตัวฟันอีก หลังจากนั้น 1 สัปดาห์นำเด็กกลุ่มเดิมมาแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟันชุดเดิมที่ผู้วิจัยเตรียมให้ จากนั้นย้อมสีด้วยสี Erythrosine( FD& C Red #3 ) 3.25 mg ให้เด็กสังเกตคราบจุลินทรีย์ของตนเองและวัดค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ลงบันทึกใน Plaque control record การวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการสอนแปรงฟันด้วยแบบทดสอบที ( Paired T-test )  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง