|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อุไรวรรณ ภูวปิ่นปวีณ์นนท์ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์แต่ประเทศในกลุ่มกําลังพัฒนาพบว่ามีเด็กปฐมวัยอย่างน้อย 200 ล้านคนที่มีพัฒนาการไม่สมวัย สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ พบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าถึง ร้อยละ 21.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเสียโอกาสในการที่จะมีพัฒนาการก้าวหน้าตามวัย ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัยและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ส่วนที่1.ผู้ปกครองเด็ก ผู้นำชุมชน ครูพี่เลี้ยงเด็ก เจ้าหน้าที่อปท. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จํานวน 50 คน
ส่วนที่่2.กลุ่มผู้ปกครองเด็ก จํานวน 60 คน
ส่วนที่3.เด็กปฐมวัยอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ในปี 2560 จํานวน 1,835 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถามและแบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ส่วนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัยอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองเด็ก ผู้นำชุมชน ครูพี่เลี้ยงเด็ก เจ้าหน้าที่อปท. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จํานวน 50 คน ส่วนที่ 2 ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัยอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับบริการมาตรฐานเดิมตามชุดสิทธิประโยชน์ และส่วนที่ 3 การประเมินผลลัพธ์รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ในปี 2560 จํานวน 1,835 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้Independent t-test, และ paired sample t-test |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 2 กลวิธี คือ 1. การเฝ้าระวังและคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจสังคม และการส่งต่อเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าไปรับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการในสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน โดยจะเห็นได้จากผลการทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการประเมินพัฒนาการเด็กของผู้ปกครอง มากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ทำให้เกิดผลลัพธ์คือการดําเนินงานประเมินคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยจากเดิมปี 2559 ร้อยละ 11.52 เพิ่มขึ้นในปี 2560 เป็นร้อยละ 70.46 การค้นพบเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจากร้อยละ 18.42 เป็นร้อยละ 18.72 และสามารถติดตามส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าเพิ่มมากขึ้นจาก ร้อยละ 35.71 เป็น ร้อยละ 81.33 |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง อปท. และชุมชนในการกำหนดแนวทางการทำงาน การวางแผนการช่วยเหลือด้าน เศรษฐกิจและสังคม การส่งต่อเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าไปรับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการในสถานบริการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องจนมีพัฒนาการที่สมวัย และคุณภาพของการคัดกรองพัฒนาการเด็กมีเพิ่มมาก |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิชาการ ระดับ ระดับเขต |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|