ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินด้วยโปรแกรม "ChOPA & ChiPA Games โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ
ผู้แต่ง : นางสาวภัคนันท์ เรืองช่อ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : บทนำ โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ท้าทายในศตวรรษที่ ๒๑ ไม่เฉพาะประเทศที่มีรายได้สูง (high-income country) เท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (low and middle income countries) โดยเฉพาะในเขตเมือง สถานการณ์ภาวะอ้วน องค์การอนามัยโลกรายงานว่าเด็กที่เป็นโรคอ้วนได้เพิ่มขึ้นทั่วโลกจาก ๓๑ ล้านคนในปี ๒๕๓๓ เป็น ๔๔ ล้านคนในปี ๒๕๕๕ และภายในปี ๒๕๖๘ หรืออีก ๑๐ ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะมีเด็กเป็นโรคอ้วนทั่วโลก ๗๐ ล้านคน เด็กที่เริ่มอ้วนและอ้วนจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ โอกาสเสี่ยงของเด็กอ้วนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน ร้อยละ ๒๕ คือ เด็กอ้วน ๔ คน จะเป็นผู้ใหญ่อ้วน ๑ คน และหากเป็นวัยรุ่นอ้วนโอกาสเสี่ยงจะสูงถึง ร้อยละ ๗๕ คือ วัยรุ่นอ้วน ๔ คน จะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน ๓ คน ผลเสียที่ตามมาจากการเป็นโรคอ้วน ตั้งแต่วัยเด็กคือ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งพบว่าเด็กที่อ้วนมากจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงถึง ร้อยละ ๔๐ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า ร้อยละ ๖๐ และทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งอยู่ในรูปของ VLDL (Very Low Density Lipoprotein) เป็นไขมันชนิดไม่ดี เด็กที่อ้วนมักมีปัญหาเกี่ยวกับข้อและกระดูกทำให้ปวดหัวเข่า ปวดข้อเท้า กระดูกงอและขาโก่ง เพราะต้องแบกรับน้ำหนักมากอยู่ตลอดเวลา มีปัญหาทางด้านพัฒนาการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อ คือ จะทำให้เดินไม่คล่องตัว เมื่อเดินหรือวิ่งจะเหนื่อยง่าย ในเด็กโตอาจพบอาการปวดสะโพก ทำให้เดินไม่ได้ ผลกระทบต่อสุขภาพเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเรื้อรังอันเกิดจากโรคอ้วนหลายพันล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องป้องกันได้ ด้วยการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ต.ม่วงนา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในชั้น ป. ๔ - ม.๒ จำนวน ๒๕ คน นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในชั้น ป.๔ - ม.๒ จำนวน ๒๕ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ ครูโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ผู้ปกครอง อสม. ตัวแทนจากเทศบาลตำบลม่วงนา และผู้นำชุมชน จำนวน ๒๐ คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกิน จำนวน ๒๕ ข้อ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการจำนวน ๑๔ ข้อ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ การอบรมด้วยโปรแกรม "ChOPA & ChiPA Games  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ขั้นตอนที่ ๒ การอบรมด้วยโปรแกรม "ChOPA & ChiPA Games ขั้นตอนที่ ๓ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน (Plan) โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและประชุมวางแผนดำเนินโครงการ ขั้นตอนปฏิบัติการ (Action) ประกอบด้วยกิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว เก็บข้อมูลด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพก่อนการอบรม กิจกรรมปลุกจิตใต้สำนึกเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ตนเอง โดยใช้เทคนิคการสั่งจิตใต้สำนึก (NLP: Neuro Linguistic Programming) กิจกรรมให้ความรู้การบริโภคอาหารและการ ออกกำลังกาย กิจกรรมออกกำลังกาย ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ด้วยโปรแกรม "ChOPA & ChiPA Games ประกอบด้วย ชุดจิงโจ้ยืดตัว จิงโจ้ FUN for FIT ขั้นตอนการสะท้อนกลับข้อมูล (Reflection) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม การสังเกต และการสนทนากลุ่มมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ รวมทั้งมีการนำข้อสรุปผลการดำเนินการเสนอต่อโรงเรียนและเครือข่ายภาคีสุขภาพ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง