ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลพฤติกรรมตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ชินณพัฒน์ พรมพันธ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยในแต่ละปีประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 8 ล้านคน ส่วนประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคน1 ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวายและโรคหลอดเลือดสมอง และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสูงเนิน พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถความคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 25.36 ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ คือควบคุมความดันโลหิตให้ได้มากกว่าร้อยละ 502 โรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้และปราศจากโรคแทรกซ้อนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเองและบุคคลที่อยู่รอบข้าง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลพฤติกรรมตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขตตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ในเขตตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1. แบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิคสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตัว ความคามหวังถึงผลลัพะ์การปฏิบัติตัว และพฤติกรรมการดูแลตนเอง 2. การวัดความดันโลหิต 3. โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลพฤติกรรมตนเอง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มทำการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยขนาดตัวอย่างที่ใช้ ได้จากการคำนวณ ขนาดตัวอย่าง (Sample Size) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีสลากแบบไม่ใส่คืน และใช้สูตรคำนวณปรับขนาด เผื่อลดโอกาสอันเกิดจากการสูญหายหรือถอนตัว จึงได้เท่ากับ กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 40 คน รวมจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 80 คน ใช้ระยะเวลาที่ทำวิจัย ตั้งแต่เดือน มกราคม – เมษายน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองกับกลุ่มทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลพฤติกรรมตนเอง ที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น โดยมี 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจโรคความดันโลหิตสูง โดยการบรรยายให้ความรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง การดูแลพฤติกรรมตนเอง ผ่านกิจกรรมการพูดชักจูงด้วยคำพูด การพูดโน้มน้าวให้เห็นข้อดีของการปฏิบัติตัว กิจกรรมที่2 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง ฐานที่ 1 ฐาน การจัดเมนูอาหาร การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ฐานที่ 2 ฐาน การให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และสาธิต การฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยวิธีการเดินเร็ว ฐานที่ 3 ฐาน การให้ความรู้เรื่องการจัดการกับความเครียด และสาธิต การฝึกปฏิบัติการสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง (SKT7) ฐานที่ 4 ฐาน นำเสนอยาโรคความดันโลหิตสูง วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง ตามขนด ชนิด เวลา ผลของอาการข้างเคียงที่เกิดจากยา การฝึกอ่านฉลากยา และการมาตรวจตามนัด กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างเสริมตัวแบบ และส่งเสริมตัวแบบที่มีการปฏิบัติตัวที่ดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน พูดคุย ถ่ายทอดประสบการณ์ของการปฏิบัติตน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการกระตุ้นทางสภาวะร่างกายและอารมณ์ เพื่อเขียนระบายความรู้สึกของแต่ละคนเกี่ยวกับการดูแลพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการติดตามเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วยการกระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพต่อเนื่อง พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สนับสนุนให้กำลังใจ กิจกรรมที่ 6 การสรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง